"ม้าลาย"ไม่ได้ผิด ผิดตรงที่วินัยคน...🚸
◾ คนเดินเท้า ในประเทศไทย เป็นกลุ่มที่เสี่ยงเสียชีวิตมากที่สุด ข้อมูล WHO ปี 61 ชี้ "ไทย" ครองอันดับ 1 ในเอเชียและอันดับ 9 ของโลก คนเสียชีวิตบนท้องถนนสูงสุด
จากเหตุการณ์น่าสลดบิ๊กไบค์ ชน"หมอกระต่าย" ...แม้เราพยายามแก้ปัญหาตอนนี้ ก็อาจดูเหมือนแก้เมื่อสาย - วัวหายแล้วล้อมฟาร์ม ยังงัยยังงั้น... แต่การหาแนวทางป้องกัน ที่ลดละการเกิดโศกนาศกรรมแบบนี้ในอนาคตได้ ก็ถือว่ามีประโยชน์ยิ่งยวด
.
.
ครั้นจะแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยี และการออกแบบ แบบที่ผมถนัด ...ทางม้าลาย ไม่ว่าจะขยายใหญ่, ติดไฟกระพริบ, เพ้นท์เป็น 3มิติ หรือทำเป็นเนินสูงมาเลย ตามที่ประเทศหลายประเทศทั่วโลกเค้าใช้ ... ถึงทางม้าลายจะเด่นสะดุดตาขนาดไหน ในเมื่อวินัยคนไทย ยังขับกันล่ะหลวม.. คนไม่ระวังเค้าก็จะเฉี่ยวชนมันอยู่ดี
.
.
มองในเชิงกฏหมายบ้าง ผมคิดว่าประเทศไทยยังอ่อนมาก ในเรื่องบทลงโทษ.. โดยเฉพาะเคสนี้ ผู้ก่อเหตุถูกแจ้งข้อหายิบย่อยรวมเป็น 7ข้อหา แต่ข้อหาฉกรรจ์มีเเพียง "ขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย" ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10ปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
.
.
บวกกับโทษจิ้บจ้อย ที่เกี่ยวพันกับการฝ่าฝืนทางม้าลายเช่น "ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายทางเท้า" หรือ "ไม่หยุดรถให้ผู้ใช้ทางม้าลาย" ...ซึ่งโทษ 2ข้อนี้เป็นการชำระค่าปรับไม่กี่บาท เป็นแค่การทำสำนวนให้รู้สึกว่าสังคมได้รับความยุติธรรม
.
.
ซึ่งผมคิดว่าไม่พอ ไม่พออย่างยิ่งที่จะทำให้คนไทยระวังคนเดินถนน ที่ข้ามถนนอย่างดี ตามกฎจราจรแล้วต้องพบจุดจบแบบนี้ ...พิจารณาการเฉี่ยวชน บนพื้นที่จราจรคุ้มครองพิเศษอย่าง ทางม้าลาย ควรต้องได้รับโทษฉกรรจ์พิเศษ เป็น "ขับรถเฉี่ยวชน บนพื้นที่คุ้มครองพิเศษ เป็นเหตุทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย"
.
.
ตัดเรื่องความประมาททิ้งไป ในเมื่อทางม้าลาย คือพื้นที่คุ้มครองพิเศษ คนขับที่มีสามัญสำนึก ต้องขับผ่านโดยไม่ประมาทเป็นทุนเดิม... ดังนั้นเมื่อเฉี่ยวชน บนทางม้าลาย ให้ถือว่าไม่ประมาท แต่เข้าข่ายเป็นการพยายามฆ่า มีโทษจำคุกตั้งแต่ 15-20ปี
.
.
เมื่อกรอบกฎหมายเข้มงวดขึ้น นั่นแหละ เป็นสิ่งที่บังคับให้ผู้ขับขี่ ต้องระมัดระวังขึ้นโดยอัตโนมัติ
.
.
ปรับเปลี่ยนให้ ทางม้าลายจะเด่นสะดุดตาขนาดไหน ในเมื่อวินัยคนขับขี่ไม่ดี เหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ก็จะเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
.
.