
เปิดท่อน้ำเลี้ยงที่ถูกปิดบัง
กฎหมายที่ทั้งโลกมี.. แต่ไทยไม่มี!
ร่าง พรบ. ป้องกันแทรกแซงข้ามชาติ
-
ชี้นำโดยต่างชาติ ไม่ใช่เรื่องปกติ
ทิศทางของประเทศ ต้องร่วมกำหนดจากคนในประเทศ ..การรับเงินต่างชาติ เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง หรือแทรกแซงความมั่นคง ถือเป็นการรับอิทธิพลต่างชาติ เข้าครอบงำอธิปไตย ย่อมใช่เรื่องธรรมดาในระดับสากล
-
เปิดเผย สร้างความโปร่งใส
ลงทะเบียน “ตัวแทนข้ามชาติ” สร้างความโปร่งใส มีสิทธิหน้าที่ เปิดเผยเส้นทางเงิน และการดำเนินกิจกรรม ให้ประชาชนทุกฝ่ายรับรู้
-
ติดอาวุธให้ประชาชน
กฎหมาย FIPA จะอำนวยให้ประชาชน สามารถแจ้งความ “การแทรกแซงข้ามชาติ” ได้สะดวก กระตุ้นหน่วยงานความมั่นคงที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพ
เฉพาะปี2022 มีเงินบริจาคต่างชาติไหลเข้าจำนวนกว่า 585.4 ล้านบาท โดยที่ไม่มีการตรวจสอบ
โดยที่สถานการณ์ปัจจุบันมีนิติบุคคลหรือบุคคลมีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นตัวแทนข้ามชาติโดยได้รับการใช้ จ้าง วาน หรือสนับสนุนจากนิติบุคคลหรือบุคคลที่มิได้มีสัญชาติไทยให้ ดำเนินการใดๆ ไม่ว่ากระทำโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไทย ทั้งการแทรกแซงทางการเมืองการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และประชาชนสามารถทราบได้ว่าการดำเนินกิจกรรมขององค์กร บุคคล นิติบุคคล เป็นไปโดยเจตจำนงค์ของคนในชาติหรือมีลักษณะเป็นตัวแทนข้ามชาติ
เน้นการเปิดเผยข้อมูลองค์กร, สื่อ หรือบุคคลที่รับเงินต่างชาติ ไม่เน้นคุกคามแต่ควบคุม การดำเนินการของให้เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล
ลงชื่อสนับสนุน
ลงชื่อสนับสนุน
การลงลายมือชื่อของผู้เข้าชื่อเสนอกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการแทรกแซงข้ามชาติ พ.ศ. .... (พงศ์พล ยอดเมืองเจริญ, ณัฐนันท์ กัลยาศิริ กับคณะ เป็นผู้เสนอ) โดยประชาชนไม่น้อยกว่า 10,000 รายชื่อ สามารถเข้าชื่อเสนอร่าง พ.ร.บ. ต่อรัฐสภาได้
จำเป็นต้องมีกฎหมายเฉพาะ
อุดช่องโหว่ของกฎหมายฟอกเงิน และความมั่นคงไทย เพราะกฎหมาย ป้องกันแทรกแซงข้ามชาติ ต้องการบทบรรญัติเฉพาะ
ดั่งที่ประเทศเหล่านี้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำกับดูแลเรื่องนี้
สหราชอาณาจักร: The Foreign Influence Registration Scheme (FIRS) กฏหมายเฉพาะขึ้นเมื่อปี 2021
เกาหลีใต้: Act on Registration of Foreign Agents
สิงคโปร์: Foreign Interference (Countermeasures) Act