คนละครึ่ง.. กับSMEดีมั้ย?
◾ รู้หรือไม่ เงิน2.25 แสนล้านบาท กำลังถูกละลายไป กับโครงการคนละครึ่ง เฟส3
◾ ขณะที่ 7.7 แสนบริษัทSMEsทั้งหมดในประเทศผู้เป็นกำลังหลักในการจ้างงาน.. กำลังถูกเมิน และปล่อยให้ตายช้าๆ
ถ้าคุณทำธุรกิจของตัวเอง ย่อมรู้ว่ามีได้..ต้องมีเสีย ..แต่สิ่งนึงที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเสียเป็นทุนเดิมเหมือนๆกัน ก็คือ “การจ้างงาน” เราในฐานะบริษัทนายจ้าง มีหน้าที่ดูแลสวัสดิการ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย ..วันนี้เมื่อมีวิกฤติ Covid 19 คนที่ได้รับผลกระทบที่สุด คงหนีไม่พ้นบริษัทSMEs อย่างเราๆ รายได้ที่หดไม่เหลือกำไร จากกิจการที่โดนปิดชั่วคราว, ลดเวลาทำการ, จำกัดประสิทธิภาพการทำงานแบบWork From Home ..แต่ฉะไหนรัฐบาลแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการ ”คนละครึ่ง” ให้เกิดการจับจ่ายซื้อสินค้าในกลุ่มชาวบ้านธรรมดา ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้คือ สามารถเร่งปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบแค่ชั่วคราว เน้นว่าชั่วคราวเท่านั้น.. ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งที่1, 2 แต่เป็นเฟส3 แบบหนังไตรภาคเข้าไปแล้ว
โดนบังคับWFH แต่ทำไมค่าน้ำ-ไฟจ่ายเต็ม.. แถมต้องปวดหัวเลี้ยงลูก
สิ่งที่รัฐบาลควรทำยิ่งกว่าในเฟสนี้ คือต่อลมหายใจให้กับบริษัทSME ซึ่งเป็นนายจ้างของระบบเศรษฐกิจมหภาคที่แท้ทรู มีการจ้างงานกว่า 12 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.2 ของการจ้างงานทั้งประเทศ ..เปิดโอกาสให้เค้ายังสามารถจ่ายเงินเดือนลูกจ้างต่อไปได้ ..นั่นคือทางออกของเรื่องราวทั้งหมด ผมเชื่อว่า หากเกิดการเยียวยาผิดที่ อีกไม่เกิน2เดือน SMEsกว่า 3 แสนรายจะประสบวิกฤติ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้.. นี่คือเรื่องใหญ่ ที่จะส่งเอฟเฟ็คสะเทือนไปทั้งระบบเศรษฐกิจ
โครงการ ”คนละครึ่ง” ที่แท้ทรู ควรเป็น..
◾SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง หารสองเงินเดือนพนักงาน เป็นระยะเวลา3เดือน
◾SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าประกันสังคมของพนักงาน ตลอด1ปี
◾SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าน้ำ/ค่าไฟของบริษัท ตลอดช่วงเวลาวิกฤติการณ์
สก็อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ออกมาตรการจ่ายเงินเดือนพนักงาน50% ช่วยSMEsทั่วประเทศ ยาวถึง 9เดือน
รัฐบาลอเมริกา มีโครงการ”HELP WITH BILLS” ช่วยSMEsหลายบริษัทเช่น เรื่องลดค่าเช่าที่, ลดค่าไฟค่าฮีตเตอร์, ค่าหมอ
..ดังนั้นหากมีการตั้งคำถามจริงๆว่า รัฐบาลใช้งบประมาณจากพรก.เงินกู้Covid ทั้งหมด 1ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการฝืดเคืองเศรษฐกิจ.. หรือแท้ที่จริง โครงการเหล่านั้นก็แค่ “ประชานิยมแกนด้า” เพื่อซื้อคะแนนความนิยมจากประชาชนผู้รับสิทธิจำนวน 51ล้านคนทั่วประเทศ เท่านั้นเอง?
แฟร์ๆดินาย
จ่าย..คนละครึ่งกับSMEs !
เยียวยาเมื่อสาย.. SMEจะตายกันหมด!
51%
ของเจ้าของกิจการSMEs สารภาพว่าธุรกิจตน น่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 3เดือน
67%
ของเจ้าของกิจการSMEs รู้สึกว่า ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐ
(credit: www.goldmansachs.com/citizenship/10000-small-businesses/US)
ไม่ใช่แค่หนึ่ง หรือสอง.. นี่คือระลอกที่3 ที่พิษCovid-19 เล่นงานพวกเค้า.. โรงแรมที่ร้างอยู่แล้ว ยังถูกปิดส่วนร้านอาหารเพิ่ม, ผู้เช่าที่ค้าปลีก จ่ายค่าที่เปล่าๆปรี้ๆ, ร้านบุฟเฟ่ต์จำนวนมาก ลอยเคว้งเพราะถูกสั่งให้ห้ามทานภายในร้าน แล้วเค้าจะหาทำอะไรได้ ..เอาให้ชัดคือรอบนี้อาจล้างกระดานผู้ประกอบการSME ซะราบคาบ.. เสียงโอดครวญที่ดังสนั่นSocialเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดี ว่าไม่ว่าพวกเค้าจะปรับตัว, ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์, ปรับสภาพองค์กร เพื่อยืนหยัดการสถานการณ์ยากลำบากแค่ไหน แต่ก็ดูเหมือนพิษบาดแผลครั้งนี้ จะใหญ่เกินกว่าที่เค้าจะต่อลมหายใจต่อไปได้..
credit: www.facebook.com/thanapanv
credit: ชาบูอู๊ด
กล่าวถึง SMEs เว้าเป็นภาษาอังกฤษคือ Small and Medium-sized Enterprises องค์กรการค้าขนาดย่อมไปถึงขนาดกลาง.. ชื่อก็บอกว่าเป็นขนาดไม่ใหญ่ ไม่สามารถต้านทานกับแรงประทะครั้งนี้ได้ ถ้าไม่ได้รับการเยียวจากภาครัฐอย่างเป็นเพียงพอ
สิ่งที่รัฐบาลเยียวยา มีเพียงให้หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ผลัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ซึ่งในวงเล็บว่าเฉพาะSMEs ที่เป็นลูกหนี้ธนาคาร อย่างออมสิน, กรุงไทยเป็นต้น เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เทียบกับการเป็นหนนี้จากสถาบันเอกชน หรือแหล่งเงินอื่นๆ ..กับอย่างที่สอง คือการปล่อยกู้(อีกแล้ว) ซึ่งในเวลานี้ไม่มีSMEsที่ลำบากเจ้าไหน มีเงินสำรอง หรือหลักทรัพย์ค้ำประกันใดหลงเหลืออยู่พอสำหรับการอนุมัติเงินกู้.. หนำซ้ำยังเก็บภาษีจากSMEsเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในปี2564ล่าสุด ทั้งภาษีโรงเรือน, ภาษาป้าย, เงินสวัสดิการประกันสังคม และจิปาถะอีกมากมาย..
⬛ ประเทศสเปน ออกเงินเดือนให้พนักงานในSMEsที่ได้รับผลกระทบถึง 75% ..จ่ายประกันสังคมให้บริษัทและพนักงานเต็มจำนวน
⬛ ประเทศเยอรมัน รัฐบาลจ่าย 67%ของค่าแรงพนักงาน ที่ถูกลดชม.ทำงาน ให้บริษัทSMEs ..จ่ายประกันสังคมให้บริษัทและพนักงานเต็มจำนวน
⬛ ประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลจ่าย 50% ของเงินเดือนพนักงาน ให้SMEs เป็นระยะเวลา 9 เดือน
ยกตัวอย่างประเทศไม่ใช่มหาอำนาจอย่างแอฟริกาใต้ รัฐบาลยังมีการจัดการที่ดีกว่าในการเยียวยา SMEs เช่น โยบายในการลดภาษี10% สำหรับทั้งลูกจ้างSMEs และบริษัท, คืนเงินลดหย่อนภาษีก่อนกำหนด
นี่คือสิ่งที่ตอกย้ำว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างSMEs เพียงพอ ..การสั่งปิดกิจการ, ลดชั่วโมงการทำงาน, ล๊อคดาวน์บางพื้นที่ โดยที่ผู้ประกอบการยังคงจ่ายค่าเช่าที่ และเงินเดือนพนักงานเต็มเหนี่ยว แสดงถึงการไม่รับผิดชอบใดๆของรัฐ และผลักดันให้ภาระหนี้ทั้งหมดตกอยู่กับผู้ประกอบการ
ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องเรียกร้องให้เกิดการชดเชย เยียวยาอย่างจริงๆจังๆ ก่อนที่ SMEs..
จตกม. จริงๆ