ยืนไว้อาลัย 10ปี"รถคันแรก"... ดันนโยบาย"ธุรกิจแรก" กระตุ้นเศรษฐกิจคนตัวเล็ก
หลายทศวรรษ หลากรัฐบาล... ยังแก้ไม่หาย เรื่องการเอื้อกลุ่มทุนจากภาครัฐ หนุนไปสู่การผูกขาดในอุตสาหกรรม เป็นกันมาทุกยุค... ซึ่งไม่รู้วงจรอุบาทนี้ จะไปสุดหยุดตรงไหน ...หลายท่านโวยผม ทำไมไปซักไซร้ เอาความจริงมาซัดใส่กลุ่มทุนอย่าง ซีพี บริษัทเดียว.. บอกได้ตรงนี้ ไม่ว่ากลุ่มธุรกิจอะไร - สัญชาติไหน ถ้าสิ่งที่เค้าทำนำไปสู่การผูกขาด ซึ่งทำให้การต่อสู้ในระบบเสรีทุนนิยมไม่เป็นธรรม เราประชาชนมีสิทธิพูด-วิพากษ์ ยืนหยัดต่อสู้กับระบบนี้อย่างเต็มที่
.
.
..ครบรอบ10ปีพอดี... ทำให้ผมนึกถึงนโยบายจากรัฐบาล ที่ออกเมื่อปี2554 ที่ออกจะดูไร้เหตุผล และเอื้อหนุนกลุ่มทุนใดทุนหนึ่ง อย่างน่าเกลียด คือโครงการ " รถคันแรก" โดยรัฐบาลในสมัยนั้น โดยให้เหตุผลว่าเพราะเกิดวิกฤติน้ำท่วมหนัก ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์(ญี่ปุ่น)ในไทย เสียหาย
.
.
เป็นอีกหนึ่งอภิมหาโครงการประชานิยม ที่อาจไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำอีกแล้ว สำหรับการซื้อรถยนต์แล้วสามารถนำไปขอคืนภาษีกับกรมสรรพาสามิตได้สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท ...นโยบายดังกล่าวดูแล้วนอกจากเป็นการเอื้อประโยชน์กับนายทุนแบบโจ่งแจ้งแล้ว ยังสร้างนิสัยฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ให้กับประชาชน เพราะตอนนั้นขนาดพนักงานรายได้ต่ำ อย่างพนักงานรับจ้างรายวัน ยังถอยรถป้ายแดงกันออกมาไม่หยุดหย่อน.. นี่ยังไม่นับเรื่องปัญหาทางสังคมทำรถติดยับๆ ในเมืองแทบอัมพาต และก่อให้ควันดำเพิ่มมลพิษ ให้สิ่งแวดล้อม ทั้งๆที่ทั้งโลกเค้ารณรงค์กันโครมๆ
.
.
สิริรวมโครงการ "รถคันแรก" จาก16 กย 2554 - 31 ธ.ค. 2555 ...มียอดรวมรถคันแรกที่ขอคืนภาษีทั้งสิ้น 1.255 ล้านคัน คิดเป็นเงินที่รัฐบาลต้องคืนภาษีรวม 9.1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงแรก 3 หมื่นล้านบาทถึง 3 เท่าตัว ...จนทำให้การจ่ายเงินคืนภาษี ของกรมสรรพาสามิตมีปัญหาฝืดเคืองขึ้นมาเลย
.
.
ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม... นโยบายรถคันแรก โดยท่านรมว.กระทรวงคมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ...ทำให้ตัวเลขรายได้รวมของกลุ่มไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำในเอเชีย (สินทรัพย์ตระกูล จึงรุ่งเรืองกิจ) เติบโตสูงสุดที่ 7.5 หมื่นล้านบาทในปี 2555 ในปีที่ธุกิจภาคส่วนอื่นล้มลุกคลุกคลาน ส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 2.4 ล้านคัน... ทั้งที่ตัวเลขผลิตรถยนต์เฉลี่ยต่อปี ได้เพียง 1ล้านกว่ามาตลอด (ยกเว้นปี61 ที่ผลิตได้2.1ล้านคัน/ปี) และตัวเลขก็ไม่เคยมาแตะที่ 2.4ล้าน จนถึงปัจจุบัน
.
.
ทำไมเราไม่คำนึงถึงคนส่วนใหญ่
ทำไมถึงสนับสนุน"รถคันแรก" เพื่อบริษัทรถญี่ปุ่น เพื่อกลุ่มทุนขายอะไหล่
ทำไมบอกเท่าเทียม แต่ไม่เท่ากัน ..ในเมื่อทุกอุตสาหกรรม ต่างก็เจ็บตัวทั้งนั้น
...โครงการดีๆ ที่เอื้อกลุ่มทุนเล็กๆ คนธรรมดาที่มีความสามารถ มีบ้างมั้ย...?
นี่เลย
.
.
💼 โครงการ "ธุรกิจแรก" (First Firm) ที่ส่งเสริมSMEs - สตาร์ทอัพ
ทำให้ทุกคนในประเทศไทย มีสิทธิมีเสียง สามารถเป็นผู้ประกอบการเริ่มแรก โดยใช้มาตราฐานแบบSandbox Mode คือ ภายใต้สภาพที่ ผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถลองผิดลองถูกได้... ไม่ใช่มาถึงเจอการเก็บภาษี และสงครามกีดกันจากเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่แบบชุดใหญ่ไฟพริบตั้งแต่แรกเริ่ม
.
.
ยกตัวอย่าง เมื่อเข้าโครงการ "ธุรกิจแรก"
◾ ยกเว้นฐานภาษี 1ปี และทะยอยเก็บเพิ่มปีหน้า
◾ รัฐเป็น Incubator ตัวกลางบ่มเพาะธุรกิจ แบบที่เมืองนอกเค้ามีกัน
ใช้หน่วยงานที่มีอย่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรมส่งเสริมการส่งออก, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมส่งเสริมการเกษตร หรือแม้กระทั้งศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC และ สำนักนวัตกรรม NIA ช่วยเหลือผู้ประกอบการ
◾ ให้ความรู้เบื้องต้นเมื่อเริ่มทำธุรกิจ - การคิดภาษี - การหาแรงงาน - ให้ข้อมูลโรงงานและแหล่งผลิต
.
.
ข้อดี
◾ ส่งเสริมให้ธุรกิจใหม่ไปให้รอดในระยะยาว เพราะตามสถิติ หากธุรกิจใหม่สามารถดำรงผ่านปีแรก มีแนวโน้มเกิน 70% ที่จะอยู่รอดปลอดภัยตลอดอีก 5ปีข้างหน้า ..เป็นการสร้างความเจริญแบบยั่งยืนจากกลุ่มธุรกิจเล็ก - ขนาดกลาง ซึ่งเป็นเส้นเลือดฝอยหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ
◾ สามารถจูงใจ ให้ทุกธุรกิจย่อยๆที่ยังไม่อยู่ในระบบ ให้เข้ามาอยู่ในระบบจัดเก็บภาษีของรัฐได้.. ทั้งร้านเล็กๆตามอินสตาแกรม, ไลน์, เฟสบุ๊ค หรือ กลุ่มคนรับฟรีแลนซ์อิสระก็ตาม
สิ่งที่รัฐต้องปรับมากที่สุดที่สุด ก็คือ Mindset (มโนคติ)ใหม่: รัฐต้องทำหน้าที่เหมือนเป็นเซลล์แมน ให้มอง ภาษีเงินได้ 20% ที่เก็บจากบริษัททั่วไป กลายเป็นเหมือนเป็นค่าคอมมิชชั่น... รัฐสนับสนุนให้เค้าอยู่รอดก่อนในปีแรก.. มีกำไรเยอะ ตัวเองจึงจะเก็บภาษีได้เยอะ.. ไม่ใช่แค่ปล่อยให้ตาย ภาษีเก็บไม่ได้ และไม่มีใครได้อะไร
.
.