หมูฝืด เป๋าตังแฟบ... แปปๆเงินจะเฟ้อ? #inflation2022
ราคาสุกรที่พุ่งสูงโหม่งโลก ที่กิโลละกว่า 200บาท ..อาจทำให้แม่บ้าน-แม่ค้า ขยาดไม่กล้าหยิบเข้าตระกร้าจ่ายตลาดไปอีกนาน ...จริงอยู่ปัญหาหมูฝืด เกิดจากปัจจัยภายนอก อย่างโรคอหิวาเนื้อหมูจากแอฟริกา (African Swine Fever)
.
.
..แต่หากรัฐไม่สามารถสกัดราคาที่พุ่งเกินจริง ของสินค้าพื้นฐานเหล่านี้ได้ ..มันจะมีผลลุกลามไปทั่วทุกส่วน เมื่อหมูแพง, ไก่ก็จะแพงขึ้น เพราะคนแห่มาซื้อเพิ่ม พาลให้ราคาแผงไข่ไก่ก็สูงไปด้วย ... หลังจากนั้นราคาอาหารต่อจาน ทุกร้านก็จะขยับตามราคาทุนที่เค้าต้องแบกรับ อย่างที่ร้านสุกี้เจ้าดัง เพิ่งประกาศขึ้นราคาเมื่อต้นปี
.
.
ภาวะที่ราคาอุปโภค-บริโภคพื้นฐานแพงขึ้นทั้งหมด ภายใต้สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับเท่าเดิม.. ทำให้เงินในกระเเป๋าตังทุกท่าน กำลังถูกด้อยค่าลง ..บรรยากาศนี้แหละครับ "ภาวะเงินเฟ้อ" จากที่เราเคยซื้อข้าวแกงจานละ25..- พิเศษ30.- เมื่อปี2552 กลายปีข้าวแกงจานละ 40-50 ในปี 2558 ....ไม่รู้เมื่อเงินเฟ้อก่อตัวรอบนี้ ราคาข้าวแกง จะไปจบที่เท่าไหร่เมื่อสิ้นปี 2565
.
.
แน่นอนไม่เคยมีบทความไหนผมเขียนวิจารณ์ โดยไม่มีข้อเสนอแนะ ..สิ่งที่รัฐ + กระทรวงพานิชย์ ควรแก้เกมโดยด่วน ทั้งการแก้ระยะสั้น ในระดับผู้บริโภค และการแก้ระยะยาว ระดับอุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อสัตว์..
◼️ แก้เกมระยะสั้น
✔️ นำเข้า เพื่อบรรเทา
นำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ ประเทศรอบข้างที่เป็นนักบริโภคหมูอย่างจีน เชื่อมั้ยครับ เค้าเลี้ยงหมูเองได้เยอะ เป็นระดับต้นๆในโลก แต่ก็ยังเป็นผู้นำเข้าเนื้อหมูอันดับหนึ่งในโลก เพื่อตอบความต้องการบริโภคของประชากรในประเทศจีน ที่นิยมกินหมู ...ประเทศไทยควรพิจารณา แก้ปัญหาระยะสั้นด้วยการนำเข้า เนื้อหมูจากประเทศที่ราคาต่อกิโลถูกกว่าเรา อย่างประเทศอินเดีย (ราคาเนื้อหมูอยู่ที่ 99บาท/กิโล) เพื่อนำมาตั้งจุดขายให้ผู้บริโภคไทย และเพื่อกดดันบริษัทผู้ผลิตสุกรใหญ่ในประเทศไทย ให้ต้องลดราคาขายลงมา
แต่ข้อควรระวังสำคัญ คือปริมาณที่นำเข้าและกรอบเวลาต้องจำกัด ..จำกัดอยู่ในปริมาณที่ใช้บริโภคพอดี ไม่ล้นตลาด และไม่ทำให้ราคาหมูไทยเองตกลงในระยะยาว
◾ แก้เกมระยะยาว
✔️ ลดอำนาจยักษ์ใหญ่ในประเทศ
ลดอำนาจของผู้ผลิตสุกรยักษ์ใหญ่ในประเทศ ที่มีอยู่ไม่กี่ราย แต่มีอิทธิพลในการกำหนดราคาหมูในประเทศแบบเบ็ดเตล็ด เพราะกลุ่มบริษัทเครืออย่าง ซีพี หรือ เบทาโกร และเจ้าใหญ่อื่นๆ มีกำลังผลิตรวมกันทั้งหมดเกือบ 70% ของปริมาณเนื้อหมูในประเทศ ...เรื่องนี้ไม่ใช่แค่ปัญหาในประเทศไทย ในประเทศอเมริกาก็กำลังมีประเด็นเช่นนี้ เมื่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตเนื้อวัว-เนื้อหมู 82% ตกอยู่ในการผูกขาดของ บริษัทยักษ์ใหญ่เพียง 4เจ้า คือ JBS SA, Cargill, National Beef และ Tyson Foods Inc.
ซึ่งรัฐบาลสหรัฐ เค้าเพ่งเล็ง เช็คราคาขายเนื้อหมู-เนื้อวัวของแก๊งนี้อย่างหนัก ..มีการลดเงินกู้ไม่ให้ขยายฐานผลิตไปมากกว่านี้ ..และส่งเสริมให้ขายแบบส่งออกนอกประเทศ มากกว่าขายในประเทศอีกด้วย
.
.
✔️ ขยับรายย่อยให้มีบทบาท
ทางกลับกันกับผู้ผลิตรายใหญ่ อย่างCP, เบทาโกร... รัฐควรต้องช่วยอุ้ม ผู้ผลิตเนื้อสุกรรายย่อย ที่มีกำลังผลิตรวมประมาณ 30%ของเนื้อสุกรทั่วประเทศ ..เมื่อเกิดภาวะโรคระบาดหมู ASF ไม่ว่าด้วยการสนับสนุนทางเทคโนโลยี, ทางการปศุสัตว์แพทย์, การสนับสนุนลดหย่อนภาษี หรือการเข้าถึงแหล่งเงินกู้รัฐบาล ...เพื่อให้ผู้เลี้ยงรายเล็กที่ประสบปัญหา สัตว์ตายยกคอก สามารถขอรับความช่วยเหลือจากเรื่องเหล่านี้ได้ มีเจ้าหน้าปศุสัตว์ช่วยมาฉีดยาสัตว์ ให้ความรู้ ..สามารถเขียนโครงการ ขอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารรัฐในโคครงการ เพื่อนำเงินไปลงทุนเลี้ยงสัตว์คอกใหม่ ให้เค้าเริ่มต้นใหม่ได้
การสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อย ให้มีปากมีเสียง จะช่วยทำให้รายเนื้อหมู-เนื้อสัตว์อื่น ไม่พุ่งกระฉูด ไปตามแรงเร้าจากเจ้าใหญ่... ผลักดันผู้ผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ในประเทศ ให้เพิ่มการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น เพื่อความสมดุลย์ในอุตสาหกรรมระยะยาว
.
.