ทางตันรัฐบาล? งบขาดดุลย์บาน 7ปีซ้อน
หากเปรียบประเทศ เป็นบริษัทนึง.. เมื่อคุณหารายได้เข้าบริษัท ไม่เท่ากับรายจ่ายที่เสียไป นั่นแปลว่าคุณกำลังขาดทุน ก่อหนี้ช้าๆ และนี่ไม่ใช่ปีแรกแต่เป็นการขาดดุลย์ (Budget deficit) 7 ปีติดต่อกัน ของรัฐบาล.. จนทำให้หนี้สาธารณะรวมของไทย เมื่อสิ้นเดือนมีค.65 อ่วมอยู่ที่ 9.9 ล้านล้านบาท สูงเป็นประวัติการณ์
.
เอาง่ายๆ ความเป็นหนี้ซ้ำซ้อนตอนนี้ ทำให้แค่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเงิน ที่รัฐต้องเสีย เพื่อจ่ายคืนเจ้าหนี้ อยู่ที่ราว 2แสนล้านบาท/ปี.. นั่นปาเข้าไป 6.5% ของงบประมาณทั้งปี ที่ไทยต้องจ่ายเปล่าๆปรี้ๆ โดยไม่ได้อะไร
.
ไม่ต้องเป็นมนุษย์เชี่ยวชาญการเงินอะไร.. แค่คุณโหลดรายการงบประมาณประจำปี จากทางสำนักงบประมาณ (ลิ้งค์อยู่ล่างโพสต์นี้) มาอ่านดูเล่นๆ ก็จะพบว่าตัวเลขการทำงบดุลย์ของชาตินั้น มีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะการจ่ายไปกับเรื่องfixed cost ถึง75% ขณะที่ความสามารถในการหาเงินเข้าประเทศนั้น ต่ำไม่เป็นท่า
.
พิจารณาแค่จาก งบประมาณประจำปี2566 ที่กำลังพิจารณากันในสภาขณะนี้ รัฐมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.5 หมื่นล้านบาท
.
มูลค่างบประมาณรวม = 3.185 ล้านล้านบาท ประกอบไปด้วย
.
◼️ รายจ่ายประจำ 2.396 ล้านล้านบาท (เช่น ค่าเงินเดือนข้าราชการ, ค่าครุภัณฑ์ต่างๆ)
◼️ รายจ่ายลงทุน 0.695 ล้านล้านบาท (เช่น การลงทุนในรัฐวิสาหกิจ)
◼️ รายจ่ายคืนเงินต้น 0.1 ล้านล้านบาท (เช่น การจ่ายเงินคืนตราสารหนี้, พันธบัตร)
.
เห็นมั้ยครับ.. ร้อยละ75 ของเงิน 3.186ล้านล้านที่รัฐบาลเตรียมจ่าย เป็นรายจ่ายประจำ.. ที่ทำให้ประเทศแบกรับภาระหนัก และขยับตัวได้ยาก
.
เปรียบเทียบได้กับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ถ้ารายจ่ายประจำ เช่นค่าเช่าบ้าน, ค่าอาหาร, เดินทาง, ค่าน้ำ-ไฟ ทำให้คุณต้องจ่าย 3/4 ของเงินเดือน.. กับอีก 1/4ที่เหลือ ไม่ต้องพูดถึงการเก็บเงิน แค่คุณกินข้าวมือดีๆบ้าง.. พาครอบครัวไปข้างนอกครั้งเดียวก็หมดแล้ว.. จะเหลืออะไรต่อยอด เพื่อการลงทุนต่อไปในชีวิต?
.
นี่คือสภาพรัฐบาลไทย ขณะนี้ที่เผชิญแบบเดียวกัน.. คือรายจ่าย-หนี้ มากองอยู่จนลืมตาอ้าปากยาก เข้าใจล่ะ ว่ามีหนี้คงค้างจากรัฐบาลก่อนๆ และยังมีวิกฤติระบาดเข้ามาซ้ำเติม แต่ผมกำลังพูดถึงโครงสร้างงบของประเทศเราจะเป็นลักษณะหลังพิงฝาขนาดนี้ไม่ได้
.
ต้องปฏิรูปโดยด่วน รู้จักลดภาระfixed cost และแปรสภาพให้รัฐ เป็นรัฐที่รู้จักหารายได้เข้าประเทศอย่างมีประสิทธิภาพกว่านี้ ไม่ใช่ใช้เงินสุดขอบเป็นอย่างเดียว ..ภาษีคนเค้าอยากจ่ายครับ ถ้าระบบมันรองรับ และรัฐได้สร้างโอกาสสำหรับผู้ค้าตัวเล็ก-คนทำงานเพียงพอ
.
.
ในส่วนรายละเอียด งบประมาณปลีกย่อยที่สะดุดตาในปีนี้ มีเช่น
.
งบป้องกันการกัดเซาะพื้นท่ีตลิ่งริมแม่น้า สูงถึง 11,565.24 ล้านบาท ..เพื่อสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะของแม่น้ำเท่านั้น?
.
งบประมาณข่าวกรอง 3จังหวัดภาคใต้ อยู่ที่ 740.95 ล้านบาท ..เพื่อแค่หาข่าว ใช้เดือนละ60กว่าล้าน ต้องจัดงานเลี้ยงทุกวันรึปล่าว?
.
งบประมาณพัฒนา EEC เขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก 11,086.9 ล้านบาท ..เพื่อสร้างทางหลวงเลิศหรู สาธารณูปการระดับท็อป เอื้อประโยชน์กับ ผู้ผลิตรายใหญ่ไทยและต่างประเทศบางราย?
.
แต่เรามี.. งบประมาณส่งเสริมผู้ประกอบการไทยขนาดกลาง และขนาดย่อม เพียง 2,721.4 ล้านบาท ..แล้วเศรษฐกิจระดับเส้นเลือดฝอย SMEs ในประเทศจะเติบโตได้อย่างไร?
.
.
พอหอมปากหอมคอครับ ..ไม่อยากลงลึกในรายละเอียดแต่ละงบขนาดนั้น เราเปิดโอกาสให้ฝ่ายค้านได้ทำงานอภิปรายตามกลไกสภา ในวาระต่อๆไป
เชิญทุกท่านติดตามอย่างใกล้ชิดครับ
เอกสาร PDF งบประมาณประจำปีพ.ศ. 2566 ดาวน์โหลดที่
https://www.prd.go.th/th/file/get/file/202205317b8065f87ee1ca6048a0c4640570afaf151128.pdf?fbclid=IwAR32P1LeWM5yV_ltt_vCYssNbRNaYicsSu2V1eUbdiYy7mvm67sA1Fiw2E4