อวสานแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์? ใช้ "PDPA" คุ้มครองข้อมูลบุคคล 1 มิ.ย.

เรื่องหนึ่งที่ผู้บริโภค และภาคธุรกิจต้องรู้ คือ หลังวันที่ 1 มิ.ย. 65 นี้ ประเทศไทย จะมีการใช้ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หลังเลื่อนการประกาศใช้มาแล้ว 2 ปี.. จับตาตัวเลข การจารกรรมข้อมูลบุคคลโดยมิจฉาชีพ ลดน้อยลง?

.

ทราบมั้ยครับ มิจฉาชีพทางข้อความมือถือ หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่ระบาดหนักขณะนี้ ..โทรหาเราเช้าเย็น เป็นห่วงยิ่งกว่าคนในบ้าน ..นี่เค้าเอาข้อมูลเรามาจากไหน?

.

ง่ายที่สุดเลย จากระเบียนประวัติที่คุณสมัครไว้ตามที่ต่างๆ เช่น สมาชิกฟิตเนส, อินเตอร์เน็ต เป็นต้น, การจ่าหน้าซองพัสดุ, การซื้อของออนไลน์, การหลุดรั่วจากสำนักงานรัฐเอง, นิติบุคคลส่วนกลางคอนโด-หมู่บ้าน ..

.

หนึ่งในการจารกรรมครั้งใหญ่ ที่ปชช.ไทย โดนกันทั่วหน้า.. รั่วมาจาก เมื่อครั้งกรอกข้อมูล/แสกน เพื่อเช็คอิน "ไทยชนะ" เข้าสถานที่ต่างๆ ..ที่ผู้คนบ่นกร่นด่ากันหมด ว่าโทรศัพท์โดนรังควานไม่เลิก ได้รับSMS ข้อความสแปมมหาศาล จาก กลุ่มมิจฉาชีพ, สินเชื่อเถื่อน, บ่อนพนัน ..วันละเป็นสิบ จากที่ไม่เคยมีมาก่อน

.

.

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) มีขึ้นเพื่อจำกัดให้เอกชนและรัฐ เก็บรวมรวม-ใช้-เปิดเผย หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในราชอาณาจักรไทย ให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่น จากการถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว

.

ข้อมูลส่วนบุคคล ณ ที่นี้ คือข้อมูลใดก็ตามที่บ่งบอกตัวตนคุณ เช่น

◼️ เลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล

◼️ เชื้อชาติ, พฤติกรรมทางเพศ, องค์กรสังกัด

◼️ ข้อมูลทางการเงิน, ประวัติอาชญากรรม, ข้อมูลสุขภาพ

หรือแม้กระทั่งภาพถ่ายคุณ เป็นต้น

.

.

เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน แฮ็กเกอร์ชื่อก้องโลก กล่าวถึงความเป็นส่วนตัวไว้ว่า


" Privacy matters, it's what allows us to determine who we are and who we want to be "

" ความเป็นส่วนตัวสำคัญ และมันเป็นตัวบ่งชี้ว่าคุณเป็นใคร และจะเป็นอย่างไรในอนาคต"

.

.

เมื่อใครซักคนล่วงรู้ข้อมูลคุณ เค้าสามารถเดาได้ว่า คุณมีแนวโน้มจะซื้อของชิ้นไหน? อยากเที่ยวที่ใด? หลายประเทศทั่วโลก ได้มีการคุ้มครองเรื่องนี้มาซักพักแล้ว.. เพื่อช่วยคุ้มครองการละเมิดเอาข้อมูลลูกค้าไปใช้หากินในทางอื่น อย่างหลายเคส ที่บริษัทโซเชียลมีเดีย เอาข้อมูลที่เรากดไลค์ หรือคีย์เวิร์ดความสนใจต่างๆ ที่เราเม้าท์กับเพื่อน เร่ไปขายให้กับกลุ่มบริษัทเป้าหมาย หรือไปขายเพื่อการโฆษณาเราอีกที

.

ถึงแม้กระทรวงดิจิตัล DES จะประกาศว่าระยะแรกจะเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์ ยังไม่เอาผิดผู้ละเมิดแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ที่มีทั้งโทษแพ่ง และทางอาญา จำคุก 1 ปี ไปจนถึงปรับไม่เกิน 3 ล้านบาท ..ผมยังมีความหวังที่จะเห็น การช่วยพิทักษ์สิทธิ์ของผู้บริโภคไทยในวงกว้าง ไม่ให้ถูกแสวงหาผลประโยชน์จากการละเมิดความเป็นส่วนตัว

.

ถ้าองค์กรต่างๆให้ความร่วมมือกับกฎหมายใหม่นี้ ในการรักษาข้อมูลบุคคลลูกค้า ต้องควบคุมพนักงานองค์กรตัวเองอย่างดี ไม่ให้แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าว ..เพราะเมื่อโดนลงโทษ จะเป็นบทลงโทษโดยตรงกับบริษัท หรือนิติบุคคลนั้น มิใช่โทษส่วนบุคคลพนักงานแต่อย่างใด

.

ส่วนแก๊งคอลเซ็นเตอร์จะหายไปเลยหรือไม่?

พึ่งเฉพาะกฏหมายตัวนี้อย่างเดียวคงไม่ได้.. ต้องมีมาตราการป้องกันพิเศษ เพื่อเอาผิดคนร้าย โดยเกิดจากความร่วมมือของ กสทช. กับ ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือต่างๆ และ หน่วยงานผู้มีอำนาจ อย่างกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ).. .ในการแทรคหมายเลขต้นทาง, การบล็อคหมายเลขต้องสงสัย, แกะรอยlocation ไปจนถึง ติดตามตัวเครือข่ายเหล่านี้ มาดำเนินคดี

.

.

ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี..


แก๊งCall Center มีหนาวบ้างล่ะ