"กระทรวงเทคโนโลเทค” พักก่อนนะ.. ได้เวลาGovTech

เรื่องสำคัญในรอบสัปดาห์ผ่านมาคือ ประเด็นเรื่องที่กระทรวงเทคโนโลยี (ที่low-techเหลือเกิน) ยื่นฟ้องดารา และอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ถูก call out ให้กร่นด่ารัฐบาล.. มองข้ามประเด็นเรื่องการเมืองไป สิ่งที่น่าเกลียดเหลือเกินคือ การที่รัฐใช้อำนาจรัฐในฐานะเป็นผู้ดูแลสาระสนเทศ ของประเทศ ยื่นการฟ้องผู้คนที่แสดงเสียงเล็กเสียงน้อย ซึ่งแน่นอนไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลย ..กับคดีค่าปรับ 2000บาท?!?


ประเด็นนี้คล้ายว่า รัฐบาลมองว่า “กระทรวงเทคโนโลยี = หน่วยงานควบคุมเทคโนโลยี” เกินไปมาก.. หรือนี่คือมุมมองเดียวที่รัฐบาลโดยแกนนำอดีตทหาร รู้จักเทคโนโลยี ..นั่นฟ้องถึงวิสัยทรรศน์ที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาอะไร ถ้าคุณมาบริหาร เพื่อกดทับความเจริญก้าวหน้าของมัน ย่อมเป็นการทำลายเทคโนโลยี พากันให้เดินถอยหลังลงคลอง.. แน่นอนเกิดจากผู้บริหารที่ไม่ประสาด้านนี้ ไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิง


หากแต่ กระทรวงเทคโนโลยีควรทำตัวเป็นเพลตฟอร์มที่สร้างความร่วมมือระหว่าง tech company, สตาร์ทอัพ, ภาคส่วนอื่นๆ เพื่อเอื้ออำนวยการการช่วยเหลือประชาชน ทั้งระบบการติดต่อราชการส่วนกลาง การเดินเอกสารที่ล้าหลัง และเรื่องการmonitor ตรวจสอบการอาชญกรรมเทคโนโลยี อย่างเรื่องการแฮคข้อมูล, การสร้างข่าวปลอม, การปลอมแปลงต่างๆ ค่อยเป็นเรื่องสุดท้าย การตรวจสอบต้องทำโดยระบบที่ดีพอ มีคความโปร่งใสในการใช้อำนาจ ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติเป็นกรณี ตามที่ผู้บังคับบัญชาเขียนใบสั่งออกมา ..เป็นเพียงเครื่องมือเล่นงานศัตรู อันนี้ไม่ควรเรียกว่า”งานราชการ” ด้วยซ้ำไป

640x390_718442_1474093625.jpg



GovTech หรือ Government Tech คือการที่รัฐใช้เทคโนโลยี เป็นตัวเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกในการทำงานแทนที่การติดต่อและเข้าถึงภาครัฐแบบเดิม และส่งมอบประสบการณ์ด้านบริการสาธารณะให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว รัฐอาจจัดทำเอง หรืออาจจัดหา ผู้รับจ้าง ที่เป็นภาคเอกชนมาให้บริการแทนก็ได้

ยกตัวอย่างในช่วงโควิด มีการล๊อคดาวน์ บังคับปิดการขายอาหารที่ร้าน “กระทรวงเทคโนโลเทค” ไม่ได้ซัพพอร์ตอะไรเลย ที่จะเอื้อให้ประชาชนทั่วไปสั่งเดลิเวอรี่ง่ายขึ้น หรือ ร้านอาหารข้างทางที่ยังไม่มีหน้าร้านออนไลน์ เอาเค้าเข้ามาในระบบ.. ผ่านช่องทางที่รัฐประสาน หรือ ร่วมมือกับแพลตฟอร์มเอกชน อย่าง Grab, Foodpanda, LineMan

ไม่ต้องพูดถึงธุรกิจค้าขาย Retail ทั่วไป ที่กระอักเลือดพอๆกัน ตามสถิติแล้ว ร้านค้ายุคเก่าที่ไม่มีช่องทางขายออนไลน์ สูญเสียรายได้ต่อเนื่องมากกว่า50% ตลอดช่วง10ปีที่ผ่านมา และในกลุ่มร้านค้าดังกล่าว ปิดตัวกิจการเองลงไปแล้วจำนวนกว่าครึ่ง.. เมื่อมีการปิดเมือง เป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงเทคโนโลยี จะนำพาเอาร้านค้าเหล่านี้เข้าลงทะเบียน ช่วยผู้ประกอบการยุคเก่าให้เข้าใจกับระบบซื้อผ่านออนไลน์



ในช่วงโควิด ประเทศมาเลเซีย รัฐมีนโยบาย 3เดือนก่อนปิดเมือง ช่วยผู้ประกอบการทั่วไปและร้านค้าเก่า เข้าสู่ระบบขายออนไลน์ อย่าง Lazada Malaysia โดยส่งคนเข้าช่วย และจัดlive steaming เพื่อจูงใจให้เถ้าแก่เก่าๆเห็นภาพว่ามีดีมานลูกค้าอยู่จริง.. ด้วยงบเพียง 1,000ล้านบาท แต่วัดจากระดับการเติบโตของmarket cap การซื้อออนไลน์ในประเทศ ทำให้มาเลเซียใช้วิกฤติเป็นโอกาส พา e-commerce ภายในประเทศเติบโตสูงสุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


◾ประเทศสเปน กระทรวงเทคโนโลยี ออก Govtechlab Madrid สร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยการติดระหว่างคน กับภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น, ประเทศฮอลแลนด์ ออก “Startup in Residence Program” ให้ทุนทีมสตาร์ทอัพ แก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมที่อยู่อาศัยในเมืองอัมสเตอร์ดัม อย่างเป็นรูปธรรม



◾ ในปี2014 อเมริกา GovTech จัด accelerator program ที่ซานฟรานซิสโก ประกวดเทคโนโลยีที่แห้ปัญหาภายในเมือง เช่นเรื่องระบบเดินทางรถรางในเมือง และให้ทีมที่ชนะจัดทำแอพพลิเคชั่นจริง ..ผลลัพธ์คือ รัฐสามารถจัดจ้างเอกชนมีความสามารถในราคาย่อมเยาว์ ผู้คนได้รับการแก้ปัญหา “ด้วยเทคโนโลยี อย่างแท้จริง”

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า กระทรวงเทคโนโลยี ในความหมายของอารยะประเทศ คือหน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้คน.. โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนทำเองทั้งหมด หากแต่คอยประสาน สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างภาคเอกชน และสตาร์ทอัพ รวมถึงSMEsเล็กๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่..



อย่างช่วงโควิดบ้านเรา ปัญหาที่รุนแรงที่สุดคือ ระบบการหาเตียงผู้ป่วย ล้มเหลวเพราะญาติผู้ป่วย ไม่สามารถติดต่อภาครัฐได้ ต่อให้โทรcall center ทุกเบอร์จนสายไหม้ ..ดีกว่ามั้ยถ้ารัฐใช้ GovTech พัฒนาแพลตฟอร์ม ระบบการแสดงผลเตียงในรพ.ทั่วประเทศ ที่รองรับผู้ป่วยได้แบบ เรียลไทม์.. ผู้ป่วยไม่ต้องรอแบบไม่มีความหวัง ญาติก็ไม่ต้องกระหน่ำโทรอย่างบ้าคลั่ง โรงพยาบาลก็ไม่ต้องนั่งรับโทรศัพท์ทั้งวัน สำคัญที่สุดคือสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อีกมาก.. นี่ดิ เทคโนโลยีสำคัญ!



ส่วนเรื่องปรับ-จับ คนเขียนด่ารัฐบาลในเน็ต

ปล่อยให้เป็นหน้าที่ ตำรวจมั้ย



ก็ถนัดทำตามใบสั่ง.. อยู่แล้วนิ



#SaveSMEs #SaveMilli #SaveThaiTechnolgy #GovTech

Previous
Previous

แนะให้.. 7 เทคโนโลยีดีๆ ที่รัฐบาลไม่ได้ใช้สู้วิกฤติ

Next
Next

ถึงเวลา "ล๊อคดาวน์" รัฐบาลหรือยัง?