Lory Pongpol Lory Pongpol

อัพเวล SMEsไปอีกขั้น.. ด้วย "3M" ขับเคลื่อนแบบสตาร์ทอัพ ไปสู่ ”SMEs UP ⬆️”

◾ เกิดเป็นSMEs มันไม่ง่าย.. เล็กไปก็ตาย ขยายใหญ่ก็ตัน

◾ หลังวิกฤติการณ์ คาดว่าSMEsไทย จะล้มหายไปอีกกว่า 3แสนบริษัท



อยากรอดต้องปรับ ..อัพเวล SMEsไปอีกขั้น ด้วยวิธี "3M"

ขับเคลื่อนแบบสตาร์ทอัพ ไปสู่ ”SMEs UP ⬆️”

.

.

เริ่มกันที่ความความเชื่อผิดๆ



"สตาร์ทอัพ ต้องใช้เทคโนโลยีล้ำ"

.

.

ความเป็นจริงแล้วเมื่อถอดรหัสความสำเร็จ จากบริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่.. บทปฏิบัติที่สำคัญ คือการยกระดับเชิงกลยุทธมากกว่า ..บวกกับความคิดที่ รักการทดลอง, พร้อมจะเสี่ยง ..พร้อมที่จะล้มก่อน เพื่อที่จะลุกขึ้นเร็วกว่าใคร (Fail fast, Iterate quickly) และกลับมาอย่างผู้ชนะ

.

.

เทคโนโลยี เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกเท่านั้น เอาจริงแค่เทคโนโลยีรายล้อมเราในชีวิตประจำวันอย่าง โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้, ไลน์, อีเมล์ หรือ กูเกิลไดร์ฟต่างๆ แค่นี้ก็เกินพอ ...หรือธุรกิจใคร สามารถสร้างช่องทางขายทางchannel Shopee, Lazada, เว็บไซต์ส่วนตัว ยิ่งดีขึ้นไปอีก ...สำหรับการสลัดภาพSMEsธรรมดา สู่ SMEs UP ⬆️ ขั้นกว่า

.

.

...ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย



ปรับ"3M" จะช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร?


Ⓜ️ Mindset ปรับแนวคิดใหม่

240400634_240518088015158_5809180724207812653_n.jpg



มันไม่สำคัญซักนิดว่าวันนี้คุณจะขายอะไร
เพราะคุณทำอาหารเก่ง?
เพราะอยากหารายได้เสริม
เพราะป้าต้อยตำน้ำพริกนัวมาก
เพราะรู้จักกับโรงงานผลิต


แต่สำคัญมากกว่าก็คือ...

เหตุผลอะไรที่สินค้าคุณควรมีอยู่ในตลาด
เพราะมันแก้ปัญหาให้ผู้ใช้?
.
.
จากเดิมที่SMEs เคยสนใจแค่ Profit Centric นับจากกำไรต่อชิ้นจากสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ แล้วรู้สึกมั้ยว่าทำไมมันตันๆ??? เพราะเจ้าของSMEsทุกคนดันคิดเหมือนกันหมด แข่งที่ราคาถูก... แข่งที่โปรโมชั่นกันรัวๆ
.
.
หากผู้ประกอบการลองเปลี่ยนเลนส์มอง ปรับMindset ... เริ่มโฟกัสที่ปัญหาจากกลุ่มลูกค้า, ผู้ใช้งาน (User Centric) และเสนอoffering ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เค้า เราจะได้มุมใหม่ๆในธุรกิจเดิมอย่างง่ายดาย
.
.
ยกตัวอย่าง ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าหนึ่ง ปกติคิดแค่ขายอาหารได้กำไรต่อชามที่ 40% จากราคาทุน... คิดไปเลยว่าขายเท่าไหร่ก็ได้ แต่ยังงัยร้านได้กำไรแน่ๆ 40% ...สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ร้านยืนนิ่ง รอให้ลูกค้าที่พร้อมซื้อเดินเข้ามา ในราคาที่ผู้กินรู้สึกว่ารสชาติ+ปริมาณ คุ้มกับราคาที่จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องSubjective หากพ่อครัวฝีมือดีหน่อย ปริมาณไม่น้อยเกินไป ...ก็มีแนวโน้มจะขายได้ดี

ไหนลองเปลี่ยนMindset แล้วมองที่ปัญหา คนที่มากินคืออยากได้รสสัมผัสอาหารญี่ปุ่น(1) ... ในราคาที่สมเหตุสมผล(2) ... และต้องทำให้อิ่มฟินในมื้อเดียว(3) ....หากร้านพิจารณาจาก Goal วัตถุประสงค์ที่ผู้กินต้องการจะค้นพบว่า
.
.
...แท้จริงแล้วรสชาติอาหารอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่กลุ่มtarget concernขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือ ประสบการณ์ที่ได้ทานอาหารญี่ปุ่น (แพคเกจจิ้งดีไซน์.. การแต่งหน้าอาหาร... ความสร้างสรรค์เมนูแบบญี่ปุ้นญี่ปุ่น..)

ราคาต้องFlexible มีเมนูทางเลือกที่จับต้องได้กับทุกคน Premium menu แพงหน่อย...
Standard Menu ราคาปกติ...
Valued menu ชุดสุดคุ้ม ...
.
.
การวางprice range หลากหลายจะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากกว่า เพราะราคาเดียวที่ทุกคนพอใจไม่มีอยู่จริง เพียงแต่เราต้องวางขึ้นมาเอง ให้ตอบสนองลูกค้าทุกคน
.
.
ข้อสุดท้าย คนกินต้องการความอิ่มฟินในมื้อ ..ก็คือเค้าต้องการการการันตีว่า มากินแล้วจบในมื้อ ไม่มีหิวโหยไปซื้อลูกชิ้นกินข้างทางต่อ ...หากร้านมองเห็นถึงจุดนี้และปรับให้ลูกค้า จะสามารถเพิ่ม Customer Satisfaction ความพึงพอใจกับลูกค้าได้มากโข
.
.
วิธีมีหลากหลาย อาจจะเป็นร้านเสนอเติมข้าวให้ไม่จำกัด ตราบใดที่ลุกค้าสั่งกับซึ่งถือเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นน้อยนิดมาก หรือ การเสนอทางเลือกแบบ All-You-Can-Eat บุฟเฟต์กินได้ไม่จำกัด ในราคาที่คำนวนมาว่าเหมาะ
.
.
ซึ่งบุฟเฟต์เป็นตัวอย่างที่ดีของ ร้านอาหารSMEsยุคแรก ที่เริ่มมีการใช้MindsetแบบStartup ปรับเปลี่ยน ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบสินค้าที่โดนใจผู้บริโภค... เกิดเป็นBusiness Modelใหม่ ตามที่จะกล่าวในบทต่อไป
.
.
Mindset ของสตาร์ทอัพนอกจากเกิดมาเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ใช้แล้ว อีกอย่างที่สำคัญมากคือ Fail fast, Iterate quickly ความคิดแบบ Agile System คือทุกอย่างเคลื่อนไปข้างด้วยสปีดที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอให้อะไรสมบูรณ์แบบก่อนค่อยทำ ไม่งั้นไม่ทันกิน
.
.
...เพราะยุคนี้คือยุคแห่งการทดลอง ที่ลูกค้าเองก็พร้อมจะเปิดใจลองอะไรใหม่ๆ ถ้าทำแล้วไม่เวิร์ค ก็แค่กลับลำ.. แล้วหาอะไรเริ่มใหม่จนกว่าจะเจอนั่นเอง



Ⓜ️ Model เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ



เมื่อรูปแบบธุรกิจที่ใช้อยู่ไม่เวิร์ค หรือไม่ทันสถานการณ์ ลองใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นแร่แปรธาตุอีกหน่อย..

หนึ่งในจุดที่SMEsตันที่สุด คือความคิดที่เราต้องจำกัดกับการขาย Asset Sale ซื้อมาขายไป แล้วได้กำไรต่อชิ้น จบ... โมเดลนี้กลายเป็นเรื่องมาตรฐานที่ทุกSMEsใช้ เป็นเหตุให้หลายบริษัทไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูด เพราะมีแค่กลไกลราคาที่สามารถแข่งขันกันได้
.
.
เชื่อมั้ยยังมี Business Model มีเป็น 10แบบบนโลก ที่ทำให้รูปแบบธุรกิจคุณดูโดดเด่น และมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ในขึ้นในสายตาผู้บริโภค เช่น
.
.
◾ Subscription Model
ระบบผูกปิ่นโตรายเดือน/ รายสัปดาห์ ใช้ได้ทั้งการสินค้าและบริการ

เช่น Netflix, เครือข่ายมือถือ
.
.
◾ Bundling Model
ระบบยำ ขายทุกอย่างเป็นเซ็ต เหมาะกับสินค้าที่ขายชิ้นเดียวแพง ขายรวมถูกกว่า หรือ อาจเป็นการอำนวยความสะดวกกับลูกค้าจบในที่เดียว

เช่น Makro, ร้านอาหารทำCatering, บริษัทรับเหมา, เอเจนซี่
.
.
◾ Freemium Model
โมเดลยอดฮิตในเกมออนไลน์ หรือแอปออนไลน์ต่างๆ ให้ใช้ฟรี
แต่เก็บตังเมื่อต้องการใช้งานทุกฟังค์ชั่น

เช่น Youtube, Spotify, ฟิตเนส ที่ให้ทดลองใช้ฟรี
.
.
◾ Hook & Bait Model
ระบบปลากินเหยื่อ ขายสินค้าตั้งต้นถูกก่อน เพื่อขายสินค้าชิ้นต่อไปในราคาแพงขึ้น

เช่น ด้ามมีดโกนหนวดถูก แต่ใบมีดแพง, ปรินท์เตอร์ถูก ตลับหมึกแพง
.
.
◾ Accessories Model
เป็นโมเดลการขายสินค้าที่หลากหลาย และเปลี่ยนบ่อย เพื่อเติมเต็มสินค้าหลัก

เช่น iPhone, Playstation, รถยนต์
.
.
◾ Leasing Model
โยกจากการขายขาดแบบ Asset Sale เป็นโมเดลให้เช่า แล้วเก็บค่าบริการ

เช่น อสังหาริมทรัพย์, เครื่องมืออุปกรณ์เช่ายืมต่างๆ
.
.
◾ Franchise Model
ข้อนี้คงเริ่มคุ้นๆหูคนไทย.. นี่คือการขายโมเดลธุรกิจ ให้ผู้สนใจไปทำต่อ มีหลากหลายรูปแบบ และแต่ตกลงตามสัญญา

เช่น 7-11, ร้านFast Food
.
.

นี่เป็นเพียง 7ตัวอย่าง.. ที่บริษัทเล็กๆสามารถลองปรับตัวเอง เพื่อลองใช้แนวทางโมเดลการทำเงินแบบอื่นได้
.
.
นอกจากนั้น สิ่งที่SMEs ควรรู้ก็คือสิ่งที่ตนเองขายอยู่ไม่ว่าสินค้า หรือบริการเค้าเรียกว่า Value Proposition... ความหมายคือเรากำลังเสนอขายเซ็ตValuesบางอย่าง สิ่งใดๆก็ตามแต่ ที่มีมูลค่าต่อใจลูกค้า

เพราะฉะนั้น ข้าวไม่ใช่ข้าว 1จาน แต่เรากำลังขาย 1อิ่ม/ 1อร่อย ให้ลูกค้า...
.
.
โรงแรม 1ห้อง ไม่ใช่โรงแรม 1ห้อง ...แต่คือการขายความสะดวกสบาย/ ประสบการณ์พักอาศัยนอกสถานที่ 24ชม.
.
.
ครีมบำรุง ไม่ใช่ครีมบำรุง 1กระปุก ...แต่คือการขายความพึงพอใจในการดูแลตัวเอง/ การยกระดับการดูแลสุขภาพผิวหนัง
.
.
หากพิจารณาแล้วว่าของที่เราขาย มันคือเซ็ตมูลค่าบางอย่างในใจลูกค้าเราสามารถ turn things around แก้เกมพลิกแพลงได้หมด

...จากร้านข้าวแกงธรรมดา สู่สตาร์ทอัพหนึ่งอิ่ม

ปรับโมเดล ด้วยการให้ลูกค้าจ่ายเงินflat rateแบบบุฟเฟต์กินสนองความอิ่มเค้า...
.
.
หรือ ปรับเป็นร้านที่ใช้โมเดล Subscription ผูกปิ่นโตข้าวแกง30วัน นำส่งความอิ่มถึงบ้าน
.
.
ลองมองโมเดลใหม่ๆ ว่าอันไหนที่เหมาะ จะสามารถพาบริษัทคุณไปยังที่หมายใหม่ ตลาดใหม่.. ที่คุณยังไม่เคยไป แล้วลองเริ่มดูซะ


Ⓜ️ Monitor รวบรวมข้อมูล





เชื่อมั้ยData หรือข้อมูลลูกค้า คือกุญแจสำคัญที่สุดของธุรกิจยุคใหม่..???
.
.
เพราะข้อมูลลูกค้าคือสะพานต่อยอดให้เกิด Growth ต่อเนื่องไม่รู้จบ อย่างที่บริษัทเทคหรือสตาร์ทอัพ อย่างพวกเฟสบุ๊คที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัว, พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์, รสนิยม จากไลฟ์สไตล์ การสะสมนี้ไม่ใช่ว่าเค้าจะสนใจอะไรผู้ใช้ขนาดนั้น เพียงแต่ต้องการดักเอาข้อมูลคุณทั้งหมด นำไปประเมินเพื่อเดาว่าคุณมีแนวโน้มจะใช้, จะซื้อ, จะตัดสินใจ แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปเร่ขายให้บริษัทอื่นๆ..
.
.
นอกจากนั้นการที่บริษัทนึง สามารถเก็บข้อมูลหลังการใช้งานว่าผู้ใช้แฮปปี้ หรือติดขัดมีปัญหาตรงไหน ข้อมูลนี้บริษัทสามารถนำกลับไปแก้ไขให้ดีขึ้น ในเฟิร์มแวร์ หรือ รุ่นใหม่ๆตต่อไป... ข้อมูลส่วนตัวลูกค้ายังมีประโยชน์ในแง่การเเพิ่มโอกาสการขาย เช่นเมื่อบริษัททราบช่องทางติดต่อ, วันเกิดของลูกค้า ...เมื่อต้องการโปรโมตโปรโมชั่น ทางบริษัทสามารถยิงตรงไปหาได้เลย
.
.
....หากคุณเป็นSMEs ที่ยังขายสินค้าแบบซื้อเสร็จแยกทางเราขอให้คุณเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่วันนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีซักนิดเดียว
.
.
...ร้านข้าวแกง สามารถรวบรวมfeedback อาหารใหม่แต่ละชนิดจากลูกค้า ด้วยการถามปากเปล่าก่อนออกจากร้าน ว่าถูกปากมั้ย? มีการรวมคะแนนrating แต่ละถาดเมนูกับข้าว ให้แม่คครัวรุ้ว่าอาหารไหนควรปรับ อะไรต้องทำเพิ่ม ..ส่วนลูกค้าคนอื่น เมื่อเห็นคะแนน ก็ช่วยให้ตัดสินใจเลือกเมนูได้ง่ายขึ้น
.
.
...เมื่อลูกค้าเข้าร้าน อย่าปล่อยให้หลุดมือ จัดการให้เค้าแอดไลน์ร้านเป็นเพื่อนกันไว้ แล้วให้ส่วนลด5บาท-10บาท อะไรก็ตามแต่

...ทีนี้ร้านข้าวคุณก็มีdataลูกค้า เมื่อต้องการโปรโมทเมนูใหม่, สาขาใหม่ หรืออยากให้คนสั่งเดลิเวอรี่ ก็สามารถทำได้เสร็จสรรพ
.
.
นี่แหละพลังของข้อมูลที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูล ที่ธุรกิจเล็กๆแบบไหนก็ทำได้เลย โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีใดๆ
.
.
แล้วคุณจะรออะไร อัพเวลเป็น SMEs UP ตั้งแต่วันนี้ ..เริ่ม!

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

คนละครึ่ง.. กับSMEดีมั้ย?

 

รู้หรือไม่ เงิน2.25 แสนล้านบาท กำลังถูกละลายไป กับโครงการคนละครึ่ง เฟส3

◾ ขณะที่ 7.7 แสนบริษัทSMEsทั้งหมดในประเทศผู้เป็นกำลังหลักในการจ้างงาน.. กำลังถูกเมิน และปล่อยให้ตายช้าๆ

 

ถ้าคุณทำธุรกิจของตัวเอง ย่อมรู้ว่ามีได้..ต้องมีเสีย ..แต่สิ่งนึงที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเสียเป็นทุนเดิมเหมือนๆกัน ก็คือ “การจ้างงาน” เราในฐานะบริษัทนายจ้าง มีหน้าที่ดูแลสวัสดิการ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย ..วันนี้เมื่อมีวิกฤติ Covid 19 คนที่ได้รับผลกระทบที่สุด คงหนีไม่พ้นบริษัทSMEs อย่างเราๆ รายได้ที่หดไม่เหลือกำไร จากกิจการที่โดนปิดชั่วคราว, ลดเวลาทำการ, จำกัดประสิทธิภาพการทำงานแบบWork From Home ..แต่ฉะไหนรัฐบาลแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการ ”คนละครึ่ง” ให้เกิดการจับจ่ายซื้อสินค้าในกลุ่มชาวบ้านธรรมดา ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้คือ สามารถเร่งปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบแค่ชั่วคราว เน้นว่าชั่วคราวเท่านั้น.. ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งที่1, 2 แต่เป็นเฟส3 แบบหนังไตรภาคเข้าไปแล้ว

โดนบังคับWFH แต่ทำไมค่าน้ำ-ไฟจ่ายเต็ม.. แถมต้องปวดหัวเลี้ยงลูก

โดนบังคับWFH แต่ทำไมค่าน้ำ-ไฟจ่ายเต็ม.. แถมต้องปวดหัวเลี้ยงลูก


สิ่งที่รัฐบาลควรทำยิ่งกว่าในเฟสนี้ คือต่อลมหายใจให้กับบริษัทSME ซึ่งเป็นนายจ้างของระบบเศรษฐกิจมหภาคที่แท้ทรู มีการจ้างงานกว่า 12 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.2 ของการจ้างงานทั้งประเทศ ..เปิดโอกาสให้เค้ายังสามารถจ่ายเงินเดือนลูกจ้างต่อไปได้ ..นั่นคือทางออกของเรื่องราวทั้งหมด ผมเชื่อว่า หากเกิดการเยียวยาผิดที่ อีกไม่เกิน2เดือน SMEsกว่า 3 แสนรายจะประสบวิกฤติ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้.. นี่คือเรื่องใหญ่ ที่จะส่งเอฟเฟ็คสะเทือนไปทั้งระบบเศรษฐกิจ


 

โครงการ ”คนละครึ่ง” ที่แท้ทรู ควรเป็น..

SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง หารสองเงินเดือนพนักงาน เป็นระยะเวลา3เดือน

SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าประกันสังคมของพนักงาน ตลอด1ปี

SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าน้ำ/ค่าไฟของบริษัท ตลอดช่วงเวลาวิกฤติการณ์

 

สก็อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ออกมาตรการจ่ายเงินเดือนพนักงาน50% ช่วยSMEsทั่วประเทศ ยาวถึง 9เดือน

สก็อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ออกมาตรการจ่ายเงินเดือนพนักงาน50% ช่วยSMEsทั่วประเทศ ยาวถึง 9เดือน

รัฐบาลอเมริกา มีโครงการ”HELP WITH BILLS” ช่วยSMEsหลายบริษัทเช่น เรื่องลดค่าเช่าที่, ลดค่าไฟค่าฮีตเตอร์, ค่าหมอ

รัฐบาลอเมริกา มีโครงการ”HELP WITH BILLS” ช่วยSMEsหลายบริษัทเช่น เรื่องลดค่าเช่าที่, ลดค่าไฟค่าฮีตเตอร์, ค่าหมอ

..ดังนั้นหากมีการตั้งคำถามจริงๆว่า รัฐบาลใช้งบประมาณจากพรก.เงินกู้Covid ทั้งหมด 1ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการฝืดเคืองเศรษฐกิจ.. หรือแท้ที่จริง โครงการเหล่านั้นก็แค่ “ประชานิยมแกนด้า” เพื่อซื้อคะแนนความนิยมจากประชาชนผู้รับสิทธิจำนวน 51ล้านคนทั่วประเทศ เท่านั้นเอง?

แฟร์ๆดินาย

จ่าย..คนละครึ่งกับSMEs !


Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

เยียวยาเมื่อสาย.. SMEจะตายกันหมด!

 

51%

ของเจ้าของกิจการSMEs สารภาพว่าธุรกิจตน น่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 3เดือน

67%

ของเจ้าของกิจการSMEs รู้สึกว่า ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐ

(credit: www.goldmansachs.com/citizenship/10000-small-businesses/US)

 

ไม่ใช่แค่หนึ่ง หรือสอง.. นี่คือระลอกที่3 ที่พิษCovid-19 เล่นงานพวกเค้า.. โรงแรมที่ร้างอยู่แล้ว ยังถูกปิดส่วนร้านอาหารเพิ่ม, ผู้เช่าที่ค้าปลีก จ่ายค่าที่เปล่าๆปรี้ๆ, ร้านบุฟเฟ่ต์จำนวนมาก ลอยเคว้งเพราะถูกสั่งให้ห้ามทานภายในร้าน แล้วเค้าจะหาทำอะไรได้ ..เอาให้ชัดคือรอบนี้อาจล้างกระดานผู้ประกอบการSME ซะราบคาบ.. เสียงโอดครวญที่ดังสนั่นSocialเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดี ว่าไม่ว่าพวกเค้าจะปรับตัว, ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์, ปรับสภาพองค์กร เพื่อยืนหยัดการสถานการณ์ยากลำบากแค่ไหน แต่ก็ดูเหมือนพิษบาดแผลครั้งนี้ จะใหญ่เกินกว่าที่เค้าจะต่อลมหายใจต่อไปได้..

credit: www.facebook.com/thanapanv

credit: www.facebook.com/thanapanv

credit:  ชาบูอู๊ด

credit: ชาบูอู๊ด

15438975826390 (1).jpg

กล่าวถึง SMEs เว้าเป็นภาษาอังกฤษคือ Small and Medium-sized Enterprises องค์กรการค้าขนาดย่อมไปถึงขนาดกลาง.. ชื่อก็บอกว่าเป็นขนาดไม่ใหญ่ ไม่สามารถต้านทานกับแรงประทะครั้งนี้ได้ ถ้าไม่ได้รับการเยียวจากภาครัฐอย่างเป็นเพียงพอ

สิ่งที่รัฐบาลเยียวยา มีเพียงให้หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ผลัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ซึ่งในวงเล็บว่าเฉพาะSMEs ที่เป็นลูกหนี้ธนาคาร อย่างออมสิน, กรุงไทยเป็นต้น เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เทียบกับการเป็นหนนี้จากสถาบันเอกชน หรือแหล่งเงินอื่นๆ ..กับอย่างที่สอง คือการปล่อยกู้(อีกแล้ว) ซึ่งในเวลานี้ไม่มีSMEsที่ลำบากเจ้าไหน มีเงินสำรอง หรือหลักทรัพย์ค้ำประกันใดหลงเหลืออยู่พอสำหรับการอนุมัติเงินกู้.. หนำซ้ำยังเก็บภาษีจากSMEsเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในปี2564ล่าสุด ทั้งภาษีโรงเรือน, ภาษาป้าย, เงินสวัสดิการประกันสังคม และจิปาถะอีกมากมาย..



 

ประเทศสเปน ออกเงินเดือนให้พนักงานในSMEsที่ได้รับผลกระทบถึง 75% ..จ่ายประกันสังคมให้บริษัทและพนักงานเต็มจำนวน

ประเทศเยอรมัน รัฐบาลจ่าย 67%ของค่าแรงพนักงาน ที่ถูกลดชม.ทำงาน ให้บริษัทSMEs ..จ่ายประกันสังคมให้บริษัทและพนักงานเต็มจำนวน

ประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลจ่าย 50% ของเงินเดือนพนักงาน ให้SMEs เป็นระยะเวลา 9 เดือน



 

ยกตัวอย่างประเทศไม่ใช่มหาอำนาจอย่างแอฟริกาใต้ รัฐบาลยังมีการจัดการที่ดีกว่าในการเยียวยา SMEs เช่น โยบายในการลดภาษี10% สำหรับทั้งลูกจ้างSMEs และบริษัท, คืนเงินลดหย่อนภาษีก่อนกำหนด

นี่คือสิ่งที่ตอกย้ำว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างSMEs เพียงพอ ..การสั่งปิดกิจการ, ลดชั่วโมงการทำงาน, ล๊อคดาวน์บางพื้นที่ โดยที่ผู้ประกอบการยังคงจ่ายค่าเช่าที่ และเงินเดือนพนักงานเต็มเหนี่ยว แสดงถึงการไม่รับผิดชอบใดๆของรัฐ และผลักดันให้ภาระหนี้ทั้งหมดตกอยู่กับผู้ประกอบการ

ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องเรียกร้องให้เกิดการชดเชย เยียวยาอย่างจริงๆจังๆ ก่อนที่ SMEs..

จตกม. จริงๆ


Read More