ปัญหาหมู ที่ไม่หมู.. รัฐรู้เรื่องป่ะ??
◾ 72% คือ ราคาหมูที่พุ่งกระฉูดขึ้น ภายใน 2ปี... นี่ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นแน่ครับ ใครก็รู้เนื้อหมูเป็นเนื้อสัตว์พื้นฐานยอดฮิต ที่บริโภคกันมากที่สุดชนิดนึงในประเทศ ..ตามที่ได้เคยเขียนบทความเรื่องการแก้ปัญหา เนื้อหมูราคาแพงอาจนำมาซึ่งปัญหา "เงินเฟ้อ" อันใกล้นี้
.
.
ไม่รอช้า วันนี้ผมสบโอกาสลงพื้นที่ ที่ตลาดคลองเตย เพื่อสำรวจราคาเนื้อสัตว์ที่เป็นปัญหา ..พบว่าราคาเนื้อหมูส่วนใหญ่แขวนป้าย ราคา 170.-/กก. ซึ่งถูกลงมาก จากราคาคุ้นตาที่เราเห็นในอินเตอร์เน็ต ที่215บาท/กก. ...ราคามันดีขึ้นแล้วหรือไร???
.
.
เมื่อสอบถามพี่น้องแม่ค้าทั้งหลาย จึงพึ่งทราบว่า ที่วางอยู่เนี่ยะ เป็นหมูที่เรียกว่า "หมูโรงงาน" ..เชื่อว่าหลายท่านคงไม่ชินกับศัพท์เฉพาะแบบนี้.. "หมูโรงงาน" เอาซื่อๆเลยก็คือหมูที่ผ่านกระบวนการแช่แข็งมา ผลิตโดยโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ ..จึงมีราคาที่ถูกกว่า
.
.
ขณะที่หมูปกติที่ขายที่ตลาดนั้นเรียกว่า "หมูเขียง" คือหมูที่ผ่านการเชือดจากโรงฆ่าวันนั้นเลย แล้วขึ้นเขียง ชำแหละขายแบบสดๆ มีคุณภาพและความสดที่มากกว่า ..จึงมีราคาสูงกว่า
.
.
แม่ค้าหลายคนตัดพ้อ ว่าสาเหตุที่ต้องเอา "หมูโรงงาน" มาขายแทน "หมูเขียง" ในตลาดสด นั้นเป็นเพราะปัจจัยเรื่องราคา... คนซื้อเมื่อเห็นหมูที่แผงราคา 200กว่าบาทก็มีแต่ตกใจ และซื้อไม่ลง ทำให้ขายไม่ออกแทบทั้งวัน ...ทำให้แผงแม่ค้าส่วนใหญ่ ต้องจำใจเอาหมูโรงงาน ที่ราคาถูกลงมา( เหลือที่ 170.-/กก) มาวางแทน
.
.
ขณะที่หลายร้าน พยายามแก้ปัญหาหมูแพง แบบเฉพาะหน้าให้ผู้ซื้อ เช่น หมูสับปกติ อยู่ที่ 140.-/กก ..เอามาทำเป็น หมูสับผสมไก่สับ ราคาลงมาอยู่ที่ 70.-/กก. ..วิธีการแก้แบบนี้ ผมเห็นว่าไม่เลวที่ทำให้ผู้ซื้อ มีทางเลือกที่ถูกลงมา.. แต่ร้านค้าควรติดแสดงป้ายเขียนชัดเจน (หลายร้านไม่ได้ระบุ ว่ามีไก่ผสมอยู่) วานกรมการค้าภายในหมั่นตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ซื้อ-ผู้ขายไม่มีปัญหาภายหลัง
.
.
ฝากไปที่รัฐบาล และกระทรวงพานิชย์ ต้องเร่งแก้ปัญหาระยะสั้น ด้วยการนำเข้าเนื้อสุกร (เช่น จากประเทศ อินโด, มาเล ที่ราคาถูก และไทยเคยนำเข้าเมื่อหลายปีก่อน) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนกับผู้บริโภคโดยด่วน.. และแก้ระยะยาว ด้วยการส่งเสริมการผลิตให้ผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย มีบทบาทมากขึ้น ลดการผูกขาด จากยักษ์ใหญ่ที่มีอิทธิพลเหนือตลาดมากเกินไป
.
.