ใช้"อักษร"แก้สับสน.. เลือกตั้งระบบ 2เบอร์ 2ใบ ✖

สำหรับการเลือกตั้ง กทม.ครั้งนี้ ที่จะเลือกกัน 22 พ.ค. ที่คนกรุงเทพฯ รอคอยมายาวนาน หลังเลือกตั้งผู้ว่าฯ เมืองหลวงครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2556 หรือเมื่อเกือบ 9 ปีที่แล้ว ขณะที่การเลือกตั้ง ส.ก. ยิ่งนานกว่านั้น ร่วม 12 ปี (ไม่นับรวมเลือกตั้งซ่อม ส.ก.)



แต่ความ(งง)พิเศษของการเลือกรอบนี้ เป็นการเลือกแบบ 2ใบ 2เบอร์ ผิดกับรอบก่อนๆ.. ที่อาจสร้างความสับสนอลหม่านที่อาจเกิดขึ้นกับปชช. เพราะผู้สมัครผู้ว่าก็เบอร์นึง ..ผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพ ก็อีกเบอร์นึง



จากป้ายหาเสียงนับพัน บนท้องถนน.. เห็นแล้วก็หนักใจแทนคนกรุง ต้องจำ2เลข - จำ2ผู้สมัคร - จำสีบัตร2ใบ สีน้ำตาล และสีชมพู.. ซึ่งต้องลุ้นว่าจะกาผิดกาถูกกันขนาดไหน ซึ่งความผิดพลาด Human error สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด เมื่อกาจริงในคูหา

.

.

แน่นอนสำหรับคอการเมือง ท่านคงจำคนที่ท่านเล็งไว้จะเลือกขึ้นใจ ไม่มีปัญหา.. แต่สำหรับชาวกรุงเทพอีกจำนวนมาก ที่เค้าทำงานอย่างเร่งรีบ และไม่ได้ให้เวลากับเรื่องการเมืองนัก หลายคนยังไม่ทราบว่ามี การเลือกสก. ควบคู่กับผู้ว่ากทม.ในรอบนี้ด้วยซ้ำ

.

.

วิธีแก้ในมิติทาง Communication Design เบอร์ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ทั้ง2บทบาท ควรปรับเป็นเป็นการใช้ 2ตัวแปรแทนที่ คือ



◼️ ใช้ตัวอักษร (ก-ฮ) แทนที่ สำหรับรหัสผู้สมัครผู้ว่ากทม



เช่น ก. วิโรจน์ / ข. สกลธี / ค. สุชัชวีร์ / ง. อัศวิน/ จ. ชัชชาติ เป็นต้น



◼️ ใช้ตัวเลข (1-99) สำหรับผู้สมัครสก.แต่ละเขต



เช่น 1. ผู้สมัครสก.คนที่หนึ่ง / 2. ผู้สมัครสก.คนที่สอง / 3. ผู้สมัครสก.คนที่สาม เป็นต้น



ซึ่งการใช้ 2ตัวแปรง่ายๆ สามารถลดความสับสนจากการสื่อสาร ซึ่งหลักๆเกิดจากการที่ใช้"ตัวเลข"เป็นสัญลักษณ์ เพียงอย่างเดียว

.

.

ไม่เชื่อ รอดูตัวเลขจากผลเลือกตั้งที่จะผิดเพี้ยนหน่อยๆ เราจะเห็นเลยว่า จะมีผลเลือกตั้งที่สับสนตามมา ตัวเลขคะแนนเสียงเบอร์ 1, 4, 6, 8 ที่มีความนิยมจากตัวผู้สมัครผู้ว่ากทม. จะไหลไปยังผู้สมัครสก. หมายเลขดังกล่าว(คนละพรรค)โดยไม่ตั้งใจ ..เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะในเกือบทุกเขต

.

.

ถ้าไม่ทันในรอบนี้ กกต. ก็ควรพิจารณาใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับ สนามเลือกตั้งใหญ่รอบหน้า ในศึกเลือกตั้งสส. ที่ใช้ระบบ 2เบอร์ 2ใบ แบบเเดียวกัน ..ปรับให้การเลือกคะแนนนิยมพรรค ปาร์ตี้ลิสต์ เป็น (ก-ฮ) และผู้สมัครสส. เป็น(1-99)



จะได้ไม่ผลักภาระการจำ ให้อยู่กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพียงฝ่ายเดียว และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเลือกผู้แทน ไม่ให้เกิดคะแนนเสียโดยไม่ตั้งใจอีกด้วย