รู้จักกับ "ชาวสแลช" ..เมื่อเส้นแบ่งอาชีพ ไม่ได้มีเพียงหนึ่งเดียว
เริ่มมาจากการปฏิวัติเทคโนโลยีในรอบ 20ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้มนุษย์เราทำงานหลายอย่างได้พร้อมๆ ในเวลาเดียวกัน (Multitasking) ...แน่นอนย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการดำรงชีวิตของมนุษย์ในเมือง เปลี่ยน ผู้คนรุ่นใหม่สามารถทำอาชีพหลัก ไปพร้อมกับบทบาทอาชีพรองต่างๆ ทำไปด้วยกันได้
.
.
มีมูฟเม้นต์แบบนี้ ที่ไต้หวัน, ฮ่องกง ที่เค้าเรียกประชากรกลุ่มนี้ว่า "ชาวสแลช" นี่ไม่ใช่แฟนคลับของ สแลช มือกีต้าร์วงGun n' Roses วงร๊อคชื่อดังยุค 90'sแต่อย่างใด แต่คือ "เครื่องหมายแสลช ( / )" ที่ภาษาไทยเรียกง่ายๆว่า "เครื่องหมายทับ"
.
.
เป็นเครื่องหมายแทนว่า คนยุคนี้ไม่ได้มีอาชีพเดียว - หน้าที่เดียว หรือ บทบาทเดียว อีกต่อไปแล้ว ตัวอย่างเช่น
◼️ พงศ์ธร: นักมวยไทย/ คนขับGrab/ รับจ้างซ่อมไฟ
◼️ รวิสา: พนักงานต้อนรับ/ ตัวแทนประกัน/ ขายอาหารเสริมออนไลน์
◼️ พรพรรรณ: นักศึกษา/ ขายเสื้อออนไลน์/ Youtuberรีวิวที่ท่องเที่ยว
.
.
ข้อดีของการ เป็นชาวสแลช นอกจากเรื่องการมีรายได้เสริม เพิ่มเติมจากช่องทางหลักแล้ว... ส่วนสำคัญมากๆอีก ยังเป็นการ Self-Fullfilment เติมเต็มความฝัน-ความทะเยอทะยานส่วนตัว ของเจ้าตัวเอง... ต้องยอมรับว่าหลายคน ทำอาชีพหลักเพื่อที่จะหารายได้เลี้ยงดูตัวเอง และครอบครัว (Do it for living) แต่งานที่เค้าชอบ หรือสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข ..ดันไม่เคยมีเวลาให้ทำ ไม่มีสนามให้ลอง
.
.
ตัวอย่างเรื่องเติมเต็มความสุขตัวเอง ทำให้ผมนึกถึงพี่ ‘เอก–พิชัย แก้ววิชิต’ คนขับมอไซค์วิน ที่ส่งผู้โดยสารหาเลี้ยงชีพ ระหว่างวันก็คอยตะเวณหาสถานที่ใหม่ๆ ที่ตัวเองจะได้โชว์บทบาทตากล้อง ถ่ายภาพสไตล์มินิมอลที่ตนเองชอบ เก็บลงไว้ใน instagramส่วนตัวทุกๆวัน (@phichaikeawvichit)
.
.
งานถ่ายภาพของพี่เอก โด่งดังเป็นพลุแตกในที่สุด จนได้แสดงผลงานในแกลเลอรี ร่วมงานกับแบรนด์สตรีทระดับโลกอย่าง Atmos และ Nike ...เรื่องราวของพี่เอก อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายคน เมื่อครั้งนึงแกได้ให้สัมภาษณ์อย่างมีพลังไว้ว่า "ขับวินเพื่อเลี้ยงชีพ ถ่ายรูปเพื่อเลี้ยงจิตวิญญาณ"
.
.
ไม่จำเป็นว่าทุกคนต้องสำเร็จยิ่งใหญ่เสมอไป ..การเป็นชาวสแลช มีเครื่องหมายทับ (/) ในหลากบทบาท... ทำให้พนักงานอ๊อฟฟิซธรรมดา สามารถมีอาชีพปลูกต้นไม้กระบองเพชร ที่ตัวเองชื่นชอบ นอกเวลางาน และวางขายเป็นร้านเล็กๆในออนไลน์ ...มีรายได้กลับมาเล็กน้อย แต่ความสุขที่เติมเต็มนั้นมหาศาล
.
.
สุดท้ายนอกจากเรื่องเงิน และความสุขส่วนตัว การเป็นชาวสแลช ยังถือเป็น "การบริหารความเสี่ยง" ในสายอาชีพที่ดีมากๆอีกด้วย ...ไม่มีใครรู้ว่างานที่เรามี จะถูกแทนที่ด้วยจักรกลหุ่นยนต์เมื่อใด, ภัยที่มาจากโรคต่างๆ จะทำให้ธุรกิจต้องปิดตัวอีกกี่แห่ง ...ดังนั้นการมีอาชีพที่ 2, 3 จะช่วยรองรับความเสี่ยง เมื่อมีเหตุจำเป็นที่งานหลักไม่สามารถไปต่อได้นั่นเอง
.
.