กร่อยไม่กร่อย? ..งานAPECที่ไร้เงาไบเดน ปูติน 🔴

สัปดาห์นี้แล้ว กับงานเอเปค2022 สุดยอดงานประชุมภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่จัดที่ประเทศไทย.. ซึ่งหลายฝ่ายก็จับตามองว่า เมื่อไร้เงาโจ ไบเดน - วลาดีเมีย ปูติน - ปธน.เกาหลีใต้ ซึ่งไม่สามารถมาร่วมงานได้ ไม่ว่าด้วยเหตุสุดวิสัย หรือมีนัยยะทางการเมืองก็ตาม.. งานเอเปคครั้งนี้จะง่อย ไร้ประสิทธิภาพจริงหรือไม่?

.

พูดก็พูด เจ้าเอเปคนี่คืองาน"ความร่วมมือทางการค้า" ระหว่าง 21เขตเศรษฐกิจ ที่มีความมั่งคั่งรวมกันเกิน 60%ของ GDPโลก ซึ่งจะเป็นตัวจักรสำคัญยิ่งยวด ในการกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคหลังภาวะวิกฤติ 3ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเวทีนี้สำคัญแน่

.

ซึ่งไม่ว่าผู้นำสูงสุดจะเข้าร่วมหรือไม่ แต่ละประเทศก็ได้ส่งตัวแทน เข้าคุยประเด็นสำคัญอยู่แล้ว.. อย่างสหรัฐได้ส่งรองปธน.สายเฟรนด์ลี่อย่าง กมลา แฮร์ริส เป็นตัวแทน.. และยังมีแขกรับเชิญของไทยอย่าง เอ็มมานูเอล มาครอง ปธน.ฝรั่งเศส และโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน มกุฎราชกุมาร - นายกรัฐมนตรีซาอุ ที่โลกให้ความสนใจอยู่

.

และไม่ใช่แค่สุดยอดผู้นำเท่านั้น.. จาก3วันประชุม ยังมีแบ่งออกเป็นการประชุมเข้มย่อยๆ ระหว่างทีมเศรษฐกิจ อย่างรมต.กระทรวงพาณิชย์ - รมต.กระทรวงต่างประเทศ - สภาการค้าของทั้ง 21ประเทศ อีกบานเบอะด้วย.. เพราะฉะนั้นใครจะมาร่วมงานไม่สำคัญ อยู่ที่เนื้อหาที่จะทำข้อตกลงร่วมต่างหาก

.

คนทั่วไปอาจคิดว่า กับงบจัดงานมหาศาล 3.28พันล้านบาท คงแค่เอาแขกVIPฝรั่งมาประชุม และพาเที่ยวเฉยๆ แล้วประเทศไม่ได้อะไร ..ลองมาดูผลงานความร่วมมือสำคัญที่เกิดจากงาน APEC ครั้งก่อนๆกันบ้าง


◾ หลังจากความร่วมมือ การประชุมเอเปคปี1989 ภาษีนำเข้า(Tariff) ระหว่างประเทศสมาชิกเอเปค ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่เฉลี่ย 17% ลดลงเหลือเพียง 5.3% เมื่อผ่านมาถึงปี2018


◾ ยอดการซื้อขายระหว่างประเทศสมาชิก เพิ่มขึ้น 7เท่าตัว เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันก่อนการตั้งเอเปค.. มูลค่าการติดต่อซื้อขายรวมในกลุ่มเอเปค มากกว่าประเทศทั้งหมดที่เหลือรวมกันอยู่ถึง33%


◾ ปี1994 ที่เมืองโบโกร์ อินโดเนเซีย มี"ปฏิญานโบโกร์" เพื่อให้มีการส่งเสริมการเปิดค้าให้ลื่นไหลระหว่างสมาชิก ..ผลลัพธ์คือ มีการปรับอัตราภาษีศุลกากรระหว่างภูมิภาค ลดลง 5% ระหว่างปี2004 ถึง 2006 ..และลดลง 5%อีกครั้ง ในปี2007 ถึง 2010 ซึ่งช่วยเซฟเงินให้ภาคเอกชนในประเทศเอเปค รวมกว่า 2ล้านล้านบาท


◾ ในปี2011 มีความพันธะร่วมมือในการลดการใช้พลังงานลง 45% ภายในปี2030 โดยการส่งเสริมพลังงานทดแทนเช่น จากพลังงานแสงแดด พลังงานลมธรรมชาติ ทดแทนเชื้อเพลิงจากแหล่งถ่านหิน ฟอสซิล


◾ หลังการประชุมปี2012 ที่รัสเซีย มีการลดภาษีนำเข้า5% กับสินค้าดีต่อธรรมชาติ 54รายการ (Environmental Goods List) เช่นแผงวงจรโซลาเซลล์ ไปจนถึงกังหันลม


◾ ในปี2005 มีการตั้งศูนย์ APEC SME Innovation Center ในเกาหลีใต้ เพื่อยกระดับให้คำปรึกษา ผลักดันสายป่านให้ผู้ประกอบการรายย่อย ..จนปี2013 มีAPEC Start-Up Accelelator Network ที่ส่งเสริมสตาร์ทอัพ ผลักดันนวัตกรรมในประเทศสมาชิก

.

จะเห็นได้ว่าผลพวงความร่วมมือจากงานเอเปคนี้ ไม่ได้ง่อยเลยใช่มั้ยครับ ..จากธีมหลักที่ไทยเราเสนอในการประชุมรอบนี้คือ "BCG Economy (Bio-Circular-Green)" แนวคิดเศรษฐกิจที่เพิ่มประสิทธิภาพในระบบการบริโภค-การผลิต เน้นส่วนประกอบชีวภาพ รีไซเคิลได้ ลดมลภาวะเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

.

ไฮไลท์อีกอันที่ผมเห็นด้วยคือ ความร่วมมือด้านอาหารกับ นโยบาย3S (Food Safety, Food Security และ Food Sustainability) เหมาะกับไทย ที่เป็นประเทศเกษตรกรรมแนวหน้า ยืนยันความพร้อมเป็นแหล่งอาหารสำรองอาเซียนและครัวโลก เดินหน้าเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในเวทีนี้


มาดูกันว่า ปฏิญาณบางกอก(Bangkok Goal) ที่จะเกิดขึ้น

.

จะเห็นผล เป็นรูปธรรมขนาดไหน

.

ระหว่างนี้รวมใจ เป็นเจ้าภาพที่ดีกันนะครับ :)