ถอดรหัส เปลวเพลิงรีสอร์ทหรู #เกาะกูด 🏝️🔥

อัคคีภัย และสิ่งปลูกสร้าง เป็นของแสลงซึ่งกันละกัน มานมนาน... ซึ่งในทางกฎหมายสิ่งปลูกสร้างอาคาร ก็มีข้อบังคับเรื่องกันไฟไหม้อย่างเข้มงวด ไม่ว่าตึกแถว, บ้านแฝด, อาคารพานิชย์เล็กๆ ..แต่เหตุใดโรงแรมระดับ 6ดาว คืนละหลายแสนบาท ที่เกาะกูด จึงถูกเพลิงไหม้เป็นจุล โดยที่ผู้พักอาศัย ไม่ได้ยินสัญญานเตือนภัยใดๆ.. เคราะห์ดีที่ไม่มีใคร ได้รับอันตรายรุนแรง

.

.

ปัญหาเรื่องนี้ที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าต้องมีขั้นตอนการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ต่อไป ว่ามีความผิดพลาดจากส่วนไหน ไม่ว่าเป็นฝ่ายวิศวกรผู้ดูแลงานระบบ M&E, สถาปนิกผู้เซ็นต์แบบก่อสร้าง, สำนักงานเทศบาลในพื้นที่ ที่เซ็นต์อนุมัติ ..รวมไปถึงเจ้าของโครงการเอง ...ใครผิด ก็ว่าไปตามกระบวนการนะครับ

.

.

วันนี้เรามาดูสิ่งที่เป็นข้อเรียนรู้ และแนวทางแก้ไข จากเหตุอัคคีภัยที่เกิดขึ้น


#1: ว่าด้วยเรื่องวัสดุทนไฟ


รู้มั้ยครับ กฎหมายอาคาร หมวดที่2.1 เรื่องวัสดุของอาคาร (จากกรมโยธาธิการและผังเมือง) ข้อที่ 15 ว่าไว้ว่า.. หากเป็นอาคารโรงแรม "เสา, คาน, พื้น, บันได ต้องทำด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟด้วย" ...ข้อนี้ตัวรีสอร์ททำจากไม้แทบทั้งหลัง ซึ่งไม้เป็นวัสดุติดไฟง่ายอยู่แล้ว ..จึงน่าคิดว่าสามารถผ่านการอนุมัติมาอย่างไร?

.

เพิ่มเติมอีกหน่อย.. คำว่า "วัสดุทนไฟ" ของกฎอาคารไทย นิยามไว้คร่าวๆมากว่า "วัสดุก่อสร้างที่ไม่เป็นเชื้อเพลิง" ...ซึ่งแท้จริงแล้วควรเขียนให้ครอบคลุมในเชิงวิทยาศาสตร์กว่านี้ ว่าวัสดุที่เข้าเกณฑ์ ควรมีค่าสัมประสิทธิ์อิงจากมาตราฐานสากลอยู่ที่เท่าไหร่

.

.

#2: ว่าด้วยเรื่องระบบเตือนอัคคีภัย


หากอาคารใดที่มีพื้นที่ใช้สอยเกินกว่า 2,000ตร.ม. ตามข้อบังคับข้อที่5 ต้องมีระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัยทุกชั้น.. และตามข้อ 6.1 บอกไว้ชัดว่า อุปกรณ์ส่งสัญญานเตือนภัยต้องส่งเสียง หรือสัญญาณให้คนในตัวอาคารได้ยิน โดยทั่วถึง

.

เอาล่ะตัวอาคารนี้ พื้นที่ใช้สอยอาจไม่ถึง 2พันตร.ม.ดี แต่ถ้าพิจารณาจากความเป็นสถานประกอบการโรงแรม การติดตั้งสัญญาณอัคคีภัยเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ยิ่งกับอาคารโครงสร้างไม้แทบทั้งหลังแบบนี้...

.

นอกจากติดตั้งแล้ว การเช็คสภาพ ซ้อมหนีไฟทุกปี ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำเข้มงวด แม้ในช่วงโควิด ที่หลายโรงแรมอาจซึมเซา จนอาจหย่อนยานเรื่องการตรวจสอบระบบเหล่านี้...

.

.

#3: ว่าด้วยแนวทางการส่งเสริม


เรื่องนโยบายการส่งเสริมการใช้วัสดุทนไฟ ในหลายประเทศจริงจังกว่าเรามาก.. อย่างประเทศแคนนาดา มีการผลิต“Fire-retardant treated wood” (FRTW) สารเคลือบผิวไม้ ที่ลดการลามของเปลวเพลิง (ดัชนีต่ำกว่า 25) และลดจำนวนควันเมื่อเกิดการเผาไหม้

.

หรือประเทศในแถบแสกนดิเนเวีย ที่เอื้อให้มีป่าปลูกไม้ที่ทนไฟ ได้ดี อย่างมาฮอคกานี, เมเปิ้ล และวอลนัท และเพิ่มเทคโนโลยีดัดแปลงให้เพิ่มคุณสมบัติตต่างๆที่อุตสาหกรรมอื่นๆต้องการใช้งาน เช่น ทนความชื้น ทนแมลง เป็นต้น

.

ประเทศไทยควรส่งเสริม-สนับสนุน แนวทางการสร้างวัสดุทนไฟจากธรรมชาติแบบนี้ และใส่วิทยาการ เพื่อใช้ในงานก่อสร้างในประเทศ ที่ปลอดภัยขึ้น และยังเป็นการสร้างโอกาสทางการค้า ในอุตสาหกรรมสิ่งก่อสร้าง ในระดับสากล

.

.

ทุกเหตุการณ์หากเราเรียนรู้ และแก้ไข


เอากรณีศึกษาไปปรับใช้ เป็นโอกาสได้เสมอ


อย่าให้วัวหายล้อมคอก.. ไฟคลอกรีสอร์ทฟรีๆ อีกเลย

Previous
Previous

"เจอ ไม่แจก จบ" ...ผู้ป่วยสูงวัย ต้องได้รับยาโดยไว!

Next
Next

ยากรูอยู่ไหน?? ...บั๊คในระบบ Home Isolation