น้ำท่วม แก้ออนไลน์..ให้ไวกว่าสายน้ำ!!

◾ รัฐทั่วโลกทำกันตลอด คือแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยัง SMSของมือถือของคนในพื้นที่เสี่ยง ง่ายและคุ้มค่า ได้ประสิทธิภาพ


◾ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ติดตั้งเซนเซอร์ดักตรวจระดับน้ำ ไว้บนรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งวิ่งวนอยู่ทั่วประเทศ เมื่อมีการน้ำท่วมขังตรงหย่อมไหน จะส่งสัญญานแจ้งเตือนกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที


พูดถึงวิธีการรับมือน้ำท่วม ทางกายภาพ (Offline Solutions) ทำกันหลากหลายวิธี ทั้งการทำเขื่อน-ทำนบ, อุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน, เพิ่มเครื่องสูบน้ำ, วาล์วน้ำ แผงกั้นอัฉริยะ และอีกมากมาย ซึ่งแนวทางนี้ช่วยแก้ปัญหาก็จริง แต่ใช้งบประมาณมหาศาล อย่างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ 6จุดในกทม. ที่กำลังจะสร้าง ใช้งบถึง 2.6หมื่นล้านบาท!


อีกมุมนึง ยังมีแนวทางการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ แต่ใช้เงินทุนน้อยกว่า โดยที่เน้นที่เทคโนโลยีการmonitor จับตาสถานการณ์ และเทคโนโลยีการสื่อสารไปสู่บุคคล โดยอาศัยเครื่องมือทางออนไลน์ (Online Solutions) .. พูดง่ายๆก็คือการแก้ปัญหาที่มองในมุมมนุษย์ (Human-Centric) มากขึ้น ไม่ได้โฟกัสที่น้ำเป็นหลัก... คือ ทุกระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ทุกความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประชาชนในเขตเมืองจะได้รับข้อมูลReal Time ผ่านทางสมาร์ทโฟนที่ส่วนใหญ่มีกันอยู่แล้ว ... จะได้เตรียมการกันถูกต้อง ไม่ต้องคาดเดานั่งเทียน ไม่ต้องรอให้วัวหาย-ล้อมคอก, น้ำห้อม-ล้อมกระสอบทราย อย่างทุกวันนี้


ด้วย 17 เทคโนโลยี Online Flooding Solutions


1) Remote Sensing - ดาวเทียมดักจับ

เป็นการดักจับภาพจากดาวเทียม Synthetic Aperture Radar (SAR) ซึ่งสามารถเก็บภาพมุมสูง เพื่อตรวจจับระดับน้ำที่ท่วม ในพื้นที่เป้าหมาย ส่งมาให้ทำการวิเคราะห์ และMappingพื้นที่เสี่ยงอย่างเห็นภาพรวมหมดจรด


2) Smart Camera - กล้องสอดส่อง

ขณะที่ Remote Sensing ให้เราเห็นภาพรวมน้ำท่วมในเชิงกว้าง เทคโนโลยีSmart Camera เป็นการฝังกล้องเพื่อจับภาพน้ำ เพื่อสังเกตุเป็นพื้นที่เฉพาะพื้นที่ไป ทำให้ได้รายละเอียดเชิงแคบ สามารถนำไปประเมินการพยากรณ์ได้แม่นยำ และยังช่วยการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ


3) Smart Buoys - ทุ่นลอยน้ำอัจฉริยะ

ทุ่นลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ผูกติดไว้ใต้น้ำ ในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม หรือบริเวณแม่น้ำ ที่เราต้องการตรวจจับระดับ.. ทุ่นนี้จะรายงานระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง - อัตราการไหล - อุณหภูมิ - สีของน้ำและการเจือปนกลับมายังห้องปฏิบัติการ ..ทุ่นลอยน้ำนี้สามารถ ใช้ควบคู่กับทุ่นอีกตัวที่ผูกลอยไว้ที่ปากทะเล เพื่อการเทียบระดับน้ำในพื้นที่ และระดับน้ำทะเลอย่างเป๊ะปังไม่ต้องคาดเดาอีกด้วย


4) Water Level Sensors - มาตรวัดระดับน้ำ

การตรวจวัดระดับน้ำชายฝั่งแม่น้ำ เพื่อนำข้อมูลbig-data ตามจุดแม่น้ำต่างๆ มาคำนวน ..ใช้เครื่องมือที่ติดตั้ง ตรวจจับแบบReal-time มีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ แกนเหล็กที่ขึ้น-ลง ตามระดับพื้นน้ำง่ายๆ, เซนเซอร์จับแรงดันน้ำ หรือใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค เพื่อจับระดับน้ำจากระยะไกล


5) Smart Sewerage - ท่อน้ำที่วัดปริมาตรได้

การติดตั้งมาตรวัดความหนาแน่นของน้ำ-อัตราการไหล.. ในท่อ/อุโมงค์ระบายน้ำ สามารถช่วยให้ประเมินสถานการณ์ของการเกิดน้ำท่วมขังได้แม่นยำยิ่งขึ้น ข้อดีของระบบนี้คือสามารติดตั้งเซนเซอร์แยกเข้าไปที่ท่อน้ำเก่าได้เลย แต่ปรับสภาพให้เป็นท่อ/อุโมงค์อัจฉริยะ ทำให้การประมวลผลฉับไว และแม่นยำขึ้น


6) Smart Home - ระบบบ้านอัจฉริยะ

สำหรับบางบ้าน(ส่วนน้อย) ที่มีการติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะ ที่ประกอบไปด้วยเซนเซอร์จำนวนหลายตัว ซึ่งสามารถตรวจจับเปลวเพลิง, แก๊สรั่ว หรือร่องรอยน้ำที่ไหลเข้ามาในบริเวณบ้าน ..เซนเซอร์จะส่งไปที่ส่วนกลาง หรือเจ้าของบ้าน ว่าต้องการแจ้งเตือนภัยหรือไม่ ก็สามารถเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่แจ้งภัยน้ำท่วมในระบบได้


7) Biometric and Medical Online Applications - แอพพริเคชั่น หรือ เครื่องตรวจโรคที่ทำได้เอง

เมื่อเกิดน้ำท่วมขังยาวนาน หลายคนอาจลืมไปว่า ยังมีภัยแฝงนั่นคือโรคระบาดที่สามารถแพร่ได้ดีทางน้ำ (water-borne diseases) เช่นเชื้อโกวิทย์ ที่จะอันตรายมากขึ้นเมื่อมีน้ำเป็นตัวเชื่อมระหว่างคน หรือพวกแบคคทีเรีย อีโคไล ที่ก่อให้เกิดโรคอหิวา/ท้องเสียรุนแรง ดังนั้นเครื่องเทสต์ATK หรือ พวกแอพมือถือที่สามารถช่วยผู้คนประสบภัยให้สามารถเข้าถึงการดูแลจากหมอ หรือทีมสาธารณสุขได้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด


8) Wearables Technologies - แฟชั่นสวมใส่อัจฉริยะ

เชื่อมั้ย แฟชั่นเทคโนโลยีติดตัวอย่าง นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ เช่น Apple W,atch สามารถตรวจวัดค่าความดัน, การเต้นของชีพจร, ระดับการนำไฟฟ้าบนผิวหนัง, การเปิดของรูม่านตา หรือ คอร์ติซอล ระดับฮอร์โมนความเครียด เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ ที่สามารถช่วยในระดับตัวบุคคลได้ดีมาก ในกรณีเป็นผู้ที่ประสบภัย ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ..นอกจากนี้ยังมี GPS ที่สามารถรายงานตำแหน่งที่ประสบภัยน้ำท่วม และแจ้งเตือนได้อย่างแม่นยำ


9) Weather Sensors - เสาวัดสภาพอากาศ

เสาวัดสภาพอากาศเป็นเครื่องมือเล็กๆ ที่สามารถวัดค่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ, ความเร็วลม, ปริมาณน้ำฝน, แรงลม และอุณหภูมิ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ราชการใช้อยู่ประจำ.. ซึ่งในประเทศอย่าง เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และออสเตรเลีย ที่อากาศแปรปรวน เสาทดสอบสภาพอากาศถูกใช้แพร่หลายโดยผู้คนตามบ้านเรือน ซึ่งมีการรวมข้อมูลจากเสาเหล่านี้ตามบ้าน ทำให้สามารถคำนวนพยายกรณ์การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ แม่นยำยิ่งขึ้น


10) Smart Vehicle Data - รถตรวจน้ำท่วม

โครงการImec ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการติดตั้งเซนเซอร์ดักตรวจระดับน้ำ ไว้บนรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งวิ่งวนอยู่ทั่วประเทศ เมื่อมีการน้ำท่วมขังตรงหย่อมไหน จะส่งสัญญานกลับเข้ามาแจ้งเตือนกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที


11) News - ช่องข่าว

รัฐสามารถใช้ช่องทางสื่อรัฐในมือ ทำเป็นช่องน้ำท่วม หรือรายการเฉพาะกิจ สำหรับรายงานสถานการณ์แบบสดๆ ช่วยให้ผู้คนมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ไม่ต้องฟังจากโซเชี่ยลที่พูดกันไปในแนวทางต่างๆกัน


12) Solicited Crowd-Sourcing - เว็บรวบรวมดาต้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คราวด์ซอสซิ่ง คือการระดมข้อมูลจาก หน่วยงานที่คัดเลือกเช่น กรมอุตุนิยม, สภากาชาด, หน่วยกู้ภัย, อาสาสมัครน้ำท่วมต่างๆ เพื่อที่จะแชร์ข้อมูลน้ำท่วมร่วมกัน และกระจายข้อมูลออกมาเป็นเว็บไซด์ ที่รายงานผลต่างๆ เช่นแผนผังปรมาณปริมาณน้ำขัง, บ้านเรือนที่ต้องการความช่วยเหลือ แบบreal time เป็นต้น


13) Navigation App Monitoring - แอปมือถือดูสถานการณ์น้ำท่วม

แอปอย่าง e-wasBaha สามารถช่วยประชากรหลายล้าน ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางถนนที่น้ำท่วมใช้การไม่ได้ แบบเรียลไทม์ เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ในเมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์


14) Unsolicited Crowd-Sourcing - เว็บรวบรวมสถานการณ์จากคนทางบ้าน

แพลตฟอร์มที่คล้ายกันกับ ข้อ12 แต่จะเปิดเสรีให้กับคนทางบ้าน สามารถกรอกรายงานระดับน้ำ หรือ ภัย/ ความช่วยเหลือเข้ามา โดยใช้ระบบpeers-to-peers ตรวจสอบกันเอง ข้อดีคือข้อมูลจะเร็วกว่า มากกว่า แต่จะมีประเด็นเรื่องความแม่นยำอยู่บ้าง


15) Siren Systems - ไซเรนเตือนภัย

ไซเรน ใช้กันแพร่หลายในการเตือนภัย ไฟไหม้ ตามตึก/ อาคารในย่านเมือง หรือ ระบบเสียงตามสายในชุมชนเล็กๆ ซึ่งสามารถปรับใช้กับสถานการณ์น้ำท่วมได้เหมือนกัน เพื่อแจ้งเตือนกับคนในพื้นที่ใกล้ๆ


16) Interactive Smart TV and Radio - อินเตอร์เน็ททีวี หรือวิทยุออนไลน์ ที่ระบุพิกัดผู้ดู

ในหลายประเทศ ที่อินเตอร์เน็ททีวีตามบ้าน สามารถแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ เป็นหน้าจอเตือนภัย หรือข้อความแถบวิ่ง เด้งเข้ามาเฉพาะบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น พายุกำลังจะเข้าในพื้นที่.. ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ตอน3ทุ่มในพื้นที่คุณ เป็นต้น


17) SMS Disaster Alert System - แมซเซจเตือนภัยจากทางรัฐ

ข้อนี้เป็นสิ่งที่รัฐทั่วโลกทำกันตลอด คือแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยัง SMSของมือถือของคนในพื้นที่เสี่ยง ง่ายและคุ้มค่า ได้ประสิทธิภาพ ..ที่อเมริกาจะเรียก Presidential Text Alert Messages ส่งตรงมาเตือนทุกเบอร์ในพื้นที่นั้นๆ ว่าน้ำท่วม ให้อพยพ หรือติดต่อช่วยเหลือเบอร์อะไร


ย้ำอีกครั้ง.. ไม่ต้องมาครบทุกวิธี แต่ขอให้มีซักเทคโนโลยี ที่คอยสื่อสารให้ประชาชน ให้ประชาชนเป็นใหญ่ ให้ความสำคัญบ้าง อย่างพวกSMSเตือนภัยที่ใช้กันทั่วโลก.. ลงมือทำได้ทันที รอไร


แชร์ไป ฝากไว้ให้รัฐทบทวน

Previous
Previous

เปิดประเทศไทย พร้อมหรือยัง? กับ 6 มาตรการสำคัญ

Next
Next

สวดมนต์ไม่ช่วยอะไร! เทคโนโลยีเตือนอุทกภัยภัย..รัฐใช้หรือยัง?