อัพเวล SMEsไปอีกขั้น.. ด้วย "3M" ขับเคลื่อนแบบสตาร์ทอัพ ไปสู่ ”SMEs UP ⬆️”
◾ เกิดเป็นSMEs มันไม่ง่าย.. เล็กไปก็ตาย ขยายใหญ่ก็ตัน
◾ หลังวิกฤติการณ์ คาดว่าSMEsไทย จะล้มหายไปอีกกว่า 3แสนบริษัท
อยากรอดต้องปรับ ..อัพเวล SMEsไปอีกขั้น ด้วยวิธี "3M"
ขับเคลื่อนแบบสตาร์ทอัพ ไปสู่ ”SMEs UP ⬆️”
.
.
เริ่มกันที่ความความเชื่อผิดๆ
"สตาร์ทอัพ ต้องใช้เทคโนโลยีล้ำ"
.
.
ความเป็นจริงแล้วเมื่อถอดรหัสความสำเร็จ จากบริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่.. บทปฏิบัติที่สำคัญ คือการยกระดับเชิงกลยุทธมากกว่า ..บวกกับความคิดที่ รักการทดลอง, พร้อมจะเสี่ยง ..พร้อมที่จะล้มก่อน เพื่อที่จะลุกขึ้นเร็วกว่าใคร (Fail fast, Iterate quickly) และกลับมาอย่างผู้ชนะ
.
.
เทคโนโลยี เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกเท่านั้น เอาจริงแค่เทคโนโลยีรายล้อมเราในชีวิตประจำวันอย่าง โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้, ไลน์, อีเมล์ หรือ กูเกิลไดร์ฟต่างๆ แค่นี้ก็เกินพอ ...หรือธุรกิจใคร สามารถสร้างช่องทางขายทางchannel Shopee, Lazada, เว็บไซต์ส่วนตัว ยิ่งดีขึ้นไปอีก ...สำหรับการสลัดภาพSMEsธรรมดา สู่ SMEs UP ⬆️ ขั้นกว่า
.
.
...ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
ปรับ"3M" จะช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร?
Ⓜ️ Mindset ปรับแนวคิดใหม่
มันไม่สำคัญซักนิดว่าวันนี้คุณจะขายอะไร
เพราะคุณทำอาหารเก่ง?
เพราะอยากหารายได้เสริม
เพราะป้าต้อยตำน้ำพริกนัวมาก
เพราะรู้จักกับโรงงานผลิต
…
…
แต่สำคัญมากกว่าก็คือ...
เหตุผลอะไรที่สินค้าคุณควรมีอยู่ในตลาด
เพราะมันแก้ปัญหาให้ผู้ใช้?
.
.
จากเดิมที่SMEs เคยสนใจแค่ Profit Centric นับจากกำไรต่อชิ้นจากสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ แล้วรู้สึกมั้ยว่าทำไมมันตันๆ??? เพราะเจ้าของSMEsทุกคนดันคิดเหมือนกันหมด แข่งที่ราคาถูก... แข่งที่โปรโมชั่นกันรัวๆ
.
.
หากผู้ประกอบการลองเปลี่ยนเลนส์มอง ปรับMindset ... เริ่มโฟกัสที่ปัญหาจากกลุ่มลูกค้า, ผู้ใช้งาน (User Centric) และเสนอoffering ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เค้า เราจะได้มุมใหม่ๆในธุรกิจเดิมอย่างง่ายดาย
.
.
ยกตัวอย่าง ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าหนึ่ง ปกติคิดแค่ขายอาหารได้กำไรต่อชามที่ 40% จากราคาทุน... คิดไปเลยว่าขายเท่าไหร่ก็ได้ แต่ยังงัยร้านได้กำไรแน่ๆ 40% ...สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ร้านยืนนิ่ง รอให้ลูกค้าที่พร้อมซื้อเดินเข้ามา ในราคาที่ผู้กินรู้สึกว่ารสชาติ+ปริมาณ คุ้มกับราคาที่จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องSubjective หากพ่อครัวฝีมือดีหน่อย ปริมาณไม่น้อยเกินไป ...ก็มีแนวโน้มจะขายได้ดี
ไหนลองเปลี่ยนMindset แล้วมองที่ปัญหา คนที่มากินคืออยากได้รสสัมผัสอาหารญี่ปุ่น(1) ... ในราคาที่สมเหตุสมผล(2) ... และต้องทำให้อิ่มฟินในมื้อเดียว(3) ....หากร้านพิจารณาจาก Goal วัตถุประสงค์ที่ผู้กินต้องการจะค้นพบว่า
.
.
...แท้จริงแล้วรสชาติอาหารอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่กลุ่มtarget concernขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือ ประสบการณ์ที่ได้ทานอาหารญี่ปุ่น (แพคเกจจิ้งดีไซน์.. การแต่งหน้าอาหาร... ความสร้างสรรค์เมนูแบบญี่ปุ้นญี่ปุ่น..)
ราคาต้องFlexible มีเมนูทางเลือกที่จับต้องได้กับทุกคน Premium menu แพงหน่อย...
Standard Menu ราคาปกติ...
Valued menu ชุดสุดคุ้ม ...
.
.
การวางprice range หลากหลายจะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากกว่า เพราะราคาเดียวที่ทุกคนพอใจไม่มีอยู่จริง เพียงแต่เราต้องวางขึ้นมาเอง ให้ตอบสนองลูกค้าทุกคน
.
.
ข้อสุดท้าย คนกินต้องการความอิ่มฟินในมื้อ ..ก็คือเค้าต้องการการการันตีว่า มากินแล้วจบในมื้อ ไม่มีหิวโหยไปซื้อลูกชิ้นกินข้างทางต่อ ...หากร้านมองเห็นถึงจุดนี้และปรับให้ลูกค้า จะสามารถเพิ่ม Customer Satisfaction ความพึงพอใจกับลูกค้าได้มากโข
.
.
วิธีมีหลากหลาย อาจจะเป็นร้านเสนอเติมข้าวให้ไม่จำกัด ตราบใดที่ลุกค้าสั่งกับซึ่งถือเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นน้อยนิดมาก หรือ การเสนอทางเลือกแบบ All-You-Can-Eat บุฟเฟต์กินได้ไม่จำกัด ในราคาที่คำนวนมาว่าเหมาะ
.
.
ซึ่งบุฟเฟต์เป็นตัวอย่างที่ดีของ ร้านอาหารSMEsยุคแรก ที่เริ่มมีการใช้MindsetแบบStartup ปรับเปลี่ยน ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบสินค้าที่โดนใจผู้บริโภค... เกิดเป็นBusiness Modelใหม่ ตามที่จะกล่าวในบทต่อไป
.
.
Mindset ของสตาร์ทอัพนอกจากเกิดมาเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ใช้แล้ว อีกอย่างที่สำคัญมากคือ Fail fast, Iterate quickly ความคิดแบบ Agile System คือทุกอย่างเคลื่อนไปข้างด้วยสปีดที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอให้อะไรสมบูรณ์แบบก่อนค่อยทำ ไม่งั้นไม่ทันกิน
.
.
...เพราะยุคนี้คือยุคแห่งการทดลอง ที่ลูกค้าเองก็พร้อมจะเปิดใจลองอะไรใหม่ๆ ถ้าทำแล้วไม่เวิร์ค ก็แค่กลับลำ.. แล้วหาอะไรเริ่มใหม่จนกว่าจะเจอนั่นเอง
Ⓜ️ Model เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ
เมื่อรูปแบบธุรกิจที่ใช้อยู่ไม่เวิร์ค หรือไม่ทันสถานการณ์ ลองใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นแร่แปรธาตุอีกหน่อย..
หนึ่งในจุดที่SMEsตันที่สุด คือความคิดที่เราต้องจำกัดกับการขาย Asset Sale ซื้อมาขายไป แล้วได้กำไรต่อชิ้น จบ... โมเดลนี้กลายเป็นเรื่องมาตรฐานที่ทุกSMEsใช้ เป็นเหตุให้หลายบริษัทไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูด เพราะมีแค่กลไกลราคาที่สามารถแข่งขันกันได้
.
.
เชื่อมั้ยยังมี Business Model มีเป็น 10แบบบนโลก ที่ทำให้รูปแบบธุรกิจคุณดูโดดเด่น และมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ในขึ้นในสายตาผู้บริโภค เช่น
.
.
◾ Subscription Model
ระบบผูกปิ่นโตรายเดือน/ รายสัปดาห์ ใช้ได้ทั้งการสินค้าและบริการ
เช่น Netflix, เครือข่ายมือถือ
.
.
◾ Bundling Model
ระบบยำ ขายทุกอย่างเป็นเซ็ต เหมาะกับสินค้าที่ขายชิ้นเดียวแพง ขายรวมถูกกว่า หรือ อาจเป็นการอำนวยความสะดวกกับลูกค้าจบในที่เดียว
เช่น Makro, ร้านอาหารทำCatering, บริษัทรับเหมา, เอเจนซี่
.
.
◾ Freemium Model
โมเดลยอดฮิตในเกมออนไลน์ หรือแอปออนไลน์ต่างๆ ให้ใช้ฟรี
แต่เก็บตังเมื่อต้องการใช้งานทุกฟังค์ชั่น
เช่น Youtube, Spotify, ฟิตเนส ที่ให้ทดลองใช้ฟรี
.
.
◾ Hook & Bait Model
ระบบปลากินเหยื่อ ขายสินค้าตั้งต้นถูกก่อน เพื่อขายสินค้าชิ้นต่อไปในราคาแพงขึ้น
เช่น ด้ามมีดโกนหนวดถูก แต่ใบมีดแพง, ปรินท์เตอร์ถูก ตลับหมึกแพง
.
.
◾ Accessories Model
เป็นโมเดลการขายสินค้าที่หลากหลาย และเปลี่ยนบ่อย เพื่อเติมเต็มสินค้าหลัก
เช่น iPhone, Playstation, รถยนต์
.
.
◾ Leasing Model
โยกจากการขายขาดแบบ Asset Sale เป็นโมเดลให้เช่า แล้วเก็บค่าบริการ
เช่น อสังหาริมทรัพย์, เครื่องมืออุปกรณ์เช่ายืมต่างๆ
.
.
◾ Franchise Model
ข้อนี้คงเริ่มคุ้นๆหูคนไทย.. นี่คือการขายโมเดลธุรกิจ ให้ผู้สนใจไปทำต่อ มีหลากหลายรูปแบบ และแต่ตกลงตามสัญญา
เช่น 7-11, ร้านFast Food
.
.
นี่เป็นเพียง 7ตัวอย่าง.. ที่บริษัทเล็กๆสามารถลองปรับตัวเอง เพื่อลองใช้แนวทางโมเดลการทำเงินแบบอื่นได้
.
.
นอกจากนั้น สิ่งที่SMEs ควรรู้ก็คือสิ่งที่ตนเองขายอยู่ไม่ว่าสินค้า หรือบริการเค้าเรียกว่า Value Proposition... ความหมายคือเรากำลังเสนอขายเซ็ตValuesบางอย่าง สิ่งใดๆก็ตามแต่ ที่มีมูลค่าต่อใจลูกค้า
เพราะฉะนั้น ข้าวไม่ใช่ข้าว 1จาน แต่เรากำลังขาย 1อิ่ม/ 1อร่อย ให้ลูกค้า...
.
.
โรงแรม 1ห้อง ไม่ใช่โรงแรม 1ห้อง ...แต่คือการขายความสะดวกสบาย/ ประสบการณ์พักอาศัยนอกสถานที่ 24ชม.
.
.
ครีมบำรุง ไม่ใช่ครีมบำรุง 1กระปุก ...แต่คือการขายความพึงพอใจในการดูแลตัวเอง/ การยกระดับการดูแลสุขภาพผิวหนัง
.
.
หากพิจารณาแล้วว่าของที่เราขาย มันคือเซ็ตมูลค่าบางอย่างในใจลูกค้าเราสามารถ turn things around แก้เกมพลิกแพลงได้หมด
...จากร้านข้าวแกงธรรมดา สู่สตาร์ทอัพหนึ่งอิ่ม
ปรับโมเดล ด้วยการให้ลูกค้าจ่ายเงินflat rateแบบบุฟเฟต์กินสนองความอิ่มเค้า...
.
.
หรือ ปรับเป็นร้านที่ใช้โมเดล Subscription ผูกปิ่นโตข้าวแกง30วัน นำส่งความอิ่มถึงบ้าน
.
.
ลองมองโมเดลใหม่ๆ ว่าอันไหนที่เหมาะ จะสามารถพาบริษัทคุณไปยังที่หมายใหม่ ตลาดใหม่.. ที่คุณยังไม่เคยไป แล้วลองเริ่มดูซะ
Ⓜ️ Monitor รวบรวมข้อมูล
เชื่อมั้ยData หรือข้อมูลลูกค้า คือกุญแจสำคัญที่สุดของธุรกิจยุคใหม่..???
.
.
เพราะข้อมูลลูกค้าคือสะพานต่อยอดให้เกิด Growth ต่อเนื่องไม่รู้จบ อย่างที่บริษัทเทคหรือสตาร์ทอัพ อย่างพวกเฟสบุ๊คที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัว, พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์, รสนิยม จากไลฟ์สไตล์ การสะสมนี้ไม่ใช่ว่าเค้าจะสนใจอะไรผู้ใช้ขนาดนั้น เพียงแต่ต้องการดักเอาข้อมูลคุณทั้งหมด นำไปประเมินเพื่อเดาว่าคุณมีแนวโน้มจะใช้, จะซื้อ, จะตัดสินใจ แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปเร่ขายให้บริษัทอื่นๆ..
.
.
นอกจากนั้นการที่บริษัทนึง สามารถเก็บข้อมูลหลังการใช้งานว่าผู้ใช้แฮปปี้ หรือติดขัดมีปัญหาตรงไหน ข้อมูลนี้บริษัทสามารถนำกลับไปแก้ไขให้ดีขึ้น ในเฟิร์มแวร์ หรือ รุ่นใหม่ๆตต่อไป... ข้อมูลส่วนตัวลูกค้ายังมีประโยชน์ในแง่การเเพิ่มโอกาสการขาย เช่นเมื่อบริษัททราบช่องทางติดต่อ, วันเกิดของลูกค้า ...เมื่อต้องการโปรโมตโปรโมชั่น ทางบริษัทสามารถยิงตรงไปหาได้เลย
.
.
....หากคุณเป็นSMEs ที่ยังขายสินค้าแบบซื้อเสร็จแยกทางเราขอให้คุณเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่วันนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีซักนิดเดียว
.
.
...ร้านข้าวแกง สามารถรวบรวมfeedback อาหารใหม่แต่ละชนิดจากลูกค้า ด้วยการถามปากเปล่าก่อนออกจากร้าน ว่าถูกปากมั้ย? มีการรวมคะแนนrating แต่ละถาดเมนูกับข้าว ให้แม่คครัวรุ้ว่าอาหารไหนควรปรับ อะไรต้องทำเพิ่ม ..ส่วนลูกค้าคนอื่น เมื่อเห็นคะแนน ก็ช่วยให้ตัดสินใจเลือกเมนูได้ง่ายขึ้น
.
.
...เมื่อลูกค้าเข้าร้าน อย่าปล่อยให้หลุดมือ จัดการให้เค้าแอดไลน์ร้านเป็นเพื่อนกันไว้ แล้วให้ส่วนลด5บาท-10บาท อะไรก็ตามแต่
...ทีนี้ร้านข้าวคุณก็มีdataลูกค้า เมื่อต้องการโปรโมทเมนูใหม่, สาขาใหม่ หรืออยากให้คนสั่งเดลิเวอรี่ ก็สามารถทำได้เสร็จสรรพ
.
.
นี่แหละพลังของข้อมูลที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูล ที่ธุรกิจเล็กๆแบบไหนก็ทำได้เลย โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีใดๆ
.
.
แล้วคุณจะรออะไร อัพเวลเป็น SMEs UP ตั้งแต่วันนี้ ..เริ่ม!
คนละครึ่ง.. กับSMEดีมั้ย?
◾ รู้หรือไม่ เงิน2.25 แสนล้านบาท กำลังถูกละลายไป กับโครงการคนละครึ่ง เฟส3
◾ ขณะที่ 7.7 แสนบริษัทSMEsทั้งหมดในประเทศผู้เป็นกำลังหลักในการจ้างงาน.. กำลังถูกเมิน และปล่อยให้ตายช้าๆ
ถ้าคุณทำธุรกิจของตัวเอง ย่อมรู้ว่ามีได้..ต้องมีเสีย ..แต่สิ่งนึงที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเสียเป็นทุนเดิมเหมือนๆกัน ก็คือ “การจ้างงาน” เราในฐานะบริษัทนายจ้าง มีหน้าที่ดูแลสวัสดิการ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย ..วันนี้เมื่อมีวิกฤติ Covid 19 คนที่ได้รับผลกระทบที่สุด คงหนีไม่พ้นบริษัทSMEs อย่างเราๆ รายได้ที่หดไม่เหลือกำไร จากกิจการที่โดนปิดชั่วคราว, ลดเวลาทำการ, จำกัดประสิทธิภาพการทำงานแบบWork From Home ..แต่ฉะไหนรัฐบาลแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการ ”คนละครึ่ง” ให้เกิดการจับจ่ายซื้อสินค้าในกลุ่มชาวบ้านธรรมดา ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้คือ สามารถเร่งปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบแค่ชั่วคราว เน้นว่าชั่วคราวเท่านั้น.. ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งที่1, 2 แต่เป็นเฟส3 แบบหนังไตรภาคเข้าไปแล้ว
โดนบังคับWFH แต่ทำไมค่าน้ำ-ไฟจ่ายเต็ม.. แถมต้องปวดหัวเลี้ยงลูก
สิ่งที่รัฐบาลควรทำยิ่งกว่าในเฟสนี้ คือต่อลมหายใจให้กับบริษัทSME ซึ่งเป็นนายจ้างของระบบเศรษฐกิจมหภาคที่แท้ทรู มีการจ้างงานกว่า 12 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.2 ของการจ้างงานทั้งประเทศ ..เปิดโอกาสให้เค้ายังสามารถจ่ายเงินเดือนลูกจ้างต่อไปได้ ..นั่นคือทางออกของเรื่องราวทั้งหมด ผมเชื่อว่า หากเกิดการเยียวยาผิดที่ อีกไม่เกิน2เดือน SMEsกว่า 3 แสนรายจะประสบวิกฤติ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้.. นี่คือเรื่องใหญ่ ที่จะส่งเอฟเฟ็คสะเทือนไปทั้งระบบเศรษฐกิจ
โครงการ ”คนละครึ่ง” ที่แท้ทรู ควรเป็น..
◾SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง หารสองเงินเดือนพนักงาน เป็นระยะเวลา3เดือน
◾SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าประกันสังคมของพนักงาน ตลอด1ปี
◾SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าน้ำ/ค่าไฟของบริษัท ตลอดช่วงเวลาวิกฤติการณ์
สก็อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ออกมาตรการจ่ายเงินเดือนพนักงาน50% ช่วยSMEsทั่วประเทศ ยาวถึง 9เดือน
รัฐบาลอเมริกา มีโครงการ”HELP WITH BILLS” ช่วยSMEsหลายบริษัทเช่น เรื่องลดค่าเช่าที่, ลดค่าไฟค่าฮีตเตอร์, ค่าหมอ
..ดังนั้นหากมีการตั้งคำถามจริงๆว่า รัฐบาลใช้งบประมาณจากพรก.เงินกู้Covid ทั้งหมด 1ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการฝืดเคืองเศรษฐกิจ.. หรือแท้ที่จริง โครงการเหล่านั้นก็แค่ “ประชานิยมแกนด้า” เพื่อซื้อคะแนนความนิยมจากประชาชนผู้รับสิทธิจำนวน 51ล้านคนทั่วประเทศ เท่านั้นเอง?
แฟร์ๆดินาย
จ่าย..คนละครึ่งกับSMEs !