Lory Pongpol Lory Pongpol

ประชานิยม คือผลร้าย? นโยบายที่ดี ต้องครบ 3 บรรทัดฐาน “Triple Bottom Line”

สัปดาห์ก่อน ผมได้วิจารณ์ 1 นโยบายเก่า และนำเสนอ 1 นโยบายใหม่ ที่คิดว่ามีประโยชน์กับภาพรวมมากกว่า.. น่าแปลกใจดี ที่มีดราม่าและรถทัวร์ รัวตามมาไม่ขาดสาย ใครผ่านมาแถวนี้ น่าจะคิดว่าที่นี่หมอชิตหรือปล่าว? ..ผมเข้าใจ และพลันเคารพทุกความเห็นดีๆที่เข้ามา และเชื่อว่าทางการเมือง มีคนเห็นด้วย ต้องมีคนเห็นต่างบ้างเป็นธรรมดา ..แต่อย่างไรก็ตาม ผมอยากให้ทุกคนคำนึงถึงตรงนี้ ก่อนตัดสินว่าผมทำเพื่อตัวเอง โจมตีคู่แข่ง หรือมีจุดมุ่งหมายอะไรกันแน่

.

.

มีทฤษฎีนึงที่ผมระลึกถึง และเป็นแบบอย่าง ในการทำธุรกิจของตัวเองอยู่ตลอด และยังคงยึดถือมั่นเพื่อเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อในไปใช้ประโยชน์กับการทำงานภาครัฐ นั่นคือ "Triple Bottom Line" สามบรรทัดฐานสำคัญ ทฤษฎีจากจอห์น แอลคิงตัน จากหนังสือ "Cannibal with Folks" เมื่อปี 1997 ถ่ายทอดโดย ศาสตารจารย์ แมรี่ แมคไบรด์ ...ที่เชื่อว่านโยบาย-แนวความคิดที่ดี ไม่ใช่คำนึงถึงแค่กำไรเพียงอย่างเดียว ถ้าเปรียบเทียบได้กับทางการเมือง คือการประโคมประชานิยม แจกข้าวแจกของ เอาใจฐานเสียงเพียงอย่างเดียว แล้วจะทำให้กิจการ-ความเจริญของประเทศยั่งยืน ..หากแต่ต้องคำนึงถึงแกนสำคัญทั้ง 3 บรรทัดฐาน (People/ Profit/ Planet) เข้าด้วยกัน เพื่อให้ความเติบโตเป็นไปอย่างยั่งยืน และรอบด้าน


▬▬▬


3 บรรทัดฐานสำคัญนั้น ได้แก่


◾ People: ฐานคน


การออกนโยบายใดๆควร คำนึงถึงผลกระทบเชิงสังคม, คุณภาพชีวิตของคน"ส่วนใหญ่"ในประเทศ ไม่ว่าอยุ่ในบริบทของผู้อยู่อาศัย, ผู้บริโภค, นายจ้าง หรือลูกจ้างในระบบ เพราะชีวิตคนต้องมาก่อน


◾ Profit: ฐานเศรษฐกิจ


ฐานทางศรษฐศาสตร์ คือ ทั้งระบบต้องได้เม็ดเงิน ตั้งแต่กลุ่มแรงงาน กลุ่มธุรกิจเอกชนเล็ก-กลาง-ใหญ่ ไปจนถึงรัฐได้รับการจัดเก็บภาษีที่สมน้ำสมเนื้อ สามารถธำรงอยู่ได้ ไม่มีฝ่ายไหนเจ็บตัว


◾ Planet: ฐานธรรมชาติ


ฐานนี้คือแกนสำคัญ ที่ผู้มีอำนาจในไทย ยังไม่ให้ความสำคัญ นโยบายที่ดีนั้นนอกจากช่วยคนจำนวนนึง แต่หากมันเป็นบ่อนทำลายธรรมชาติ ทำให้สภาพโลกร้อน, มลพิษ หรือภาวะโรคใหม่ๆที่โจมตีโลกอย่างต่อเนื่อง ให้มันแย่ไปกว่านี้ ย่อมไม่เป็นนโยบายที่ดีแน่ๆ


▬▬▬▬▬▬



มองภาพกว้าง ทำความเข้าใจทั้งสามแกน ..ไม่ใช่แค่ใครคนนึง ครอบครัวใดครอบครัวนึง บริษัทใดบริษัทหนึ่งได้ประโยชน์ จากการการทำลายสภาพแวดล้อมแบบไม่มองเห็นหัวอนาคตลูกหลาน


ถ้านโยบายใดก็ตาม ที่ส่อให้เกิดความเสียหายในแกนใดแกนนึง ไม่ว่าผู้คน-เศรษฐกิจ-โลก ผมขอค้าน และยืนยันจะค้านหัวชนฝา


เมื่อมองที่ฐานคน.. ถ้าได้ผลประโยชน์จากประชานิยม ของที่แจก แต่ความเจริญในแนวอื่นไม่เกิดผลใดๆ นั่นไม่ใช่การพัฒนาถาวรครับ


เทียบประชานิยมกับความสัมพันธ์หนุ่มสาว คงไม่ต่างจาก การมีโปรโมชั่น ซื้อของแบบใจปล้ำจากคนที่จีบคุณเล่นๆ แต่ไม่ได้อยากคบคุณจริงจัง แล้วก็พังหลอกคุณ


คุณกำลังถูกป้ายยา.. ถูกสินบนจากรัฐ.. ว่ารัฐนั้นๆเค้าได้ช่วยเหลือคุณแล้ว แต่การช่วยเหลือนั้นไม่จีรัง อาจช่วยให้ทำเนาไปได้3-4เดือน แต่ไม่มีอะไรกลับมา

ไม่มีระบบคมนาคมที่ดี.. ไม่มีระบบการศึกษาที่ดีขึ้น.. ไม่มีสาธารณะสุขที่ทำให้คนสุขได้จริงๆ..


อย่าเข้าใจผิดนะครับ ประชานิยมบางครั้งก็ดี ดีในการเยียวยาเฉพาะหน้า.. แต่หลายครั้งคือการลงทุนจากรัฐที่สิ้นเปลือง และไม่ได้อะไรในระยะยาว


ยกตัวอย่าง นโยบายที่ผู้คนได้ประโยชน์ รัฐและเอกชนได้ประโยชน์ ธรรมชาติได้ประโยชน์แบบยั่งยืน


ที่เข้ามาในหัวผมก่อนเลยคือ นโยบายด้านพลังงาน ที่รัฐควรผลักดันภาคอุตสาหกรรม ให้ใช้พลังงานทดแทนที่ดีกว่า ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมกว่า


อย่างการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า EV ของไทย ที่สามารถลดการใช้น้ำมันระยะยาว ลดการสร้างฝุ่น PM2.5จากต้นตอสาเหตุเลยทีเดียว


รัฐอาจใช้กรณีศึกษาที่ดีจากประเทศผู้ผลิตชั้นนำ อย่าง ญี่ปุ่น


ที่ภาครัฐนั้นให้เงินสนับสนุนในเรื่องของงานวิจัยพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยมุ่งให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆทั้งเรื่องของโมเดลรถและแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และได้มีการทำข้อตกลงร่วมกันตั้งแต่ต้นในเรื่องของ ‘แท่นชาร์จ’ ให้รถทุกยี่ห้อสามารถใช้หัวชาร์จแบบเดียวกันได้


รวมถึงยังมีการให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ที่ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงการลดหรือยกเว้นภาษีจากผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีมาตรการนำรถยนต์ทั่วไปคันเก่า มาแลกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันใหม่ที่สอดคล้องกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐกำหนดไว้


...


◾ ประชาชนได้ ได้ครอบเครื่องยนต์ EV ในราคาที่ถูกกว่า - ค่าเชื้อเพลิงระยะยาวถูกกว่าค่าน้ำมัน


◾ เศรษฐกิจได้ เพราะการลดภาษี ทำให้รถEVเป็นที่นิยม เกิดเงินหมุนเวียนในระบบ


◾ ธรรมชาติได้ ลดมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง - ลดPM 2.5


ความโปร่งใสของนโยบายก็สำคัญ ต้องทำในระบบที่ไม่เอื้อแก่เจ้าใดเจ้าหนึ่ง ยังควรถือโอกาสผลักดันผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพไทย ให้พัฒนารถยนต์ EV แบรนด์ไทยเองขึ้นมา ..ผมเชื่อว่ายุคนี้สมัยนี้แล้ว วิทยาการของไทย ไม่แพ้แต่ละชาติทั่วโลก.. อย่างประเทศจีนที่มีรถยนต์ไฟฟ้า เป็นร้อยแบรนด์ แบรนด์ผู้นำตลาดอย่าง BYD ที่มีเทคโนโลยี Blade Battery แบตเตอรี่ที่ประสิทธิภาพสูงกว่า..ปลอดภัยกว่า แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน ที่ใช้กันทั่วไป


หลักการ สามบรรทัดฐานสำคัญ (Triple Bottom Line) กลายเป็นทฤษฎีที่ยอมรับถึงผลประกอบการของกิจการและยืนยันว่า วิสัยทัศน์นโยบายและแนวทางการดำเนินกิจการเป็นแบบกว้างขวาง มีความโปร่งใส ที่สำคัญสามารถตรวจสอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้ทั้งผลตอบแทนทางสังคม ผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมและไม่ขัดหรือแย้งกับผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ด้วย


ย้ำชัดอีกครั้ง นโยบายที่ดี คือการสร้างความเจริญที่ยั่งยืน


มันคือ win-win game ที่ทุกฝ่ายชนะร่วมกัน


..คนส่วนใหญ่ได้ - เศรษฐกิจได้ - ธรรมชาติได้


▬▬

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ยืนไว้อาลัย 10ปี"รถคันแรก"... ดันนโยบาย"ธุรกิจแรก" กระตุ้นเศรษฐกิจคนตัวเล็ก

หลายทศวรรษ หลากรัฐบาล... ยังแก้ไม่หาย เรื่องการเอื้อกลุ่มทุนจากภาครัฐ หนุนไปสู่การผูกขาดในอุตสาหกรรม เป็นกันมาทุกยุค... ซึ่งไม่รู้วงจรอุบาทนี้ จะไปสุดหยุดตรงไหน ...หลายท่านโวยผม ทำไมไปซักไซร้ เอาความจริงมาซัดใส่กลุ่มทุนอย่าง ซีพี บริษัทเดียว.. บอกได้ตรงนี้ ไม่ว่ากลุ่มธุรกิจอะไร - สัญชาติไหน ถ้าสิ่งที่เค้าทำนำไปสู่การผูกขาด ซึ่งทำให้การต่อสู้ในระบบเสรีทุนนิยมไม่เป็นธรรม เราประชาชนมีสิทธิพูด-วิพากษ์ ยืนหยัดต่อสู้กับระบบนี้อย่างเต็มที่

.

.

..ครบรอบ10ปีพอดี... ทำให้ผมนึกถึงนโยบายจากรัฐบาล ที่ออกเมื่อปี2554 ที่ออกจะดูไร้เหตุผล และเอื้อหนุนกลุ่มทุนใดทุนหนึ่ง อย่างน่าเกลียด คือโครงการ " รถคันแรก" โดยรัฐบาลในสมัยนั้น โดยให้เหตุผลว่าเพราะเกิดวิกฤติน้ำท่วมหนัก ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์(ญี่ปุ่น)ในไทย เสียหาย

.

.

เป็นอีกหนึ่งอภิมหาโครงการประชานิยม ที่อาจไม่มีรัฐบาลไหนกล้าทำอีกแล้ว สำหรับการซื้อรถยนต์แล้วสามารถนำไปขอคืนภาษีกับกรมสรรพาสามิตได้สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท ...นโยบายดังกล่าวดูแล้วนอกจากเป็นการเอื้อประโยชน์กับนายทุนแบบโจ่งแจ้งแล้ว ยังสร้างนิสัยฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ให้กับประชาชน เพราะตอนนั้นขนาดพนักงานรายได้ต่ำ อย่างพนักงานรับจ้างรายวัน ยังถอยรถป้ายแดงกันออกมาไม่หยุดหย่อน.. นี่ยังไม่นับเรื่องปัญหาทางสังคมทำรถติดยับๆ ในเมืองแทบอัมพาต และก่อให้ควันดำเพิ่มมลพิษ ให้สิ่งแวดล้อม ทั้งๆที่ทั้งโลกเค้ารณรงค์กันโครมๆ

.

.

สิริรวมโครงการ "รถคันแรก" จาก16 กย 2554 - 31 ธ.ค. 2555 ...มียอดรวมรถคันแรกที่ขอคืนภาษีทั้งสิ้น 1.255 ล้านคัน คิดเป็นเงินที่รัฐบาลต้องคืนภาษีรวม 9.1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ในช่วงแรก 3 หมื่นล้านบาทถึง 3 เท่าตัว ...จนทำให้การจ่ายเงินคืนภาษี ของกรมสรรพาสามิตมีปัญหาฝืดเคืองขึ้นมาเลย

.

.

ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม... นโยบายรถคันแรก โดยท่านรมว.กระทรวงคมนาคม สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ...ทำให้ตัวเลขรายได้รวมของกลุ่มไทยซัมมิท ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ชั้นนำในเอเชีย (สินทรัพย์ตระกูล จึงรุ่งเรืองกิจ) เติบโตสูงสุดที่ 7.5 หมื่นล้านบาทในปี 2555 ในปีที่ธุกิจภาคส่วนอื่นล้มลุกคลุกคลาน ส่งผลให้ยอดผลิตรถยนต์ในประเทศสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ถึง 2.4 ล้านคัน... ทั้งที่ตัวเลขผลิตรถยนต์เฉลี่ยต่อปี ได้เพียง 1ล้านกว่ามาตลอด (ยกเว้นปี61 ที่ผลิตได้2.1ล้านคัน/ปี) และตัวเลขก็ไม่เคยมาแตะที่ 2.4ล้าน จนถึงปัจจุบัน

.

.

ทำไมเราไม่คำนึงถึงคนส่วนใหญ่


ทำไมถึงสนับสนุน"รถคันแรก" เพื่อบริษัทรถญี่ปุ่น เพื่อกลุ่มทุนขายอะไหล่


ทำไมบอกเท่าเทียม แต่ไม่เท่ากัน ..ในเมื่อทุกอุตสาหกรรม ต่างก็เจ็บตัวทั้งนั้น


...โครงการดีๆ ที่เอื้อกลุ่มทุนเล็กๆ คนธรรมดาที่มีความสามารถ มีบ้างมั้ย...?


นี่เลย

.

.

💼 โครงการ "ธุรกิจแรก" (First Firm) ที่ส่งเสริมSMEs - สตาร์ทอัพ


ทำให้ทุกคนในประเทศไทย มีสิทธิมีเสียง สามารถเป็นผู้ประกอบการเริ่มแรก โดยใช้มาตราฐานแบบSandbox Mode คือ ภายใต้สภาพที่ ผู้ประกอบการหน้าใหม่สามารถลองผิดลองถูกได้... ไม่ใช่มาถึงเจอการเก็บภาษี และสงครามกีดกันจากเจ้าตลาดยักษ์ใหญ่แบบชุดใหญ่ไฟพริบตั้งแต่แรกเริ่ม

.

.

ยกตัวอย่าง เมื่อเข้าโครงการ "ธุรกิจแรก"


◾ ยกเว้นฐานภาษี 1ปี และทะยอยเก็บเพิ่มปีหน้า


◾ รัฐเป็น Incubator ตัวกลางบ่มเพาะธุรกิจ แบบที่เมืองนอกเค้ามีกัน


ใช้หน่วยงานที่มีอย่าง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรมส่งเสริมการส่งออก, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมส่งเสริมการเกษตร หรือแม้กระทั้งศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบ TCDC และ สำนักนวัตกรรม NIA ช่วยเหลือผู้ประกอบการ


◾ ให้ความรู้เบื้องต้นเมื่อเริ่มทำธุรกิจ - การคิดภาษี - การหาแรงงาน - ให้ข้อมูลโรงงานและแหล่งผลิต

.

.

ข้อดี


◾ ส่งเสริมให้ธุรกิจใหม่ไปให้รอดในระยะยาว เพราะตามสถิติ หากธุรกิจใหม่สามารถดำรงผ่านปีแรก มีแนวโน้มเกิน 70% ที่จะอยู่รอดปลอดภัยตลอดอีก 5ปีข้างหน้า ..เป็นการสร้างความเจริญแบบยั่งยืนจากกลุ่มธุรกิจเล็ก - ขนาดกลาง ซึ่งเป็นเส้นเลือดฝอยหล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ


◾ สามารถจูงใจ ให้ทุกธุรกิจย่อยๆที่ยังไม่อยู่ในระบบ ให้เข้ามาอยู่ในระบบจัดเก็บภาษีของรัฐได้.. ทั้งร้านเล็กๆตามอินสตาแกรม, ไลน์, เฟสบุ๊ค หรือ กลุ่มคนรับฟรีแลนซ์อิสระก็ตาม


สิ่งที่รัฐต้องปรับมากที่สุดที่สุด ก็คือ Mindset (มโนคติ)ใหม่: รัฐต้องทำหน้าที่เหมือนเป็นเซลล์แมน ให้มอง ภาษีเงินได้ 20% ที่เก็บจากบริษัททั่วไป กลายเป็นเหมือนเป็นค่าคอมมิชชั่น... รัฐสนับสนุนให้เค้าอยู่รอดก่อนในปีแรก.. มีกำไรเยอะ ตัวเองจึงจะเก็บภาษีได้เยอะ.. ไม่ใช่แค่ปล่อยให้ตาย ภาษีเก็บไม่ได้ และไม่มีใครได้อะไร

.

.

แค่ปรับความคิด ละทิ้งผลประโยชน์ส่วนตัว


แล้วคำนึงถึงผลประโยชน์รวมของชาติเป็นหลัก


ไม่ใช่ผลประโยชน์ครอบครัวใด ครอบครัวหนึ่ง


เราทุกคน ถึงจะชนะไปด้วยกัน...

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ผูกขาดที่แท้"ทรู" ...กินดีแทค กินเรียบทั้งประเทศ

เรื่องมันมีอยู่ว่า.. กฎหมายข้อนึง ที่พึงมี และมีความสำคัญในโลกธุรกิจของโลกทุนนิยมปัจจุบัน ก็คือ กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการผูกขาดทางการค้า ซึ่งของไทยนั้นพึ่งมีมาเมื่อปี 2542 ชื่อว่า "พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า" ซึ่งหมายมั่นปั้นมือให้ไม่มีผู้ประกอบการรายใหญ่รายใดรายหนึ่ง สามารถอยู่เหนือวงจร และกำหนดทิศทางในอุตสาหกรรมนั้นๆแบบผูกขาด แต่เชื่อมั้ยผ่านมากว่า 22 ปี ยังไม่มีธุรกิจใดที่ถูกดำเนินคดีว่าด้วยการทำ “การค้าที่ไม่เป็นธรรม” แม้แต่รายเดียว มันแปลกๆมั้ยครับ?!?

.

.

แม้ว่าจะมีคดีตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2542-2558 ถึง 96 เรื่อง เรื่องเด่นๆ ก็เช่น


◾ กรณีการผูกขาดธุรกิจโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิกของ UBC (ปัจจุบันคือ TRUE Vision)

◾ กรณีการบังคับขายพ่วงสินค้า (Tied-Sale) สุราขาวกับเบียร์ช้าง

◾ กรณีพฤติกรรมการค้าทีไม่เป็นธรรมในธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ล่าสุด อย่างกรณีCP ผู้เป็นเจ้าฝ่ายผลิต มีMakroที่เป็นร้านค้าส่ง, มี7-11เป็นร้านค้าปลีก, แล้วยังทำการซื้อ Tesco เป็นซูปเปอร์มาร์เก็ต

.

.

ถ้าสังเกตุให้ดี ตัวละครที่มีคดี ก็วนเวียนอยู่กับบริษัทระดับบิ๊กเนมเดิมๆ... และบางกรณีผลการตัดสินจากคณะกรรมการก็ถือว่า ค้านสายตาเอามากๆ โดยเฉพาะอย่างเคส ที่บริษัท ซี.พี.รีเทล ซื้อเทสโก้ล่าสุด ที่คณะกรรมการตัดสินให้ "ไม่เข้าข่ายผูกขาด" ด้วยคะแนนไม่เอกฉัน ที่4 ต่อ 3คะแนน

.

.

ทั้งๆที่การควบเทสโก้ เข้าไปในซีพี จะทำให้ส่วนแบ่งตลาดของอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยอยู่ที่ 83.05% (จาก7-11 รวมกับ เทสโก้ โลตัสเอ็กเพรส) บริษัทซีพี กินเรียบ... ตัวเลข83.05 ไม่ต้องเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไรมาก เอาแค่หลานผม เด็กเล็กก็รู้ว่าเลขมันเกือบๆร้อย... มันคือป๊อก8 ที่ทำให้ทั้งวงหงายไพ่ได้เลย ... ระยะสั้นอาจยังไม่เห็น แต่ระยะยาวเราได้ซื้อข้าวของทุกอย่างแพงแน่ๆ เพราะเล่นมีอยู่ร้านเดียว!!! เค้าจะตั้งราคาแบบไหน ก็ต้องควักเงินให้ไป ใช่มั้ยครับ

.

.

เด๋วนึกภาพกันไม่ออก อย่างกฎหมายป้องกันการผูกขาดที่อเมริกา ..คณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐของสหรัฐอเมริกา (FTC) ออกคำสั่งเด็ดขาด ให้บริษัท 7-Eleven Inc. เจ้าของกิจการร้านสะดวกซื้อชื่อดังในสหรัฐฯ ต้องขายธุรกิจร้านสะดวกซื้อออกไป จำนวน 293 สาขา ให้กับคู่แข่งรายย่อยอื่นๆ เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางการค้า เพราะเห็นว่ามีแนวโน้มในการใช้ทุนสร้างความได้เปรียบผู้แข่งขันรายอื่นเกินไป ..ช่างเด็ดขาดจนเราชื่นชม

.

.

ตัดภาพมาที่ ทรู ซื้อกิจการ(ภาษาอังกฤษว่า acquire) ดีแทคกัน ปัจจุบันทรูมีผู้ใช้งานกว่า 32 ล้านเลขหมาย ส่วนดีแทคมีผู้ใช้งานกว่า 19.3 ล้านเลขหมาย ในด้านผลประกอบการ ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ทรูมีรายได้ 103,177 ล้านบาท ส่วนดีแทคมีรายได้ 59,855 ล้านบาท

.

.

หากรวมกิจการกันจริง ก็จะทำให้ทรู-ดีแทค มีผู้ใช้งานรวมกันราว 51.3 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าเจ้าตลาดอย่างเอไอเอส ซึ่งมีผู้ใช้งานอยู่ 43.7 ล้านเลขหมาย และจะมีรายได้รวมกันถึงกว่า 163,032 ล้านบาท ขึ้นเป็นอันดับ 1ในตลาดทันที

.

.

เรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ ดันไปคล้องจองกันกับที่ประเทศมาเลเซียอย่างมีนัยนะ ที่บริษัทเทเลนอร์ มาเลเซีย ซึ่งคือบริษัทแม่ของดีแทคไทย ที่ควบรวมกับ บริษัทเอเชียตา (Axiata) บริษัทโทรคมนาคมของมาเลเซียเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา และกลายเป็นผู้นำในธุรกิจโทรคมนาคมของมาเลเซียทันที

.

.

ในระดับนานาประเทศ.. แทบไม่มีประเทศไหน ที่มีส่วนเอกชนที่ถือครองระบบโทรคมนาคมเพียง 2เจ้าในประเทศ แม้แต่ประเทศกึ่งสังคมนิยม ก็ยังมี3-4คู่ค้าขึ้นไป ...ลองนึกภาพนะรับ เมื่อทรูรวมดีแทค เหลือคู่แข่งแค่ AISอีกรายเดียว.. โปรโมชั่นมือถือที่คุณเคยได้กัน ราคามันจะเปลี่ยนไป.. เมื่อไม่ต้องแข่งขัน เค้าจะสามารถกำหนดราคาตลาดได้มากขึ้น ผลลัพธ์ก็คือค่ามือถือรายเดือนในบิลของคุณ จะค่อยๆแพงขึ้นอย่างแน่นอน ..หนำซ้ำในระยะยาว คุณภาพสัญญาณมือถือก็ไม่ต้องปรับไรมาก มีอยู่แค่นี้ทนๆเอา

.

.

ดังนั้นเราควรจับตา และจ้องมองอย่างกดดันไปที่ 2หน่วยงานเกี่ยวข้อง คือ กสทช. ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และ คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า ภายใต้กระทรวงพานิชย์ ว่าจะตัดสินเรื่องนี้อย่างไร

.

.

ย้ำชัดๆอีกครั้งนะครับ ... เราไม่ได้เกลียดทรู หรือซีพี.. แต่ทรู หรือ ซีพี ควรถูกผลักดันให้ไปโตเมืองนอก ไปแย่งส่วนแบ่งตลาดจากประเทศอื่น เพื่อเอาเงินเข้าไทย รัฐต้องแสดงออกชัดครับ


ไม่ใช่ปล่อยให้กินเรียบ ทุกอุตสาหกรรมขนาดนี้


มันคงไม่มีเหลือโอกาสอะไร ให้ลูกหลานคุณ


Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

แค่อเมซิ่งไม่พอ.. เที่ยวไทยใหม่ ต้องปลอดภัยแบบ #AmazeSafeThailand

◾ อเมริกา ใช้การฉีดวัคซีนเป็นจุดขาย เป็นตัวล่อให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศ กระตุ้นนักเลขนักเดินทางได้กว่า 70%


◾ เที่ยวไทยมาตรฐานใหม่ ต้องมีจุดขาย คือมาไทยต้องไม่ตายแน่.. ปลอดภัยและสุขใจไปพร้อมๆกัน

.

.

เมื่อมีมาตรการเปิดประเทศ ในวันที่ 1พย. ความตั้งใจของรัฐบาลครั้งนี้ มีความใจเป็นต้องตัดสินใจเปิดประเทศ โดยที่ไม่พร้อม 100% เพราะปัจจัยสำคัญด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องที่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นคู่แข่งในย่านอาเซียน กำลังจะเปิดประเทศกันหมด ทั้งสิงคโปร์, เวียดนาม, มาเล ... ถ้าไทยเปิดประเทศช้าไป จะเกิดผลกระทบใหญ่ ไม่ใช่แค่เรื่องจำนวนนักท่องเที่ยวที่ไหลเข้ามา แต่ยังเป็นเรื่องการรั่วไหล-ดึงดูดนักลงทุนข้ามชาติ ...หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ อาจยุบฐานในประเทศนึง ขนทุนมาตั้งหลักแหล่งในประเทศที่มีความพร้อมมากกว่า หลังวิกฤติ


ล่าสุดโฆษณาอเมซิ่ง ไทยแลนด์ ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ทำได้ดี ในเชิงแนวทางศิลปะ มีภาพที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติในมุมที่ร่วมสมัยมากขึ้น.. ซึ่งเป็นมิติใหม่ที่ดี

( ดูที่ -> https://www.youtube.com/watch?v=isMCJWZu2QE )


เพียงแต่ในเชิงนโยบาย เราต้องการมากกว่าแค่ สถานที่ท่องเที่ยว ที่ว้าว แปลกใหม่ ..ตามคอนเซปท์ Amazing Thailand ... ยิ่งในยุคนี้ ที่ไม่มีอะไรว้าว ภาพยักษ์วัดโพธิ์, ปราสาทหินพนมรุ้ง.. และอีกสถานที่ unseen มากมายของไทย สามารถเสิร์ชเห็นง่ายๆทั้งโลก ด้วยGoogle แค่ปลายนิ้ว


นี่ปี2021 New Normal สิ่งที่นักท่องเที่ยวข้ามชาติต้องการคือ ความมั่นใจในเชิงสาธารณะสุขต่างหาก... ความต้องการพื้นฐานว่า ถ้าเค้าตัดสินใจเดินทางมาเหยียบแผ่นดินนี้ แล้วจะปลอดภัย มีทีมแพทย์ดูแล.. ไม่ได้ทิ้งขว้างตามมีตามเกิด


ทางเราของเสนอแคมเปญ Amaze-Safe Thailand


.

ไม่ใช่แค่เที่ยวเอามัน แต่ดูแลกันขั้นสุด ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติปลอดภัยไร้เจือปนโรค


.

ส่งผลดี ทั้งกับการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ และสำคัญต่อความเชื่อมั่นของคนไทยภายในประเทศเองด้วย


.

สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ควรมีมาตรการตามนี้..

.

.

◾ หลังจากเดินทางถึงประเทศไทย นักท่องเที่ยวต้องถูกเทส PCR ที่สนามบินขาเข้า ... ทีมสาธารณสุขเราเก็บตัวอย่าง และกรอกประวัตินักเดินทางเป็น Dataไว้ เพื่อลงทะเบียนไว้


◾ นักท่องเที่ยวทุกคนต้องลงแอป Amaze-Safe Thailand เพื่อใช้ในประเทศ จูงใจด้วยการให้ใช้ wifi-hotspot ฟรี ในพื้นที่ที่ กสทช มีพันธมิตร ... ทั้งหมดเพื่อที่จะเก็บดาต้าของนักท่องเที่ยว และตามtrackตัวได้หากมีการติดเชื้อ ภายภาคหน้า

.

◾ การท่องเที่ยวประเทศไทย เตรียมhotlineพิเศษ สำหรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้ติดต่อง่าย และคลายกังวลเมื่อมีปัญหา หรือข้อกังวล

.

◾ มี Real Time Map แผนผังการกระจายตัวของผู้ติดเชื้อ เพื่อให้นักท่องเที่ยวหลีกเลี่ยง บางคลัสเตอร์ที่ต้องเสี่ยง

.

◾ หากนักท่องเที่ยวเข้าค่ายติดเชื้อ สามารถกดคลิ๊กเดียวในแอป หรือโทรแจ้งที่Hotline เพื่อเรียกหน่วยตรวจATK มาเทสได้ถึงสถานที่ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ


◾ เมื่อพบนักท่องเที่ยวติดเชื้อ ต้องดำเนินการแยกไปใน hospitel หรือโรงพยาบาลเฉพาะนักท่องเที่ยว โดยมีค่าใช้จ่ายการรักษาตามจริง จนหายสมบูรณ์จึงอนุญาติให้ออกจากพื้นที่ได้

.

.


ยังขอย้ำเหมือนเดิม ทุกอย่างต้องทำเร็ว - ประเมินเร็วกว่า สปีดของหน่วยงานราชการปกติ หากตัวเลขติดเชื้อที่เกิดจากนักท่องเที่ยวมากผิดปกติ ...ต้องพิจารณาทบทวน หยุดมาตรการเปิดประเทศนี้โดยทันที ห้ามรอรี

.

.

เพราะทุกชีวิตสำคัญ.. ไม่ว่าคนในชาติ หรือผู้มาเยือน


วางแผนให้ดี เพื่อผลลัพธ์ที่ดี อย่าเปิดให้เค้ามาเที่ยวผจญภัย


แบบชีวิตแขวนบนเส้นด้าย..


ซึ่งส่งผลติดลบ กับประเทศไทยซะยิ่งกว่า..

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

เปิดประเทศไทย พร้อมหรือยัง? กับ 6 มาตรการสำคัญ

ประเทศไทย พร้อมเปิดหรือยัง...

คำถามเดียวเลยที่มีคือ ถ้าไม่เปิดตอนนี้จะเปิดเมื่อไหร่?

.

น่าแปลกใจมากที่ไทยตัดสินใจจะเปิดประเทศ เพราะส่วนใหญ่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธชุดนี้ มักจะรอทำตามรัฐบาลประเทศจีน ที่มีนโยบายปิดประเทศ ซึ่งไม่น่าเป็นวิธีที่ยั่งยืนนัก...

.

.

เมื่ออัตราการฉีดวัคซีนเริ่มเป็นที่น่าพอใจ คืออยู่ที่ 33.3% เท่ากับว่าในประชากร 3คน ฉีดวัคซีนครบสองโดสแล้ว 1คน... ประเทศที่พึ่งพาเม็ดเงินต่างชาติจากการท่องเที่ยว และลงทุนอย่างไทย ควรพิจารณาเปิดก่อนจะสาย เพียงแต่ต้องมีมาตราการป้องกัน(Protocol) อย่างมีระบบ ... เช่นการตรวจPCR ที่สนามบินขาเข้า, การให้นักท่องเที่ยวแสดงวัคซีนพาสปอต, ความสามารถในการtrackตำแหน่งพวกเค้าได้ ไม่ว่าจะด้.วยการให้ลงแอปมือถือ เป็นต้น

.

.

เมื่อพิจารณาจากประเทศอย่าง สหรัฐอเมริกา ผู้แทบไม่เคยปิดพรมแดน เค้าเปิดให้คนเดินทางเข้าออก ตั้งแต่ที่อัตราการฉีดน้อยหนึ่ง จนตอนนี้ตกอยู่ที่ราว 50กว่า% ซึ่งก็ถือว่าน้อยมาก... แต่ด้วยความที่เป็นประเทศต้นแบบทุนนิยม เค้าปล่อยครับ... คนไทยที่เดินทางไปเที่ยวเล่นถอดหน้ากาก บอกว่าอเมริกาปลอดภัย ไปฉีดวัคซีน.. ก็ติดโควิดเงียบมาหลายราย นี่คือเรื่องจริง

.

.

ประเทศก็เหมือนบริษัทสตาร์ทอัพ ถ้าคุณอยากไปต่อก็ต้องเปิด.. ก็ต้องลอง.. ก็ต้องเสี่ยง.. เสี่ยงในระดับที่พอควบคุมได้ มันไม่มีหรอกปลอดภัยไร้เชื้อ 100%.. ถ้ารอถึงจุดนั้นไทยก็สตาร์ทไม่ทัน และแพ้ภัยให้กับทั้งโลก แบบที่ไล่ตามเค้าไม่ทัน

.

เพียงแต่รัฐต้องเอาจริง

.

และต้องมีมาตรการเปิดประเทศ ที่ให้คนในประเทศเชื่อมั่น!! ไม่ใช่ทำลอยๆ

.

สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงตามนี้..

.

.

1) ตรวจเทส PCR ทุกคนที่สนามบินขาเข้า!! งดรับผลที่ตรวจมาจากประเทศขาออก.... เพื่อความแม่นยำกว่า เพราะบางเส้นทางใช้เวลาเดินทางเป็นวัน หรือ2วัน ซึ่งทำให้ผลอาจเปลี่ยนแปลงได้

.

.

2) เช็คประวัติการรับวัคซีน จากพาสปอต นักท่องเที่ยวที่เข้าได้ต้องได้รับวัคซีนครบโดสตามวัคซีน ที่WHOให้การยอมรับ

.

.

3) สามารถจะtrack ตามตัว นักท่องเที่ยวที่เข้ามาได้ real time เพื่อที่จะสามารถยับยั้ง หรือตามตัวได้ทันที เมื่อเกิดเหตุระบาดขึ้นมาจริงๆ ..อาจเป็นวิธีให้นักท่องเที่ยวลงแอปมือถือ แล้วใช้ไวไฟในประเทศฟรี เป็นต้น

.

.

4) เตรียมหน่วยสาธารณสุขพิเศษ ร่วมกับทีมการท่องเที่ยวที่สามารถสื่อสารภาษาต่างชาติได้ดี.. เปิดhotline เฉพาะที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดต่อง่าย เมื่อเกิดเหตุ เพื่อความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวเช่นกัน

.

.

5) เมื่อพบนักท่องเที่ยวติดเชื้อ ต้องดำเนินการแยกไปใน hospitel หรือโรงพยาบาลเฉพาะนักท่องเที่ยว

.

.

6) ข้อสุดท้าย เมื่อรัฐพิจารณาถึงตัวเลขติดเชื้อที่เกิดจากนักท่องเที่ยว เกินเพดาน ที่ทีมสาธารณสุขเราจะรับได้ ไม่ว่าจะด้วยจำนวนเตียง หรือจำนวนยา ...ต้องสั่งการหยุดมาตรการนี้โดยทันที ห้ามรอ!!

.

.

หกข้อแค่นี้ ไม่มีอะไรยาก... แต่สำคัญมาก เพราะเป็นการเพิ่มความเชื่อมั่นทั้งสองฝ่าย คนมาเที่ยว และคนที่อยู่อาศัย ..ฝากไว้ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วมีไอเดียอะไร


ฝากไว้ให้รัฐเค้าคิสหน่อย..

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

น้ำท่วม แก้ออนไลน์..ให้ไวกว่าสายน้ำ!!

◾ รัฐทั่วโลกทำกันตลอด คือแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยัง SMSของมือถือของคนในพื้นที่เสี่ยง ง่ายและคุ้มค่า ได้ประสิทธิภาพ


◾ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ติดตั้งเซนเซอร์ดักตรวจระดับน้ำ ไว้บนรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งวิ่งวนอยู่ทั่วประเทศ เมื่อมีการน้ำท่วมขังตรงหย่อมไหน จะส่งสัญญานแจ้งเตือนกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที


พูดถึงวิธีการรับมือน้ำท่วม ทางกายภาพ (Offline Solutions) ทำกันหลากหลายวิธี ทั้งการทำเขื่อน-ทำนบ, อุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน, เพิ่มเครื่องสูบน้ำ, วาล์วน้ำ แผงกั้นอัฉริยะ และอีกมากมาย ซึ่งแนวทางนี้ช่วยแก้ปัญหาก็จริง แต่ใช้งบประมาณมหาศาล อย่างอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ 6จุดในกทม. ที่กำลังจะสร้าง ใช้งบถึง 2.6หมื่นล้านบาท!


อีกมุมนึง ยังมีแนวทางการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ แต่ใช้เงินทุนน้อยกว่า โดยที่เน้นที่เทคโนโลยีการmonitor จับตาสถานการณ์ และเทคโนโลยีการสื่อสารไปสู่บุคคล โดยอาศัยเครื่องมือทางออนไลน์ (Online Solutions) .. พูดง่ายๆก็คือการแก้ปัญหาที่มองในมุมมนุษย์ (Human-Centric) มากขึ้น ไม่ได้โฟกัสที่น้ำเป็นหลัก... คือ ทุกระดับน้ำที่เพิ่มขึ้น ทุกความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประชาชนในเขตเมืองจะได้รับข้อมูลReal Time ผ่านทางสมาร์ทโฟนที่ส่วนใหญ่มีกันอยู่แล้ว ... จะได้เตรียมการกันถูกต้อง ไม่ต้องคาดเดานั่งเทียน ไม่ต้องรอให้วัวหาย-ล้อมคอก, น้ำห้อม-ล้อมกระสอบทราย อย่างทุกวันนี้


ด้วย 17 เทคโนโลยี Online Flooding Solutions


1) Remote Sensing - ดาวเทียมดักจับ

เป็นการดักจับภาพจากดาวเทียม Synthetic Aperture Radar (SAR) ซึ่งสามารถเก็บภาพมุมสูง เพื่อตรวจจับระดับน้ำที่ท่วม ในพื้นที่เป้าหมาย ส่งมาให้ทำการวิเคราะห์ และMappingพื้นที่เสี่ยงอย่างเห็นภาพรวมหมดจรด


2) Smart Camera - กล้องสอดส่อง

ขณะที่ Remote Sensing ให้เราเห็นภาพรวมน้ำท่วมในเชิงกว้าง เทคโนโลยีSmart Camera เป็นการฝังกล้องเพื่อจับภาพน้ำ เพื่อสังเกตุเป็นพื้นที่เฉพาะพื้นที่ไป ทำให้ได้รายละเอียดเชิงแคบ สามารถนำไปประเมินการพยากรณ์ได้แม่นยำ และยังช่วยการส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบหนักเป็นพิเศษ


3) Smart Buoys - ทุ่นลอยน้ำอัจฉริยะ

ทุ่นลอยน้ำอัจฉริยะ ที่ผูกติดไว้ใต้น้ำ ในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม หรือบริเวณแม่น้ำ ที่เราต้องการตรวจจับระดับ.. ทุ่นนี้จะรายงานระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลง - อัตราการไหล - อุณหภูมิ - สีของน้ำและการเจือปนกลับมายังห้องปฏิบัติการ ..ทุ่นลอยน้ำนี้สามารถ ใช้ควบคู่กับทุ่นอีกตัวที่ผูกลอยไว้ที่ปากทะเล เพื่อการเทียบระดับน้ำในพื้นที่ และระดับน้ำทะเลอย่างเป๊ะปังไม่ต้องคาดเดาอีกด้วย


4) Water Level Sensors - มาตรวัดระดับน้ำ

การตรวจวัดระดับน้ำชายฝั่งแม่น้ำ เพื่อนำข้อมูลbig-data ตามจุดแม่น้ำต่างๆ มาคำนวน ..ใช้เครื่องมือที่ติดตั้ง ตรวจจับแบบReal-time มีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ แกนเหล็กที่ขึ้น-ลง ตามระดับพื้นน้ำง่ายๆ, เซนเซอร์จับแรงดันน้ำ หรือใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค เพื่อจับระดับน้ำจากระยะไกล


5) Smart Sewerage - ท่อน้ำที่วัดปริมาตรได้

การติดตั้งมาตรวัดความหนาแน่นของน้ำ-อัตราการไหล.. ในท่อ/อุโมงค์ระบายน้ำ สามารถช่วยให้ประเมินสถานการณ์ของการเกิดน้ำท่วมขังได้แม่นยำยิ่งขึ้น ข้อดีของระบบนี้คือสามารติดตั้งเซนเซอร์แยกเข้าไปที่ท่อน้ำเก่าได้เลย แต่ปรับสภาพให้เป็นท่อ/อุโมงค์อัจฉริยะ ทำให้การประมวลผลฉับไว และแม่นยำขึ้น


6) Smart Home - ระบบบ้านอัจฉริยะ

สำหรับบางบ้าน(ส่วนน้อย) ที่มีการติดตั้งระบบบ้านอัจฉริยะ ที่ประกอบไปด้วยเซนเซอร์จำนวนหลายตัว ซึ่งสามารถตรวจจับเปลวเพลิง, แก๊สรั่ว หรือร่องรอยน้ำที่ไหลเข้ามาในบริเวณบ้าน ..เซนเซอร์จะส่งไปที่ส่วนกลาง หรือเจ้าของบ้าน ว่าต้องการแจ้งเตือนภัยหรือไม่ ก็สามารถเป็นเครื่องมือออนไลน์ที่แจ้งภัยน้ำท่วมในระบบได้


7) Biometric and Medical Online Applications - แอพพริเคชั่น หรือ เครื่องตรวจโรคที่ทำได้เอง

เมื่อเกิดน้ำท่วมขังยาวนาน หลายคนอาจลืมไปว่า ยังมีภัยแฝงนั่นคือโรคระบาดที่สามารถแพร่ได้ดีทางน้ำ (water-borne diseases) เช่นเชื้อโกวิทย์ ที่จะอันตรายมากขึ้นเมื่อมีน้ำเป็นตัวเชื่อมระหว่างคน หรือพวกแบคคทีเรีย อีโคไล ที่ก่อให้เกิดโรคอหิวา/ท้องเสียรุนแรง ดังนั้นเครื่องเทสต์ATK หรือ พวกแอพมือถือที่สามารถช่วยผู้คนประสบภัยให้สามารถเข้าถึงการดูแลจากหมอ หรือทีมสาธารณสุขได้ มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด


8) Wearables Technologies - แฟชั่นสวมใส่อัจฉริยะ

เชื่อมั้ย แฟชั่นเทคโนโลยีติดตัวอย่าง นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะ เช่น Apple W,atch สามารถตรวจวัดค่าความดัน, การเต้นของชีพจร, ระดับการนำไฟฟ้าบนผิวหนัง, การเปิดของรูม่านตา หรือ คอร์ติซอล ระดับฮอร์โมนความเครียด เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์ ที่สามารถช่วยในระดับตัวบุคคลได้ดีมาก ในกรณีเป็นผู้ที่ประสบภัย ที่ต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ..นอกจากนี้ยังมี GPS ที่สามารถรายงานตำแหน่งที่ประสบภัยน้ำท่วม และแจ้งเตือนได้อย่างแม่นยำ


9) Weather Sensors - เสาวัดสภาพอากาศ

เสาวัดสภาพอากาศเป็นเครื่องมือเล็กๆ ที่สามารถวัดค่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ, ความเร็วลม, ปริมาณน้ำฝน, แรงลม และอุณหภูมิ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ราชการใช้อยู่ประจำ.. ซึ่งในประเทศอย่าง เนเธอร์แลนด์, เบลเยี่ยม และออสเตรเลีย ที่อากาศแปรปรวน เสาทดสอบสภาพอากาศถูกใช้แพร่หลายโดยผู้คนตามบ้านเรือน ซึ่งมีการรวมข้อมูลจากเสาเหล่านี้ตามบ้าน ทำให้สามารถคำนวนพยายกรณ์การเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ แม่นยำยิ่งขึ้น


10) Smart Vehicle Data - รถตรวจน้ำท่วม

โครงการImec ในประเทศเนเธอร์แลนด์ มีการติดตั้งเซนเซอร์ดักตรวจระดับน้ำ ไว้บนรถขนส่งไปรษณีย์ ซึ่งวิ่งวนอยู่ทั่วประเทศ เมื่อมีการน้ำท่วมขังตรงหย่อมไหน จะส่งสัญญานกลับเข้ามาแจ้งเตือนกับเจ้าหน้าที่ได้ทันท่วงที


11) News - ช่องข่าว

รัฐสามารถใช้ช่องทางสื่อรัฐในมือ ทำเป็นช่องน้ำท่วม หรือรายการเฉพาะกิจ สำหรับรายงานสถานการณ์แบบสดๆ ช่วยให้ผู้คนมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ ไม่ต้องฟังจากโซเชี่ยลที่พูดกันไปในแนวทางต่างๆกัน


12) Solicited Crowd-Sourcing - เว็บรวบรวมดาต้าจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

คราวด์ซอสซิ่ง คือการระดมข้อมูลจาก หน่วยงานที่คัดเลือกเช่น กรมอุตุนิยม, สภากาชาด, หน่วยกู้ภัย, อาสาสมัครน้ำท่วมต่างๆ เพื่อที่จะแชร์ข้อมูลน้ำท่วมร่วมกัน และกระจายข้อมูลออกมาเป็นเว็บไซด์ ที่รายงานผลต่างๆ เช่นแผนผังปรมาณปริมาณน้ำขัง, บ้านเรือนที่ต้องการความช่วยเหลือ แบบreal time เป็นต้น


13) Navigation App Monitoring - แอปมือถือดูสถานการณ์น้ำท่วม

แอปอย่าง e-wasBaha สามารถช่วยประชากรหลายล้าน ให้หลีกเลี่ยงเส้นทางถนนที่น้ำท่วมใช้การไม่ได้ แบบเรียลไทม์ เมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ในเมืองมนิลา ประเทศฟิลิปปินส์


14) Unsolicited Crowd-Sourcing - เว็บรวบรวมสถานการณ์จากคนทางบ้าน

แพลตฟอร์มที่คล้ายกันกับ ข้อ12 แต่จะเปิดเสรีให้กับคนทางบ้าน สามารถกรอกรายงานระดับน้ำ หรือ ภัย/ ความช่วยเหลือเข้ามา โดยใช้ระบบpeers-to-peers ตรวจสอบกันเอง ข้อดีคือข้อมูลจะเร็วกว่า มากกว่า แต่จะมีประเด็นเรื่องความแม่นยำอยู่บ้าง


15) Siren Systems - ไซเรนเตือนภัย

ไซเรน ใช้กันแพร่หลายในการเตือนภัย ไฟไหม้ ตามตึก/ อาคารในย่านเมือง หรือ ระบบเสียงตามสายในชุมชนเล็กๆ ซึ่งสามารถปรับใช้กับสถานการณ์น้ำท่วมได้เหมือนกัน เพื่อแจ้งเตือนกับคนในพื้นที่ใกล้ๆ


16) Interactive Smart TV and Radio - อินเตอร์เน็ททีวี หรือวิทยุออนไลน์ ที่ระบุพิกัดผู้ดู

ในหลายประเทศ ที่อินเตอร์เน็ททีวีตามบ้าน สามารถแจ้งเตือนภัยในพื้นที่ เป็นหน้าจอเตือนภัย หรือข้อความแถบวิ่ง เด้งเข้ามาเฉพาะบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น พายุกำลังจะเข้าในพื้นที่.. ระวังน้ำท่วมฉับพลัน ตอน3ทุ่มในพื้นที่คุณ เป็นต้น


17) SMS Disaster Alert System - แมซเซจเตือนภัยจากทางรัฐ

ข้อนี้เป็นสิ่งที่รัฐทั่วโลกทำกันตลอด คือแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินไปยัง SMSของมือถือของคนในพื้นที่เสี่ยง ง่ายและคุ้มค่า ได้ประสิทธิภาพ ..ที่อเมริกาจะเรียก Presidential Text Alert Messages ส่งตรงมาเตือนทุกเบอร์ในพื้นที่นั้นๆ ว่าน้ำท่วม ให้อพยพ หรือติดต่อช่วยเหลือเบอร์อะไร


ย้ำอีกครั้ง.. ไม่ต้องมาครบทุกวิธี แต่ขอให้มีซักเทคโนโลยี ที่คอยสื่อสารให้ประชาชน ให้ประชาชนเป็นใหญ่ ให้ความสำคัญบ้าง อย่างพวกSMSเตือนภัยที่ใช้กันทั่วโลก.. ลงมือทำได้ทันที รอไร


แชร์ไป ฝากไว้ให้รัฐทบทวน

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

สวดมนต์ไม่ช่วยอะไร! เทคโนโลยีเตือนอุทกภัยภัย..รัฐใช้หรือยัง?

◼️ ประกาศเตือนภัยน้ำท่วม 12จังหวัด ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มีเมื่อวันอาทิตย์ ทั้งที่ปริมาณน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาวิกฤติมานานแล้ว


◼️ นายกลงพื้นที่จังหวัดสุโขทัย.. บอกขอให้ช่วยกันสวดมนต์ อย่าให้พายุเข้ามาซ้ำอีกเลย


เรื่องภัยพิบัติแน่นอนไม่มีใครอยากให้เกิด โดยเฉพาะเรื่องน้ำท่วม ที่เกิดขึ้นบ่อยๆในทุกช่วงปลายปีของไทย ... นี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะอุทกภัยเป็นภัยธรรมชาติที่คาดการณ์ได้ ถ้าใช้ความพยายามซักนิดในการจับตาดูสถานการณ์ (Monitoring) และทำการแจ้งเตือนให้เร็วที่สุด ก็จะสามารถลดคความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้

.

.

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นมายาวนาน คือ รัฐเราออกแนวจะ เน้นการแก้ปัญหาเมื่อมันสายไปแล้ว.. เหมือนวัวหายล้อมคอก - น้ำท่วมค่อยล้อมบ้าน ... เอาล่ะยุคก่อนๆ อาจจะยังไม่มีเทคโนโลยี ก็เอากระสอบทรายวางกันไปตามยาฐากรรม ..แต่นี่ปี2021 เรามีเครื่องมือที่สามารถพยากรณ์ได้ ..มีเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่กดกรี๊งเดียว คนทั้งหมู่บ้านรับรู้ผ่านโทรศัพท์ของพวกเค้า.. สามารถเตรียมการอพยพ แก้ปัญหาล่วงหน้า โดยไม่เผชิญวิบากภัยแบบไม่ทันตั้งตัวแบบนี้

.

.

เทคโนโลยีที่รัฐบาลสามารถใช้ได้ ก็คือ เทคโนโลยี Big Data และ AI ... การรวบรวมข้อมูล Big Data หาค่าปริมาณน้ำจาก แม่น้ำสายเล็กใหญ่ ที่หลวมรวมเป็นเจ้าพระยา เก็บสถิติทุกชม... เมื่อเห็นค่าตัวเลขที่เพิ่มขึ้นผิดปกติ AI ก็จะสามารถคำนวนถึงระดับน้ำ ในอนาคตข้างหน้าได้ว่า น้ำจะล้นออกทำนบ หรือฝายกั้นน้ำเมื่อใด

.

.

◼️ ประเทศจีนใช้ดาวเทียมควบคู่ กล้องวีดีโอ1000ตัว ที่จับภาพระดับน้ำใน 346แม่น้ำ รอบแม่น้ำห่วงเหอ (Yellow River) เพื่อเฝ้าระวังและส่งสัญญาน ให้ทีมวิเคราะห์


◼️ เทคโนโลยีเหล่านี้ ช่วยให้การพยากรณ์ว่า น้ำจะท่วมพื้นที่บริเวณไหนและเมื่อไหร่ แม่นยำถึง 88% ... และยังสามารถแจ้งเตือนวิบัติภัยฉุกเฉิน พวกไต้ฝุ่น, น้ำป่าไหลหลาก ได้ 38นาทีล่วงหน้า

.

.

ซึ่งถ้ารัฐที่กำกับดูแล กรม ปภ. มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีพอ สังเกตุปริมาณน้ำในเขื่อนเจ้าพระยา ที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ แบบผิดปกติตั้งแต่เดือน สิงหา - กันยา (หลายข่าวบอกมาว่ามากกว่า ปี2554) ..ก็น่าจะคาดการณ์ได้อยู่แล้ว ว่าน้ำจะเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดต่างๆ เวลาไหนเมื่อไร และทำการแจ้งเตือนภัย ไปยังชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัยล่วงหน้า ก็จะสามารถลดความเสียหายในชีวิต และทรัพย์สินที่จะเกิดขึ้นได้มหันต์

.

.

ฝากหน่วยงานไปคิดกันดู เพราะถ้ายังสวดมนต์อยู่..

.

.

คงได้สวดใต้น้ำซักวัน

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

อัพเวล SMEsไปอีกขั้น.. ด้วย "3M" ขับเคลื่อนแบบสตาร์ทอัพ ไปสู่ ”SMEs UP ⬆️”

◾ เกิดเป็นSMEs มันไม่ง่าย.. เล็กไปก็ตาย ขยายใหญ่ก็ตัน

◾ หลังวิกฤติการณ์ คาดว่าSMEsไทย จะล้มหายไปอีกกว่า 3แสนบริษัท



อยากรอดต้องปรับ ..อัพเวล SMEsไปอีกขั้น ด้วยวิธี "3M"

ขับเคลื่อนแบบสตาร์ทอัพ ไปสู่ ”SMEs UP ⬆️”

.

.

เริ่มกันที่ความความเชื่อผิดๆ



"สตาร์ทอัพ ต้องใช้เทคโนโลยีล้ำ"

.

.

ความเป็นจริงแล้วเมื่อถอดรหัสความสำเร็จ จากบริษัทสตาร์ทอัพส่วนใหญ่.. บทปฏิบัติที่สำคัญ คือการยกระดับเชิงกลยุทธมากกว่า ..บวกกับความคิดที่ รักการทดลอง, พร้อมจะเสี่ยง ..พร้อมที่จะล้มก่อน เพื่อที่จะลุกขึ้นเร็วกว่าใคร (Fail fast, Iterate quickly) และกลับมาอย่างผู้ชนะ

.

.

เทคโนโลยี เป็นเพียงเครื่องมืออำนวยความสะดวกเท่านั้น เอาจริงแค่เทคโนโลยีรายล้อมเราในชีวิตประจำวันอย่าง โทรศัพท์มือถือถ่ายรูปได้, ไลน์, อีเมล์ หรือ กูเกิลไดร์ฟต่างๆ แค่นี้ก็เกินพอ ...หรือธุรกิจใคร สามารถสร้างช่องทางขายทางchannel Shopee, Lazada, เว็บไซต์ส่วนตัว ยิ่งดีขึ้นไปอีก ...สำหรับการสลัดภาพSMEsธรรมดา สู่ SMEs UP ⬆️ ขั้นกว่า

.

.

...ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย



ปรับ"3M" จะช่วยธุรกิจของคุณได้อย่างไร?


Ⓜ️ Mindset ปรับแนวคิดใหม่

240400634_240518088015158_5809180724207812653_n.jpg



มันไม่สำคัญซักนิดว่าวันนี้คุณจะขายอะไร
เพราะคุณทำอาหารเก่ง?
เพราะอยากหารายได้เสริม
เพราะป้าต้อยตำน้ำพริกนัวมาก
เพราะรู้จักกับโรงงานผลิต


แต่สำคัญมากกว่าก็คือ...

เหตุผลอะไรที่สินค้าคุณควรมีอยู่ในตลาด
เพราะมันแก้ปัญหาให้ผู้ใช้?
.
.
จากเดิมที่SMEs เคยสนใจแค่ Profit Centric นับจากกำไรต่อชิ้นจากสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ แล้วรู้สึกมั้ยว่าทำไมมันตันๆ??? เพราะเจ้าของSMEsทุกคนดันคิดเหมือนกันหมด แข่งที่ราคาถูก... แข่งที่โปรโมชั่นกันรัวๆ
.
.
หากผู้ประกอบการลองเปลี่ยนเลนส์มอง ปรับMindset ... เริ่มโฟกัสที่ปัญหาจากกลุ่มลูกค้า, ผู้ใช้งาน (User Centric) และเสนอoffering ที่ช่วยแก้ปัญหาให้เค้า เราจะได้มุมใหม่ๆในธุรกิจเดิมอย่างง่ายดาย
.
.
ยกตัวอย่าง ร้านอาหารญี่ปุ่นเจ้าหนึ่ง ปกติคิดแค่ขายอาหารได้กำไรต่อชามที่ 40% จากราคาทุน... คิดไปเลยว่าขายเท่าไหร่ก็ได้ แต่ยังงัยร้านได้กำไรแน่ๆ 40% ...สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ร้านยืนนิ่ง รอให้ลูกค้าที่พร้อมซื้อเดินเข้ามา ในราคาที่ผู้กินรู้สึกว่ารสชาติ+ปริมาณ คุ้มกับราคาที่จ่าย ซึ่งเป็นเรื่องSubjective หากพ่อครัวฝีมือดีหน่อย ปริมาณไม่น้อยเกินไป ...ก็มีแนวโน้มจะขายได้ดี

ไหนลองเปลี่ยนMindset แล้วมองที่ปัญหา คนที่มากินคืออยากได้รสสัมผัสอาหารญี่ปุ่น(1) ... ในราคาที่สมเหตุสมผล(2) ... และต้องทำให้อิ่มฟินในมื้อเดียว(3) ....หากร้านพิจารณาจาก Goal วัตถุประสงค์ที่ผู้กินต้องการจะค้นพบว่า
.
.
...แท้จริงแล้วรสชาติอาหารอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่กลุ่มtarget concernขนาดนั้น สิ่งสำคัญคือ ประสบการณ์ที่ได้ทานอาหารญี่ปุ่น (แพคเกจจิ้งดีไซน์.. การแต่งหน้าอาหาร... ความสร้างสรรค์เมนูแบบญี่ปุ้นญี่ปุ่น..)

ราคาต้องFlexible มีเมนูทางเลือกที่จับต้องได้กับทุกคน Premium menu แพงหน่อย...
Standard Menu ราคาปกติ...
Valued menu ชุดสุดคุ้ม ...
.
.
การวางprice range หลากหลายจะตอบโจทย์ความต้องการลูกค้ามากกว่า เพราะราคาเดียวที่ทุกคนพอใจไม่มีอยู่จริง เพียงแต่เราต้องวางขึ้นมาเอง ให้ตอบสนองลูกค้าทุกคน
.
.
ข้อสุดท้าย คนกินต้องการความอิ่มฟินในมื้อ ..ก็คือเค้าต้องการการการันตีว่า มากินแล้วจบในมื้อ ไม่มีหิวโหยไปซื้อลูกชิ้นกินข้างทางต่อ ...หากร้านมองเห็นถึงจุดนี้และปรับให้ลูกค้า จะสามารถเพิ่ม Customer Satisfaction ความพึงพอใจกับลูกค้าได้มากโข
.
.
วิธีมีหลากหลาย อาจจะเป็นร้านเสนอเติมข้าวให้ไม่จำกัด ตราบใดที่ลุกค้าสั่งกับซึ่งถือเป็นราคาที่เพิ่มขึ้นน้อยนิดมาก หรือ การเสนอทางเลือกแบบ All-You-Can-Eat บุฟเฟต์กินได้ไม่จำกัด ในราคาที่คำนวนมาว่าเหมาะ
.
.
ซึ่งบุฟเฟต์เป็นตัวอย่างที่ดีของ ร้านอาหารSMEsยุคแรก ที่เริ่มมีการใช้MindsetแบบStartup ปรับเปลี่ยน ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบสินค้าที่โดนใจผู้บริโภค... เกิดเป็นBusiness Modelใหม่ ตามที่จะกล่าวในบทต่อไป
.
.
Mindset ของสตาร์ทอัพนอกจากเกิดมาเพื่อแก้ปัญหาให้ผู้ใช้แล้ว อีกอย่างที่สำคัญมากคือ Fail fast, Iterate quickly ความคิดแบบ Agile System คือทุกอย่างเคลื่อนไปข้างด้วยสปีดที่รวดเร็ว ไม่ต้องรอให้อะไรสมบูรณ์แบบก่อนค่อยทำ ไม่งั้นไม่ทันกิน
.
.
...เพราะยุคนี้คือยุคแห่งการทดลอง ที่ลูกค้าเองก็พร้อมจะเปิดใจลองอะไรใหม่ๆ ถ้าทำแล้วไม่เวิร์ค ก็แค่กลับลำ.. แล้วหาอะไรเริ่มใหม่จนกว่าจะเจอนั่นเอง



Ⓜ️ Model เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ



เมื่อรูปแบบธุรกิจที่ใช้อยู่ไม่เวิร์ค หรือไม่ทันสถานการณ์ ลองใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเล่นแร่แปรธาตุอีกหน่อย..

หนึ่งในจุดที่SMEsตันที่สุด คือความคิดที่เราต้องจำกัดกับการขาย Asset Sale ซื้อมาขายไป แล้วได้กำไรต่อชิ้น จบ... โมเดลนี้กลายเป็นเรื่องมาตรฐานที่ทุกSMEsใช้ เป็นเหตุให้หลายบริษัทไม่น่าสนใจ ไม่ดึงดูด เพราะมีแค่กลไกลราคาที่สามารถแข่งขันกันได้
.
.
เชื่อมั้ยยังมี Business Model มีเป็น 10แบบบนโลก ที่ทำให้รูปแบบธุรกิจคุณดูโดดเด่น และมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ในขึ้นในสายตาผู้บริโภค เช่น
.
.
◾ Subscription Model
ระบบผูกปิ่นโตรายเดือน/ รายสัปดาห์ ใช้ได้ทั้งการสินค้าและบริการ

เช่น Netflix, เครือข่ายมือถือ
.
.
◾ Bundling Model
ระบบยำ ขายทุกอย่างเป็นเซ็ต เหมาะกับสินค้าที่ขายชิ้นเดียวแพง ขายรวมถูกกว่า หรือ อาจเป็นการอำนวยความสะดวกกับลูกค้าจบในที่เดียว

เช่น Makro, ร้านอาหารทำCatering, บริษัทรับเหมา, เอเจนซี่
.
.
◾ Freemium Model
โมเดลยอดฮิตในเกมออนไลน์ หรือแอปออนไลน์ต่างๆ ให้ใช้ฟรี
แต่เก็บตังเมื่อต้องการใช้งานทุกฟังค์ชั่น

เช่น Youtube, Spotify, ฟิตเนส ที่ให้ทดลองใช้ฟรี
.
.
◾ Hook & Bait Model
ระบบปลากินเหยื่อ ขายสินค้าตั้งต้นถูกก่อน เพื่อขายสินค้าชิ้นต่อไปในราคาแพงขึ้น

เช่น ด้ามมีดโกนหนวดถูก แต่ใบมีดแพง, ปรินท์เตอร์ถูก ตลับหมึกแพง
.
.
◾ Accessories Model
เป็นโมเดลการขายสินค้าที่หลากหลาย และเปลี่ยนบ่อย เพื่อเติมเต็มสินค้าหลัก

เช่น iPhone, Playstation, รถยนต์
.
.
◾ Leasing Model
โยกจากการขายขาดแบบ Asset Sale เป็นโมเดลให้เช่า แล้วเก็บค่าบริการ

เช่น อสังหาริมทรัพย์, เครื่องมืออุปกรณ์เช่ายืมต่างๆ
.
.
◾ Franchise Model
ข้อนี้คงเริ่มคุ้นๆหูคนไทย.. นี่คือการขายโมเดลธุรกิจ ให้ผู้สนใจไปทำต่อ มีหลากหลายรูปแบบ และแต่ตกลงตามสัญญา

เช่น 7-11, ร้านFast Food
.
.

นี่เป็นเพียง 7ตัวอย่าง.. ที่บริษัทเล็กๆสามารถลองปรับตัวเอง เพื่อลองใช้แนวทางโมเดลการทำเงินแบบอื่นได้
.
.
นอกจากนั้น สิ่งที่SMEs ควรรู้ก็คือสิ่งที่ตนเองขายอยู่ไม่ว่าสินค้า หรือบริการเค้าเรียกว่า Value Proposition... ความหมายคือเรากำลังเสนอขายเซ็ตValuesบางอย่าง สิ่งใดๆก็ตามแต่ ที่มีมูลค่าต่อใจลูกค้า

เพราะฉะนั้น ข้าวไม่ใช่ข้าว 1จาน แต่เรากำลังขาย 1อิ่ม/ 1อร่อย ให้ลูกค้า...
.
.
โรงแรม 1ห้อง ไม่ใช่โรงแรม 1ห้อง ...แต่คือการขายความสะดวกสบาย/ ประสบการณ์พักอาศัยนอกสถานที่ 24ชม.
.
.
ครีมบำรุง ไม่ใช่ครีมบำรุง 1กระปุก ...แต่คือการขายความพึงพอใจในการดูแลตัวเอง/ การยกระดับการดูแลสุขภาพผิวหนัง
.
.
หากพิจารณาแล้วว่าของที่เราขาย มันคือเซ็ตมูลค่าบางอย่างในใจลูกค้าเราสามารถ turn things around แก้เกมพลิกแพลงได้หมด

...จากร้านข้าวแกงธรรมดา สู่สตาร์ทอัพหนึ่งอิ่ม

ปรับโมเดล ด้วยการให้ลูกค้าจ่ายเงินflat rateแบบบุฟเฟต์กินสนองความอิ่มเค้า...
.
.
หรือ ปรับเป็นร้านที่ใช้โมเดล Subscription ผูกปิ่นโตข้าวแกง30วัน นำส่งความอิ่มถึงบ้าน
.
.
ลองมองโมเดลใหม่ๆ ว่าอันไหนที่เหมาะ จะสามารถพาบริษัทคุณไปยังที่หมายใหม่ ตลาดใหม่.. ที่คุณยังไม่เคยไป แล้วลองเริ่มดูซะ


Ⓜ️ Monitor รวบรวมข้อมูล





เชื่อมั้ยData หรือข้อมูลลูกค้า คือกุญแจสำคัญที่สุดของธุรกิจยุคใหม่..???
.
.
เพราะข้อมูลลูกค้าคือสะพานต่อยอดให้เกิด Growth ต่อเนื่องไม่รู้จบ อย่างที่บริษัทเทคหรือสตาร์ทอัพ อย่างพวกเฟสบุ๊คที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัว, พฤติกรรมการซื้อของออนไลน์, รสนิยม จากไลฟ์สไตล์ การสะสมนี้ไม่ใช่ว่าเค้าจะสนใจอะไรผู้ใช้ขนาดนั้น เพียงแต่ต้องการดักเอาข้อมูลคุณทั้งหมด นำไปประเมินเพื่อเดาว่าคุณมีแนวโน้มจะใช้, จะซื้อ, จะตัดสินใจ แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปเร่ขายให้บริษัทอื่นๆ..
.
.
นอกจากนั้นการที่บริษัทนึง สามารถเก็บข้อมูลหลังการใช้งานว่าผู้ใช้แฮปปี้ หรือติดขัดมีปัญหาตรงไหน ข้อมูลนี้บริษัทสามารถนำกลับไปแก้ไขให้ดีขึ้น ในเฟิร์มแวร์ หรือ รุ่นใหม่ๆตต่อไป... ข้อมูลส่วนตัวลูกค้ายังมีประโยชน์ในแง่การเเพิ่มโอกาสการขาย เช่นเมื่อบริษัททราบช่องทางติดต่อ, วันเกิดของลูกค้า ...เมื่อต้องการโปรโมตโปรโมชั่น ทางบริษัทสามารถยิงตรงไปหาได้เลย
.
.
....หากคุณเป็นSMEs ที่ยังขายสินค้าแบบซื้อเสร็จแยกทางเราขอให้คุณเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่วันนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีซักนิดเดียว
.
.
...ร้านข้าวแกง สามารถรวบรวมfeedback อาหารใหม่แต่ละชนิดจากลูกค้า ด้วยการถามปากเปล่าก่อนออกจากร้าน ว่าถูกปากมั้ย? มีการรวมคะแนนrating แต่ละถาดเมนูกับข้าว ให้แม่คครัวรุ้ว่าอาหารไหนควรปรับ อะไรต้องทำเพิ่ม ..ส่วนลูกค้าคนอื่น เมื่อเห็นคะแนน ก็ช่วยให้ตัดสินใจเลือกเมนูได้ง่ายขึ้น
.
.
...เมื่อลูกค้าเข้าร้าน อย่าปล่อยให้หลุดมือ จัดการให้เค้าแอดไลน์ร้านเป็นเพื่อนกันไว้ แล้วให้ส่วนลด5บาท-10บาท อะไรก็ตามแต่

...ทีนี้ร้านข้าวคุณก็มีdataลูกค้า เมื่อต้องการโปรโมทเมนูใหม่, สาขาใหม่ หรืออยากให้คนสั่งเดลิเวอรี่ ก็สามารถทำได้เสร็จสรรพ
.
.
นี่แหละพลังของข้อมูลที่เกิดจากการรวบรวมข้อมูล ที่ธุรกิจเล็กๆแบบไหนก็ทำได้เลย โดยไม่ต้องอาศัยเทคโนโลยีใดๆ
.
.
แล้วคุณจะรออะไร อัพเวลเป็น SMEs UP ตั้งแต่วันนี้ ..เริ่ม!

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ เริ่มจากอะไรเล็กๆ #popcat

 

24 ชั่วโมงที่แล้ว คนไทยเกือบทั้งประเทศยังไม่รู้จัก เว็บไซต์ Popcat.click ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มให้ชาวเน็ตเข้าไปกด ให้แมวตัวนึงอ้าปากไปมา

ภาพตัดมาเพียง 1วันให้หลัง ชาวไทยดีใจถึงกับหลั่งน้ำตา กับชัยชนะเหรียญทอง จากการระดมเข้าไปช่วยกันกดจากชาวเน็ตทุกสารทิศทั่วประเทศไทย

 

ถึงแม้นี่คือชันชนะเล็กน้อย บางคนมองว่าปราศจากสาระ ทำให้โลกร้อนไปวันๆ.. แต่ผมกลับมองเห็น Key Learning ข้อคิดที่สำคัญ 3อย่าง ที่ล้างคำปรามาสลักษณะ stereotype ดั้งเดิมของคนไทย ได้แก่

.

.

1| คนไทยทำงานกลุ่มไม่เก่ง

.

น่าแปลกใจมากที่งานกลุ่มครั้งนี้ ชาวเน็ตทีมชาติไทยระดมแรงกันเข้าไปคลิ๊กทั้งสิ้น 3.7หมื่นล้านคลิ๊ก (ตัวเลขตามข้อมูลขณะเขียนบทความ) เทียบจากประเทศไทย มีประชากร 69.88 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 48.59 ล้านคน คิดเป็น 530คลิ๊ก/คนไทยหนึ่งคน ...นั่นถือเป็นการทำงานหนักพอสมควรเลย เพราะส่วนตัวผมเคาะไปได้ถึง 100ที ก็ปิดหน้าจอไปทำอย่างอื่นแล้ว...

.

.

2| คนไทยใช้เทคโนโลยีไม่เป็น

.

ชัยชนะครั้งนี้คงไม่ได้พึ่งแค่ Manpower แรงคนกดจริงๆ แต่มีการใช้Auto-Click จากกลุ่มชาวเน็ตไทยที่รู้ว่าใช้โปรแกรมคลิ๊กอัตโนมัติต้องทำอย่างไร จะเห็นได้จากยอดความเร็วของการกดช่วงกลางคืนตี2 - ตี3 ที่ชาวเน็ตไทยส่วนใหย่นอนหลับแล้ว แต่เลขจำนวนแมวอ้าปาก กลับไม่ลดลงไป รักษาระดับที่ 2-3แสนครั้ง ต่อวินาที

.

.

3| ไม่แพ้ชาติใดในโลก แค่คำโฆษณา..

.

กว่า20ปีก่อน มีคำโฆษณาจากเครื่องดื่มเจ้าหนึ่งบอกว่า "คนไทยถ้าตั้งใจ ไม่แพ้ชาติใดในโลก" คำนี้เหมือนเป็นแค่กิมมิคพูดให้กำลังใจ แต่ในเคสนี้จะเห็นเลยว่า ชาวเน็ตไทยมี Championship Mindset อยู่... คือจิตใจที่จะไม่ยอม(เกรียน)แพ้ชาติไหน

.

.

เรื่องนี้สำคัญเพราะ ทางเกมกีฬา mindsetของผู้ชนะ สามารถตัดสินเกมการแข่งขันเกมนั้นได้เลย ..ระหว่างนักมวยที่ต่อยกันระบมจนถึงยกสุดท้าย ทั้งคู่เหนื่อยอ่อนจนอยากทิ้งตัวนอนบนเวทีทั้งคู่... แต่วินาทีตัดสินผู้ชนะคือ คนที่จิตใจยังยืนหยัดอยู่ ถึงแม้ตัวไม่ไหว เก็บอาการ มุ่งมั่นเดินเข้าหาต่อไป.. คู่แข่งที่ใจไม่แข็งเท่าจะถอดใจ และยอมแพ้ในที่สุด

.

.

สรุปก็คือ เมื่อชาวไทยมองไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีดราม่ามาไขว้เขว เทพลังไปที่งานอย่างเดียว (Task-centric) บวกกับการเข้าถึงเทคโนโลยี ที่แต่ละบุคคลสามารถใช้งานได้ ไม่ยุ่งยาก.. ทีมไทยที่มีหัวใจผู้ชนะอยู่แล้ว มีศักยภาพที่สามารถต่อกรกับประเทศทั่วโลกได้หมด...

.

.

ว่าแล้ว ก็เข้าไปช่วยทีมไทยกดต่อ..

https://popcat.click/

ไทยแลนด์ ปู๊นๆ..

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ล็อคดาวน์อนาคตเด็ก ปิดการศึกษา1ปี ??

ล็อคดาวน์อนาคตเด็ก ปิดการศึกษา1ปี??

◾ ปลัดกระทรวงศึกษา อ้างเด็กนร.เรียนออนไลน์แล้วเครียด ทำให้การเรียนไม่ได้ผล..??

◾ นักวิชาการจากเกษตรศาสตร์ ชงนโยบายหยุดการเรียนการสอน 1 ปี ..เพราะนร.เรียนออนไลน์แล้วเครียด ทำให้มีปริมาณโดดเรียน 20%

.

.

ที่เครียดที่สุด เห็นจะเป็นทางผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาซะมากกว่าเด็กๆ.. เพราะยังไม่มีปัญญาที่จะคิดหาทางออกให้เด็กนร.ได้ ทั้งที่วันเปิดเทอมปีการศึกษาใหม่จ่ออยู่ข้างหน้านี่แล้ว ..เด็กคือวัยแห่งการปรับตัว เค้าสามารถใช้ระยะเวลาสั้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ได้เร็วกว่าคนวัยอื่น..

.

.

จากประสบการณ์สอนเด็กนักศึกษาในชั้นอุดมศึกษาอยู่หลายปี ค้นพบว่าเด็กส่วนใหญ่ปรับตัวได้ดีเมื่อเข้ามาในคลาสออนไลน์ และผ่อนคลายเมื่อได้อยู่หน้าจอที่เค้าคุ้นเคย.. แถมเด็กมีแนวโน้มจะมีส่วนร่วม - ตอบคำถามกับคลาสง่ายขึ้น เพราะสามารถพิมพ์ตอบโต้ผู้สอนโดยไม่ต้องยกมือ.. ความเครียดเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเบื้องต้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นธรรมดา เมื่อมนุษย์อยู่ในสภาวะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

.

.

ส่วนเรื่องอัตราการโดดเรียนนั้น ลองไปส่องดูในโรงเรียนรัฐในยามปกติ ที่เด็กโดดเรียนกันเป็นว่าเล่นที่ไม่น่าจะน้อยกว่า 20%ที่ผู้ใหญ่ในศธ.กังวลนักหนา ...


ขณะที่รร.รัฐหลายแห่งกำลังทะยอยเปิดภาคการศึกษาอยู่วันมะร่อ ทางรัฐยังไม่ประกาศฟันธง หรือ มีมาตรการส่วนกลางชัดๆ ว่าจะมีแนวทางทำให้เด็กนักเรียน-นักศึกษา กว่า10ล้านคน ..เรียนออนไลน์ได้อย่างไร ..


..มีแต่การชดเชย ชดใช้-แจกเงิน ตามความถนัดของรัฐบาลทหาร ที่เตรียมใช้งบ 32,000ล้านบาท ..เอาไปแจกค่าทำขวัญกับผู้ปกครองแต่ละบ้าน ในวงเงินไม่เกิน 2,000บาท ...แน่นอน 2พันสำหรับบางบ้าน ก็ช่วยเยียวยาให้มีข้าวกิน-หลับนอนไปได้ ...แต่นี่พูดถึงการศึกษา อนาคตของเด็กทั้งชาติ ที่ยังไม่มีทางออก จนส่อว่าจะหยุดเรียนไปเลย 1ปีเต็ม ที่มูลค่าความเสียหายมากกว่า 2พัน หลายเท่าตัว อาจเปลี่ยนให้เด็กบางคนหลุดออกจากระบบการศึกษาไปชั่วชีวิต


กระทรวงกล้าเดิมพันกับความเสี่ยงเหล่านี้? ผลวิจัยจากองค์กรOECD บอกว่าความเสี่ยงของเด็กนักเรียนกลุ่มที่ต้องหยุดเรียนในภาวะวิฤตินี้(Learning loss) จะทำให้สูญเสียค่าเฉลี่ยรายได้ส่วนบุคคล และทักษะการทำงานด้อยลง เมื่อจบไปทำงาน.. อีกทั้งยังซึ่งยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง ต่อภาพรวมเศรษฐกิจของชาติในระยะยาว.. นอกจากล็อคดาวน์เมือง เรากำลังจะล็อคดาวน์อนาคตของเด็ก จากแค่ผู้ถืออำนาจรัฐไม่ใช้ปัญญาในการแก้งั้นหรือ?

.

.

...ทำไมไม่ใช้ 32,000ล้านเดินหน้า ให้การศึกษาชาติไปต่อได้ ตั้งทีม edTech ร่วมมือกับเอกชนก็ได้ ทำการเรียนการสอนทางไกลจากcenter โดยจัดให้ครูประจำชั้นให้หน้าที่เป็นเพียง moderator ผู้ดูแล เพื่อลดปัญหา ..ส่วนเรื่องHardware อุปกรณ์นั้น ต้องทำการแยกกลุ่มผู้ปกครองและเด็กนร. ที่มีความพร้อม กับไม่มีความพร้อม

.

.

◾ กลุ่มมีความพร้อม มีอุปกรณ์+ความรู้ความสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ทได้ สนับสนุนค่าซิมอินเตอร์เน็ต 79.- ใช้ได้ตลอดเทอม โดยอาศัยความร่วมมือกับกสทช.


◾ กลุ่มมีความพร้อม ไม่มีอุปกรณ์.. รัฐทำการเช่าซื้อแทบเล็ตเพื่อการศึกษา ราคาถูก ส่งต่อให้เด็กนร. คิดค่าเช่าเป็นค่าใช้จ่ายรวมไปกับค่าเทอม.. ครูและนักเรียนในคลาส ช่วยให้ความรู้ในการใช้งานเครื่องมือช่วงต้นเทอม


◾ กลุ่มไม่มีความพร้อม ไม่มีอุปกรณ์.. ไม่ทิ้ง แต่ใช้สื่ออื่นเข้าทดแทนในการเรียนแทน เช่น ช่องทีวีรัฐเพื่อการศึกษา หรือ แบบเรียนด้วยตัวเองส่งทางจดหมาย ..แล้วใช้วิธีดั้งเดิมคือครูประจำวิชาโทรประเมิน และให้คำปรึกษา หากเด็กคนไหนมีข้อสงสัยเพิ่มเติม

.

.

ทั้งหมดคือการจัดการข้อมูลที่ดี หมดยุคแล้วที่แบ่งเด็กโดยชั้นเรียน/ โรงเรียน เพราะพื้นฐานแต่ละบ้านไม่เหมือนกัน ครูบางคนก็ยังใหม่ๆมากๆสอนออนไลน์ไม่คล่อง.. เอาระบบ edTechส่วนกลางที่ดีเข้าทดแทน ให้เรียนจากcenter ครูคอยเป็นพี่เลี้ยง ถึงจะพอแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

.

.

สรุปคือแทนที่กระทรวงศธ. จะหนีปัญหาด้วยการปิดการเรียนการสอนทั้งปี ควรใช้โอกาสนี้ในการปรับตัวโครงสร้างการเรียนการสอนใหม่ในยุค Digital ...จากที่โรงเรียนและครูเคยเป็นศูนย์กลาง ปรับเปลี่ยนเป็นระบบ Student-Centric ที่ให้นร.เป็นศูนย์กลาง นำระบบแพลทฟอร์มให้ความรู้ออนไลน์เสิร์ฟให้เหมาะกับนร.ที่บ้าน ให้เค้าสามารถเรียนรู้เองได้

.

ทันยุคทันสมัย ปรับตัวเองให้เด็กน่าจะดี

.

อย่าให้นร.หยุดเรียน 1 ปี ...บุคลากรยังรับเงินเดือนฟรี 1 ปี

.

มันจะไม่งามหน้าซักเท่าไร..

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

แนะให้.. 7 เทคโนโลยีดีๆ ที่รัฐบาลไม่ได้ใช้สู้วิกฤติ

1| Vaccine Patch

ใครว่าการฉีดวัคซีนต้องเป็นหน้าที่เฉพาะของแพทย์ และพยาบาลเท่านั้น ยิ่งในช่วงเวลาแบบนี้ ที่บุคลากรแพทย์มีจำนวนจำกัด.. สตาร์ทอัพจากประเทศออสเตรเลีย นามว่า Vaxxas ได้ทำการคิดค้นการฉีดวัคซีนแนวใหม่ โดยใช้เพียง “แผ่นสติ๊กเกอร์บางๆ” แปะที่หัวไหล่ ..จากเข็ม microprojections ขนาดเล็กจำนวนเป็นพันเข็ม สามารถส่งน้ำวัคซีนผ่านชั้นผิวหนังมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่แพ้การฉีดแบบดั้งเดิม

สิ่งสำคัญคือไม่เจ็บ ไม่ต้องใช้ความชำนาญใดๆ เป็นอนาคตในการขจัดปัญหาเรื่องการเข้าถึงวัคซีนของคนทั้งประเทศ เพราะสามารถกระจายส่งไปถึงบ้านเป้าหมาย แต่ละบ้านให้คนฉีดกันเองได้หมด.. ไม่ต้องต่อคิวรอแออัดอย่างภาพข่าว

**เทคโนโลยีนี้อยู่ระหว่างการวิจัยขั้นสุดท้าย

vaccine-patch-final (1).jpg





2| USDR Volunteer

USDR หรือ United State Digital response ระบบการหาอาสาสมัครอาสาสมัครในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการสรรหากลุ่มอาสาสมัครที่มีความสามารถพิเศษทางเทค และสามารถโค้ดโปรแกรม เพื่อช่วยแก้ปัญหาวิกิฤติโดยเฉพาะ.. แพลตฟอร์มรวมตัวครั้งนี้ สามารถทำให้ทีมgeekแบบนักโค้ดโปรแกรมกลายเป็นนักรบช่วยชาติได้ ไม่แพ้กับทีมนักรบชุดขาวของรพ.เลย.. เพราะสามารถช่วยรัฐบาล และองกรณ์NGO ในช่วงนี้ไปแล้วในการ จัดการBig Data ผู้ป่วย, Tracing แทรคตามคนที่มีแนวโน้มว่าติดเชื้อ, จัดข้อมูลสต๊อคของยารักษาโรค ช่วยในการกระจายของอย่างมีประสิทธิภาพ และอื่นๆอีกมาก



3| SHIELD48

Shield_23-04-20_318_Full_1280x1920px-683x1024.jpg


หน้ากากล้ำเทคโนโลยีตัวนี้เป็นผลิตผลของ global hackathon ที่จัดขึ้นจากรัฐบาลประเทศเอสโตเนีย คัดหานวัตกรรมใหม่ที่จะช่วยแก้เรื่องวิกฤติ ภายในเวลาเพียง 48ชม. เค้าได้ผลงาน SHIELD48 หน้ากากที่ออกแบบมาเพื่อบุคลากรการแพทย์ด่านหน้าโดยเฉพาะ ด้วยการใช้วัสดุกันสารคัดหลั่ง และergonomicที่รับกับใบหน้าดีพิเศษ หน้ากากนี้ลดการตติดเชื้อขณะปฎิบัติหน้าที่แทบ 100% ..ขณะนี้ใช้กันแพร่หลายในรพ.ประเทศลัตเวีย


4| Seeketing

maxresdefault (6).jpg

หนึ่งในเทคโนโลยีที่ดีมากๆในการควบคุม Social distancing อย่างมีประสิทธิภาพ สตาร์ทอัพจากประเทศสเปน คิดค้นการดักจับ และมอนิเตอร์การรวมคลัสเตอร์ ของคนภายในบริเวณที่อาจเกิดความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อ.. โดยใช้เพียงตัวจับสัญญาณโทรศัพท์มือถือ หากในระยะเซนเซอร์มีจำนวนมือถือเกินกว่าที่ตั้งไว้ ระบบจำไม่การเตือนไปให้มีการแยกตัว..

Screen Shot 2021-08-02 at 2.28.14 AM.png





ระบบนี้เหมาะมากๆในการนำมาใช้กับร้านค้า, ร้านอาหารบ้านเรา ไม่ต้องถึงกับล๊อคดาวน์ปิดตาย แต่รัฐสามารถอนุญาติให้เปิดได้ และใช้การตรวจจับ จากเทคโนโลยีนี้ หากจำนวนลูกค้าที่นั่งกินในร้านแน่นเกินที่กำหนด จึงส่งเจ้าหน้าที่มาเตือน หรือลงโทษด้วยการปิดเป็นลำดับถัดไป




5| De-centralised Tracing


ระบบติดตามคนป่วยจากไวรัสย้อนหลัง ในประเทศส่วนใหญ่ จากใช้การรวมข้อมูลที่ศูนย์กลาง (Centralised tracing) ยกตัวอย่างเช่นรัฐบาลไทยให้คนไทยโหลดแอปหมอพร้อม ส่วนหนึ่งคือเพื่อการติดตามไทม์ไลน์ หากใครมีการติดเชื้อ.. แต่ระบบรวมทุกอย่างที่ศูนย์กลางนั้นทำให้ทำอย่างยุ่งเหยิงด้วยตัวข้อมูลที่มากเกินไป และผู้ใช้ต้องทำการอนุญาติให้ตัวแอปสามารถtrack โลเคชั่นของผู้ใช้ได้..


Google และแอปเปิ้ล 2บริษัทยักษืใหญ่มือถือ จึงร่วมกันทำระบบdecentralised tracing ที่ไม่มีการรวมข้อมูลที่เซิฟเว่อร์กลาง เว้นแต่เมื่อมีการติดเชื้อจริง.. เมื่อเจ้าของมือถือผู้ติดเชื้อ ทำการกดรายงานว่าเค้า/เธอติดแล้ว ระบบจึงคำนวนย้อนหลังโดยใช้การจับ ข้อมูลคล้ายแบบBlockchain แล้วมีการเปิดเผยข้อมูล-การติดต่อ-สัมผัสกับผู้อื่น ในวันเวลาไหนบ้าง.. ระบบนี้นอกจากเคารพเรื่องคความเป็นส่วนตัวในการเปิดเผยข้อมูล ยังเป็นการจัดการข้อมูลได้ดีกว่า ไม่ยุ่งเหยิง เจ้าหน้าที่ทำงานน้อยลง

6| Partnered Medicine delivery

Australia-Post-shutterstock_311489750-e1550575407939.jpg

ปัจจุบันเมื่อผู้ป่วยทะลักโรงพยาบาล ปริมาณผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) เพิ่มขึ้นทุกวัน การลำเลียงยาแจกจ่ายในประเทศไทยยังมีปัญหาเยอะ.. จะดีกว่ามั้ยถ้ารัฐร่วมมือกับบริษัทขนส่งใหญ่อย่าง ไปรษณีย์ไทย, เคอรี่ หรือแม้กระทั่งแกรบ ให้ดำเนินการแจกจ่ายยาทุกเช้าตามพื้นที่ ..อย่างที่รัฐบาลออสเตรเลีย ร่วมมือกับ Australia post ที่ช่วยแจกจ่ายยา 500กรัม ให้กับคนไข้ ลดการเกินทางไปรพ. หรือรับยาที่ร้านขายยา ..ปัจจุบันโครงการนี้จ่ายยาอื่นๆ ให้ผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อด้วย เพื่อลดการเดินทางภายในเมืองโดยไม่จำเป็น

7| SPOTON

spoton.png

รัฐบาลในหลายประเทศ (ไม่แน่ใจประเทศไทยด้วยมั้ย? เอิ่ม..ไม่หรอก) ทำการลงทุนในการประดิษฐ์เทคโนโลยีดักจับผู้ที่มีโอกาสป่วย จากการใช้อินฟาเรดจับความร้อน.. วันนี้ที่ประเทศสิงคโปร์ รัฐบาลทำ SPOTON ตัวAI จับคลื่นความความร้อนที่ทรงอานุภาพ เพราะสามารถเช็คได้ถึง 10คนรวดเดียว ไม่ต้องต่อแถว.. แถมสามารถแยกแยะความร้อนที่เกิดจากการถือถ้วยกาแฟ หรือสภาพอากาศร้อนจัดได้อีกด้วย โดยมีค่าคาดเคลื่อนที่น้อยสุดๆเพียง 0.2 องศาเซลเซียส

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

"กระทรวงเทคโนโลเทค” พักก่อนนะ.. ได้เวลาGovTech

เรื่องสำคัญในรอบสัปดาห์ผ่านมาคือ ประเด็นเรื่องที่กระทรวงเทคโนโลยี (ที่low-techเหลือเกิน) ยื่นฟ้องดารา และอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ถูก call out ให้กร่นด่ารัฐบาล.. มองข้ามประเด็นเรื่องการเมืองไป สิ่งที่น่าเกลียดเหลือเกินคือ การที่รัฐใช้อำนาจรัฐในฐานะเป็นผู้ดูแลสาระสนเทศ ของประเทศ ยื่นการฟ้องผู้คนที่แสดงเสียงเล็กเสียงน้อย ซึ่งแน่นอนไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรเลย ..กับคดีค่าปรับ 2000บาท?!?


ประเด็นนี้คล้ายว่า รัฐบาลมองว่า “กระทรวงเทคโนโลยี = หน่วยงานควบคุมเทคโนโลยี” เกินไปมาก.. หรือนี่คือมุมมองเดียวที่รัฐบาลโดยแกนนำอดีตทหาร รู้จักเทคโนโลยี ..นั่นฟ้องถึงวิสัยทรรศน์ที่ไม่ก่อให้เกิดการพัฒนาอะไร ถ้าคุณมาบริหาร เพื่อกดทับความเจริญก้าวหน้าของมัน ย่อมเป็นการทำลายเทคโนโลยี พากันให้เดินถอยหลังลงคลอง.. แน่นอนเกิดจากผู้บริหารที่ไม่ประสาด้านนี้ ไร้ความสามารถโดยสิ้นเชิง


หากแต่ กระทรวงเทคโนโลยีควรทำตัวเป็นเพลตฟอร์มที่สร้างความร่วมมือระหว่าง tech company, สตาร์ทอัพ, ภาคส่วนอื่นๆ เพื่อเอื้ออำนวยการการช่วยเหลือประชาชน ทั้งระบบการติดต่อราชการส่วนกลาง การเดินเอกสารที่ล้าหลัง และเรื่องการmonitor ตรวจสอบการอาชญกรรมเทคโนโลยี อย่างเรื่องการแฮคข้อมูล, การสร้างข่าวปลอม, การปลอมแปลงต่างๆ ค่อยเป็นเรื่องสุดท้าย การตรวจสอบต้องทำโดยระบบที่ดีพอ มีคความโปร่งใสในการใช้อำนาจ ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติเป็นกรณี ตามที่ผู้บังคับบัญชาเขียนใบสั่งออกมา ..เป็นเพียงเครื่องมือเล่นงานศัตรู อันนี้ไม่ควรเรียกว่า”งานราชการ” ด้วยซ้ำไป

640x390_718442_1474093625.jpg



GovTech หรือ Government Tech คือการที่รัฐใช้เทคโนโลยี เป็นตัวเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกในการทำงานแทนที่การติดต่อและเข้าถึงภาครัฐแบบเดิม และส่งมอบประสบการณ์ด้านบริการสาธารณะให้ดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว รัฐอาจจัดทำเอง หรืออาจจัดหา ผู้รับจ้าง ที่เป็นภาคเอกชนมาให้บริการแทนก็ได้

ยกตัวอย่างในช่วงโควิด มีการล๊อคดาวน์ บังคับปิดการขายอาหารที่ร้าน “กระทรวงเทคโนโลเทค” ไม่ได้ซัพพอร์ตอะไรเลย ที่จะเอื้อให้ประชาชนทั่วไปสั่งเดลิเวอรี่ง่ายขึ้น หรือ ร้านอาหารข้างทางที่ยังไม่มีหน้าร้านออนไลน์ เอาเค้าเข้ามาในระบบ.. ผ่านช่องทางที่รัฐประสาน หรือ ร่วมมือกับแพลตฟอร์มเอกชน อย่าง Grab, Foodpanda, LineMan

ไม่ต้องพูดถึงธุรกิจค้าขาย Retail ทั่วไป ที่กระอักเลือดพอๆกัน ตามสถิติแล้ว ร้านค้ายุคเก่าที่ไม่มีช่องทางขายออนไลน์ สูญเสียรายได้ต่อเนื่องมากกว่า50% ตลอดช่วง10ปีที่ผ่านมา และในกลุ่มร้านค้าดังกล่าว ปิดตัวกิจการเองลงไปแล้วจำนวนกว่าครึ่ง.. เมื่อมีการปิดเมือง เป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงเทคโนโลยี จะนำพาเอาร้านค้าเหล่านี้เข้าลงทะเบียน ช่วยผู้ประกอบการยุคเก่าให้เข้าใจกับระบบซื้อผ่านออนไลน์



ในช่วงโควิด ประเทศมาเลเซีย รัฐมีนโยบาย 3เดือนก่อนปิดเมือง ช่วยผู้ประกอบการทั่วไปและร้านค้าเก่า เข้าสู่ระบบขายออนไลน์ อย่าง Lazada Malaysia โดยส่งคนเข้าช่วย และจัดlive steaming เพื่อจูงใจให้เถ้าแก่เก่าๆเห็นภาพว่ามีดีมานลูกค้าอยู่จริง.. ด้วยงบเพียง 1,000ล้านบาท แต่วัดจากระดับการเติบโตของmarket cap การซื้อออนไลน์ในประเทศ ทำให้มาเลเซียใช้วิกฤติเป็นโอกาส พา e-commerce ภายในประเทศเติบโตสูงสุด ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


◾ประเทศสเปน กระทรวงเทคโนโลยี ออก Govtechlab Madrid สร้างเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยการติดระหว่างคน กับภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น, ประเทศฮอลแลนด์ ออก “Startup in Residence Program” ให้ทุนทีมสตาร์ทอัพ แก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมที่อยู่อาศัยในเมืองอัมสเตอร์ดัม อย่างเป็นรูปธรรม



◾ ในปี2014 อเมริกา GovTech จัด accelerator program ที่ซานฟรานซิสโก ประกวดเทคโนโลยีที่แห้ปัญหาภายในเมือง เช่นเรื่องระบบเดินทางรถรางในเมือง และให้ทีมที่ชนะจัดทำแอพพลิเคชั่นจริง ..ผลลัพธ์คือ รัฐสามารถจัดจ้างเอกชนมีความสามารถในราคาย่อมเยาว์ ผู้คนได้รับการแก้ปัญหา “ด้วยเทคโนโลยี อย่างแท้จริง”

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า กระทรวงเทคโนโลยี ในความหมายของอารยะประเทศ คือหน่วยงานที่ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาให้ผู้คน.. โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนทำเองทั้งหมด หากแต่คอยประสาน สนับสนุนให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างภาคเอกชน และสตาร์ทอัพ รวมถึงSMEsเล็กๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่..



อย่างช่วงโควิดบ้านเรา ปัญหาที่รุนแรงที่สุดคือ ระบบการหาเตียงผู้ป่วย ล้มเหลวเพราะญาติผู้ป่วย ไม่สามารถติดต่อภาครัฐได้ ต่อให้โทรcall center ทุกเบอร์จนสายไหม้ ..ดีกว่ามั้ยถ้ารัฐใช้ GovTech พัฒนาแพลตฟอร์ม ระบบการแสดงผลเตียงในรพ.ทั่วประเทศ ที่รองรับผู้ป่วยได้แบบ เรียลไทม์.. ผู้ป่วยไม่ต้องรอแบบไม่มีความหวัง ญาติก็ไม่ต้องกระหน่ำโทรอย่างบ้าคลั่ง โรงพยาบาลก็ไม่ต้องนั่งรับโทรศัพท์ทั้งวัน สำคัญที่สุดคือสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อีกมาก.. นี่ดิ เทคโนโลยีสำคัญ!



ส่วนเรื่องปรับ-จับ คนเขียนด่ารัฐบาลในเน็ต

ปล่อยให้เป็นหน้าที่ ตำรวจมั้ย



ก็ถนัดทำตามใบสั่ง.. อยู่แล้วนิ



#SaveSMEs #SaveMilli #SaveThaiTechnolgy #GovTech

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ถึงเวลา "ล๊อคดาวน์" รัฐบาลหรือยัง?

 

หากล๊อคดาวน์ คือปิดบางส่วน เพื่อรักษาสถานการณ์โดยรวมให้ดีขึ้น..

..เราควรล๊อคดาวน์ตรงไหนกันแน่?

 





เวลาตี 1 วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน ..รัฐบาลไทยประกาศราชกิจจานุเบกษา ออกข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน บลา บลา.. พูดซะยืดยาว จริงๆก็คือล๊อคดาวน์ รอบที่4 ภายในพื้นที่เขตกทม. และอีก 9จังหวัด ..ไม่มีใครสงสัยในประเด็นการพยายามแก้ปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มแคมป์คนงานก่อสร้าง แต่การสั่งล๊อคดาวน์เหมาเข่งทั้งหมด ทั้งร้านอาหาร, ภาคเอกชน, บริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ ที่มีจำนวน 20คนขึ้นไป กระทบระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทั้งหมด ..ถามว่าจำเป็นมั้ย?




เข้าใจว่าท่านไม่ได้มีความรู้ที่ถ่องแท้เรื่องเศรษฐกิจ เป็นชายชาติทหาร กับกลุ่มแพทย์, นักวิชาการ ..แต่เราฝากให้ท่านลองย้อนคิดดูด้วยว่าปัญหาที่อยู่ใน ”พื้นที่เฉพาะ” อย่างการระบาดภายในแคมป์คนงาน จำเป็นมากมั้ยกับการต้องบังคับปิด ”ทั้งจังหวัด”




ในทีมท่านมีใครนั่งเคาะตัวเลขในเครื่องคิดเลขหรือไม่ ว่ามูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ และประชาชนหาเช้ากินค่ำทั่วพื้นที่เป็นมูลค่ากี่หมื่นล้านบาท ถ้าต้องปิดทีเดียว 30วัน.. ซึ่งไม่จำเป็นซักนิด หลายประเทศอย่างออสเตรเลีย เค้าปิดกันเป็นสัปดาห์ ต่อสัปดาห์.. เรากำลังอยู่ในยุคที่ทุกอย่างต้อง agile คือเคลื่อนไหวเร็ว ปรับเปลี่ยนเล็กน้อยให้ได้ประสิทธิภาพ ไม่ใช่บังคับใช้อำนาจแบบไม่มีการวางแผน และใส่กรอบเวลาแบบระบบราชการโบราณ “30 วัน”




แน่ล่ะ พวกท่านไม่เคยคิด.. ในความเป็นจริงท่านไม่เคยแคร์ด้วยซ้ำไป เพราะการเติบโตจากหน้าที่ข้าราชการ กินเงินเดือน กินเบี้ยเลี้ยงประชุมเดือนต่อเดือน ..ทำให้ท่านไม่มีมุมมองของผู้ประกอบการณ์ที่สร้างตัวจากการให้รายได้ โปะหนี้ที่ลงไปกับการลงทุน, คนหาเช้ากินค่ำ รับจ้างดิ้นรนให้ได้ค่าจ้างซื้อข้าวปลาให้ครอบครัวกินในทุกวันที่ผ่านพ้น ..ลองลดเงินเดือนพวกท่านลงซัก 35% คงพอทำให้คิดได้ดีขึ้น




◾30 วัน ที่ร้านอาหารหลายร้านต้องปิด.. เหมือนรัฐบาลบังคับให้เค้าปิดกิจการถาวร

◾30 วัน ที่พนักงานเสิร์ฟอาหารไม่มีงานทำ.. เหมือนรัฐบาลบังคับให้เค้าเดินทางออกนอกพื้นที่ ไปหางานทำที่บ้านเกิด หรือ ตามจังหวัดอื่นๆที่ไม่มีข้อบังคับ ..ซึ่งเท่ากับเป็นความล้มเหลวโดยสิ้นเชิง สำหรับมาตราการที่ต้องการจำกัดการแพร่ และเดินทางออกแบบนี้

◾30 วัน กับภาคเอกชนอื่นๆ โรงงาน, สถานบันเทิง, กองถ่าย, ศูนย์บริการต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายกันเองเนื่องจากไม่สามารถเปิดทำการได้




ที่สำคัญนี่คือรอบที่4 เข้าไปแล้ว และยังคงไม่มีการเยียวยาใดๆ ..นอกจากเสียงหัวเราะคิกคัก ในหมู่ผู้บริ-ทหาร ที่ชู 2นิ้ว แล้วบอกว่าสบายมากนะจ้ะ





ประเด็นไฮไลท์อีกเรื่องคือ “Integrity” หรือในภาษาไทยเรียกว่าความโปร่งใส ต่อขอบเขตหน้าที่ ที่สังคมควรตั้งคำถาม ทั้งนายกรัฐมนตรี และคณะศบค. ทั้งหมด เมื่อมีการแถลงข่าวว่าจะไม่มีการล๊อคดาวน์ใดๆ เมื่อวันก่อน ..แต่ดันมีการกลับคำ ถือใช้อำนาจมาล๊อคดาวน์ ในวันถัดมา”เวลาตี1” ช่วงเวลาหลับนอนของมนุษย์ทำงาน




แสดงถึงความไม่จริงใจกับประชาชนภายใต้การปกครอง แม้ว่าเจตนาคือการหลอกแคมป์คนงานที่เป็นแหล่งติดเชื้อ ไม่ให้เกิดการเคลื่อนย้ายก็เถอะ แต่การลวงคนทั้งประเทศไปด้วย โดยไม่คำนึงถึงผลเสียหายต่อทุกภาคส่วนที่ตามมา เป็นเรื่องที่ให้อภัยมิได้ นี่คือพิษส่วนหนึ่งที่เกิดจากรัฐบาลชุดนี้ ตลบหลังประชาชน




เจ้าของกิจการร้านอาหาร นอกจากสูญเสียรายได้ในการขายอาหารภายในร้านเป็นเวลาหนึ่งเดือน แย่ไปกว่านั้นคือ การที่สับขาหลอกพวกเค้าเมื่อวันศุกร์ ว่าจะไม่มีการล๊อคดาวน์ ทำให้หลายร้านอาหารยกหูโทรศัพท์ สั่งเพิ่มสต๊อกของสำหรับทำอาหารทั้งเดือนต่อไป ..นี่คิดเป็นความเสียหายโดยตรง ที่ทำให้ของวัตถุดิบการปรุงอาหารเน่าเสียจำนวนมหาศาล




◾ ประเทศนอร์เวย์ รัฐบาลมีการจ่ายค่าสต๊อคอาหาร, ดอกไม้, พืชพันธ์ุ แม้กระทั่งอาหารแห้งที่หมดอายุ สำหรับร้านค้าที่ได้รับผลกระทบ ตลอดช่วงเวลาที่ถูกปิดล๊อคดาวน์




..ล๊อคดาวน์ ไม่ใช่ทางออก เป็นแค่ทางหนีปัญหา ถ้าอยากเผชิญปัญหา รัฐต้องแก้ไปที่ต้นเหตุอย่างเรื่องแคมป์คนงาน ควรส่งเจ้าหน้าที่สาธาณสุขไปประกบตั้งแต่กลางสัปดาห์ แสดงตัวและเข้าช่วยเหลือ โดยการันตีไม่ให้มีการดำเนินเรื่องเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่งั้นก็เผ่นแนบกันหมด อย่างที่มีภาพข่าวออกไป..




..ทุกวันนี้ วิธีแก้โควิดทั่วโลกที่effective ได้ผลที่สุด เห็นอยู่แล้วว่าไม่ใช่เอะอะล๊อคดาวน์ ห้ามตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อ ..หากแต่คือสร้างตัวเลขคนมีภูมิต้านทานให้ทัดเทียม หรือมากกว่า ..รัฐบาลทำหน้าที่ตรงนี้ได้ดีพอรึยัง?




หากล๊อคดาวน์ คือปิดบางส่วน เพื่อรักษาสถานการณ์โดยรวมให้ดีขึ้น..




คำถามเดียวก็คือ..




ถึงเวลาล๊อคดาวน์ “รัฐบาล” หรือยัง?

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

“ซอฟท์โลน” ..ช่วยSMEs หรือช่วยไปไกลๆ?

 

◾ รู้มั้ย? ซอฟท์โลน 5แสนล้านปีที่แล้ว ของรัฐบาล ช่วยSMEsเพียง0.02% จากจำนวนบริษัททั้งประเทศ

◾ กว่า 90% ของSMEsที่ยื่นกู้ มีคุณสมบัติเบื้องต้นตามเกณฑ์พิจารณาการปล่อยกู้ แต่ถูกปฏิเสธโดยไม่มีความชัดเจน

 

ขึ้นชื่อว่าSMEs บริษัทรายย่อย เป็นธุรกิจที่เริ่มยากแต่พังง่าย.. มีความเปราะบางเป็นทุนเดิม คือแม้กระทั่งภายใต้สถานการณ์ปกติ มีเพียงแค่ 44% ที่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่ขาดทุน หรือมีกำไรภายในปีแรก.. ไม่ต้องพูดถึงภายใต้สถานการณ์วิกฤติโควิด ที่ปาไปเป็นรอบที่3 จะหนักหนาสาหัสเพียงไหน..

แนวทางยอดฮิตที่รัฐบาล นิยมออกมาเพื่อแก้ปัญหา หนึ่งคือพักชำระหนี้ เฉพาะลูกหนี้กับธนาคารรัฐบาล อันนี้จิ๊บๆ แทบไม่มีความสำคัญ

อีกอันนี่ซิ มีนามว่า “ซอฟท์โลน”ในตำนาน

“ ซอฟท์โลน คือ เงินกู้ที่มีเงื่อนไขในการให้กู้ยืมที่ดีกว่า เงินกู้ทั่วไปในท้องตลาด กล่าวคือ อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ระยะเวลาให้กู้ยาวกว่ารวมทั้งมีระยะเวลาผ่อนผัน” ..ดีทุกตัวหนังสือ แต่คือกู้จริงแทบไม่ได้?!?



แผนภาพนี้แสดงผลถึงวันที่ 13 ก.ค. 63 เท่านั้น

แผนภาพนี้แสดงผลถึงวันที่ 13 ก.ค. 63 เท่านั้น

เริ่มจากความเดิมตอนที่แล้ว กับผลงานโดดเด่นแห่งปี “พรก.ซอฟท์โลน 500,000 ล้านบาท” ปีที่แล้วของรัฐบาล ที่ประกาศชัดว่ามาช่วย SMEs จากโควิด-19 รอบแรก.. แต่เมื่อถึงเวลาจริง มีการอนุมัติสินเชื่อไปเพียง 130,000 ล้านบาท.. .ให้กับSMEs จำนวนประมาณ 7หมื่นราย จากจำนวนทั้งสิ้น 3ล้านกว่าราย คิดเป็น 0.02% จากSMEsทั้งหมด.. สะท้อนว่าบริษัท SMEs ส่วนใหญ่ 99.8% ยังเคว้งเอวังอยู่ในวิกฤติ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ซอฟท์โลนอยู่ดี เพราะติดปัญหาเรื่องการพิจารณา จากเกณฑ์ยิบย่อยมาโดยตลอด.. เงินช่วยเหลือที่เหลือ 3.7แสนล้านหายไปไหน เก็บไว้ทำอะไรตลอดหนึ่งปี ในช่วงเวลาที่ธุรกิจพินาศ ล่มสลายไปกว่าครึ่งค่อน

ถ้าคุณเป็นSMEs ที่ต้องการเงินกู้ซอฟท์โลน คุณต้องผ่านหลักเกณฑ์เป็น 10ข้อ และต้องมีสินทรัพย์ที่ค้ำประกันเงินกู้ได้ แค่นั้นยังไม่พอยังมีเรื่องลับลวงพลาง แล้วแต่อารมณ์เจ้าที่รัฐ หรือเบื้องบนว่าจะเคาะค้อนอนุมัติให้คุณหรือไม่ ..ที่บอกว่าไม่มีมาตรฐานนั้นเพราะ SMEs หลายรายที่มีความพร้อมตามเกณฑ์ กลับถูกปฏิเสธโดยไม่มีการแจงเหตุผลใดๆ



ตัวอย่างเคส บริษัทSMEsหนึ่ง ที่ผ่านหลักเกณพ์แทบทุกสิ่ง ถูกปัดคำร้อง โดยแจ้งว่า”ไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น”

ตัวอย่างเคส บริษัทSMEsหนึ่ง ที่ผ่านหลักเกณพ์แทบทุกสิ่ง ถูกปัดคำร้อง โดยแจ้งว่า”ไม่ผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น”



 

นี่คือรายชื่อ กองทุนที่รัฐบาลเคย(อ้างว่า) ออกมาเพื่อช่วยSMEs..

1) กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

  • โครงการเงินทุนพลิกฟื้นวิสาหกิจขนาดย่อม (วงเงิน 1,000 ล้านบาท)

  • มาตการฟื้นฟูกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (วงเงิน 2,000 ล้านบาท)

  • โครงการสนับสนุน SMEs รายย่อย วงเงิน (10,000 ล้านบาท)

2) เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครัวเรือนและหัตถกรรมไทย

3) สินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ (วงเงิน 10,000 ล้านบาท)

4) โครงการฟื้นฟูและเสริมศัพยภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสำหรับ SMEs-คนตัวเล็ก (วงเงิน 8,000 ล้านบาท)

5) โครงการสินเชื่อ SME โตไว ไทยยั่งยืน (วงเงิน 3,000 ล้านบาท)

 


สรุปตรงนี้อีกทีว่า สำหรับSMEs ซอฟท์โลนเหมือน”ผี” ..รู้ว่ามี แต่ไม่เคยเห็น

แต่ก็อาจเป็นเจตนารมณ์เดียวกันเพราะ รัฐบาลก็แค่อยากให้รู้ว่ามี.. แต่SMEsเอื้อมไม่ถึงเองแค่นั้น

สิ่งที่รัฐบาลขยันเก่ง ทุกวันนี้คือการประโคมโฆษณา ลด-แลก-แจก-แถม แบบประชานิยมโบราณ คร่ำครึ กับกลุ่มชาวบ้าน แบบฮาร์ดเซลล์ไร้แบบแผน.. กับการห้อยชื่อทุกโครงการที่ใช้”เงินภาษี” พ่วงกับคำที่คล้ายกับชื่อพรรคการเมืองพรรคนึง โดยบังเอิญ เช่น โครงการ “กองทุนพัฒนาSMEs ตามแนวประชารัฐ”, “โครงการประชารัฐสร้างไทย”, “ธงฟ้าประชารัฐ”

นึกดูเล่นๆ อีกหลายสิบโครงการที่สามารถเติม”ประชารัฐ” ด้านหลังเข้าไปได้อย่างเนียนๆ เช่น คนละครึ่งประชารัฐ, เราชนะประชารัฐ, บัตรสวัสดิการแห่งประชารัฐ, เราไม่ทิ้งกันประชารัฐ, เราเที่ยวด้วยกันประชารัฐ, ม.33. เรารักกันประชารัฐ

..

..

..

เขียนถึงตรงนี้แทบอาเจียน


ขอยาดมประชารัฐ ซักหลอดเถอะ..








Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ปรับ-ตัด-ฟ้อง? ..เมื่อรัฐไม่แยแส ทางแก้SMEsคืออะไร

เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ผมได้เห็นบรรดาสเตตัสในโซเชี่ยล ของเจ้าของกิจการเล็กใหญ่ตัดพ้อพร้อมกัน โดยมิได้นัดหมาย.. ว่าธุรกิจเค้าอาจไม่ได้ไปต่ออีกแล้ว.. หลายคนทำร้านอาหาร ที่สามารถเปิดให้ลูกค้านั่งได้แค่ 1/4, หลายคนทำธุรกิจที่ยังถูกปิดตาย ขยายไปจนสิ้นเดือน, อีกหลายรายผลิตสินค้าและบริการ ที่ลูกค้าไม่มีอารมณ์ซื้อภายใต้บรรยากาศแบบนี้ ..เราอยู่ช่วงเวลาที่แย่เหลือเกิน นอกจากเรื่องโรคภัยระบาดแล้ว สิ่งที่เห็นชัดเจนที่สุดคือความเพิกเฉย ที่รัฐไม่แย่แส ต่อ SMEsเล็กๆทั่วประเทศ จำนวน 7.7แสนกว่าราย

 

ทางเยียวยาเดิมๆที่รัฐหยิบยื่นให้ คือ ซอฟท์โลน เงินกู้ที่พาให้SMEs เป็นหนี้หัวโตมากขึ้น..

การยืดการชำระหนี้ ซึ่งดูเผินๆ เหมือนช่วย แต่เรื่องจริงก็คือ SMEsต้องจ่ายดอกเบี้ยรายเดือนมากขึ้นอีกด้วย.. จากจำนวนเดือนที่ยืดออกไป

ช่วยตัวเองดูเหมือนเป็นทางออกเดียวของ SMEs

 

ทางแก้ที่เป็นรูปธรรม ได้แก่

1) ตัดรายจ่ายทิ้ง (Cost cutting) สิ่งที่ผู้ประกอบการทำอย่างแรกคือลดเงินค่าใช้จ่ายประจำ (fixed cost) เช่น ผุ้บริหารงดรับเงินเดือนตัวเอง, ลดรายจ่ายอื่นๆ ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าสังสรรค์, ปรับเงินเดือนลูกจ้างลงชั่วคราว จาก ลด10%… ลด20%… ลด50%… ไปจนถึงให้พนักงานส่วนนึงออก ไม่ว่าทางเลือกไหนล้วนลำบากใจทั้งนั้น แต่เพื่อการคงไว้ขององค์กร เจ้าของกิจการจำเป็นต้องเด็ดขาด

วิธีทำของบริษัททั่วไปคือ หัวหน้าฝ่าย จัดลำดับพนักงานที่มีความสำคัญ ทำการคัดรายชื่อพนักงานที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับฐานเงินเดือน …แล้วทำการตกลงเพื่อจ่ายค่าชดเชย เพื่อlay off ให้พนังานคนนั้นออกจากงาน

 

◾ บริษัท Amazon ยักษ์ใหญ่e-commerce จากอเมริกา ตั้งเป้าlayoffพนักงานในแต่ละแผนกจำนวน 6% ทุกปี เพื่อรักษาพนักงานสกิลสูงที่สุด ให้อยู่ในองค์กรเท่านั้น

◾ผลการศึกษาชั้นนำจาก Harvard Business Review บอกว่าบริษัทที่มีการlayoff พนักงาน มีผลกระทบ ทำให้พนักงานที่ยังอยู่รอดในบริษัท มีประสิทธิภาพในการทำงานลดลงถึง 20%

 

2) ย้ายที่ (Relocate) ย้ายสถานที่ทำงาน-ที่ขายสินค้าไปที่อื่น ให้ค่าเช่าถูกลง หรือลดปริมาณพื้นที่ลงมา ไปจนถึงเลิกเช่าสถานที่ แล้วหันเหไปทำออนไลน์ หรือ Work From Home แบบเต็มตัว

3) วิ่งหาสถาบันเงินกู้ (Request a loan) ข้อนี้ควรระวัง ระหว่างการที่เพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ได้ในช่วงสั้นๆ แต่ก็เป็นเพิ่มภาระหนี้ให้กับธุรกิจคุณขึ้นไปอีก แม้เป็นการกู้ยืม soft loanจากรัฐ ดอกเบี้ยต่ำก็ตาม

4) ปรับเปลี่ยนสินค้าและบริการใหม่ไปเลย (Adopt the new model).. หลายธุรกิจถือโอกาสพลิกโฉมสินค้าบริการไปเลย เช่นร้านค้าเครื่องสำอางค์หันมาขายแอลกออล หน้ากากอนามัย, ร้านชาบู เปลี่ยนไปขายทุเรียนส่งตรงถึงบ้าน หรือร้านอาหารบุฟเฟต์ที่ถูกห้ามนั่งทานในร้าน ให้พนักงานเดินไปเสิร์ฟลูกค้าถึงที่รถแทน เป็นต้น

5) เลิกกิจการ (Close down) เลิกก่อนเจ็บไปกว่านี้ ปล่อยเซ้ง หรือขายให้นักลงทุนอื่นที่สนใจ แน่นอนราคาไม่ดี แต่ก้ดีกว่าexit แบบไม่ได้อะไร

6) ฟ้อง (Sue the government) รวมตัวกันเพื่อยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากรัฐต่อศาลปกครอง.. นี่คือวิธีสุดท้าย สำหรับห้างร้านSMEs ที่เสียผลประโยชน์ จากการถูกสั่งปิดจากรัฐ จนนำไปสู่การเลิกกิจการ นำเอาหลักฐานความเสียหายรวมกันให้มากบริษัทที่สุด ย้ำว่าต้องรวมตัวกันให้ได้เยอะที่สุด แล้วทำการร้องเรียนสู่ศาลปกครอง..


 

“ ศาลปกครอง มีอํานาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่าง หน่วยงานของรัฐ กับเอกชน อันเนื่องมาจากการใช้อํานาจทางปกครอง การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ การปฏิบัติ หน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การกระทําละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครอง หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง “

 


ดังจะเห็นได้ว่า กลุ่มธุรกิจที่ได้รับความเสียหาย ยังมีช่องที่จะสามารถร้องเรียนให้ศาลปกครอง ให้เรียกค่าชดเชยจากกรณีที่ หน่วยงานของรัฐปฏิบัติการแก้ไขเรื่องโควิดล่าช้า หรือใช้อำนาจรัฐในการบังคับปิด หรือล๊อคดาวน์ หรือลดเวลาทำการ ก่อให้เกิดความเสียหายโดยตรงกับธุรกิจ โดยมิได้รับการเยียวยาแต่อย่างใด

 

◾ เมื่อเดือนเมษาที่ผ่านมา ประเทศสโลวะเกีย ร้านค้าขนาดกลางถึงใหญ่ จำนวน80ร้าน อัตราจ้างพนักงานรวมกันถึง300,000คน รวมตัวกันฟ้องศาลดำเนินคดีกับรัฐบาล เนื่องจากการบังคับล๊อคดาวน์ประเทศเกินกว่าที่ประกาศ จากที่แจ้งว่า 60วัน แต่ปิดจริงรวมเป็น 100วัน.. โดยไม่มีการชดเชยค่าเสียหายใดๆ ..เรื่องกำลังอยู่ในการพิจารณาคดี


◾ ขณะที่ประเทศอังกฤษ เมืองเลสเตอร์ ผู้ประกอบการรวมตัวกัน 10บริษัท เพื่อฟ้องร้องรัฐบาล เรื่องการจัดการบริหารผิดพลาด หลังจากที่รัฐประกาศล๊อคดาวน์อย่างไม่จำเป็น เมื่อเดือนมิถุนาคม ปี2020 ส่งผลต่อผลประกอบการบริษัท และชาวเมืองเลสเตอร์จำนวนมาก สูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวที่ซาลง

 

ไม่ว่าเลือกทางไหน ทางผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกท่าน ที่สู้มาจนถึงวันนี้.. ไม่อยากโลกสวยด้วยการบอกว่า เราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ด้วยกัน.. แต่ไม่ว่าธุรกิจใครยังไหว หรือยืนต่อไม่ไหวไม่เป็นไร เราขอคาราวะใจของคนที่ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ

SMEsเรา ก็คงต้องสู้ด้วยวิธี “ตัด - ปรับ - ฟ้อง”

เพราะเสียงร้องเราไม่เคยดังไปถึงรัฐบาล

Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

ผลข้างเคียงดีๆ.. ที่วัคซีน มีกับเศรษฐกิจ

 

◾เศรษฐกิจจีนพุ่งขึ้น 18.3% ในไตรมาสแรกของปี2021 หลังฉีดวัคซีนโควิด (ซิโนฟาร์ม)ให้ 18%ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ คิดเป็น 253ล้านคน

◾อิสราเอล ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้ประชากรไปแล้ว 62.6% รวดเร็วที่สุดในโลก ทำให้ยอดการจ้างงานพุ่งสูงขึ้นมากที่สุดในรอบหลายปี

 


หลายคนสับสน อีกหลายคนกลัว.. เมื่อพูดถึงการฉีดวัคซีนโควิด 19 ..ไม่แปลกครับ เพราะความกลัวนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยภาวะความไม่แน่ใจ ในความปลอดภัยทั้งสุขภาพกาย และความว้าวุ่นทางใจ และไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่มีmovement ความเคลื่อนไหวที่จะไม่รับการฉีดวัคซีน.. ตัดภาพไปที่ประเทศแม่อย่าง สหรัฐอเมริกา ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตวัคซีนอย่าง Pfizer และ Moderna ก็ประสบปัญหาเรียกประชาชนของเค้าให้เข้ามารับการฉีด แบบเดียวกัน ดูได้จากจำนวนประชากรที่ฉีดครบ 2เข็มไปแล้ว ที่มีไม่ถึง20% (ฉีดเข็มแรกไปแล้ว 45%) ซึ่งน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านเอเชียเรา อย่างบาห์เรนซะอีก

เหมือนฝรั่งต่างชาติ เมื่อลองอาหารไทยครั้งแรก อาจมีอาการ”นีโอโฟเบีย” รุ้สึกว่าเผ็ดมาก จนอยากคายออกมา

เหมือนฝรั่งต่างชาติ เมื่อลองอาหารไทยครั้งแรก อาจมีอาการ”นีโอโฟเบีย” รุ้สึกว่าเผ็ดมาก จนอยากคายออกมา

ความกลัวเหล่านี้ ตามทฤษฎีเรียกว่า “นีโอโฟเบีย“ (Neophobia) มนุษย์เมื่อเผชิญกับสิ่งใหม่ เราจะรู้สึกถึงความเสี่ยงที่ทวีคูณขึ้นหลายเท่าตัว.. หลายๆเสียงที่ได้ยินกันในสื่อโซเชียลคือ กลัวผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น หลังถูกฉีดวัคซีนบางยี่ห้อ เช่นอาการลิ่มเลือดอุดตัน (Blood Clot)




..แต่เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว อาการแทรกซ้อนแบบนี้แท้จริงแล้ว เกิดขึ้นน้อยมาก ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเชิงสถิติ.. ประเทศชิลี มีผู้ที่ประสบภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หลังการฉีดวัคซีนซิโนแวค 42คน ..หลังทำการฉีดไปแล้วถึง 15ล้านคน คิดเป็นตัวเลข 0.00028% ..เทียบง่ายๆ คือทุก 3แสนคนที่ฉีด จะมีคนมีอาการ 1คน ..ซึ่งน้อยเอามากๆ




พูดถึงผลข้างเคียงกับมนุษย์กันไปแล้ว อีกด้านนึงคือ ผลข้างเคียงที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจ.. อัตราการฉีดวัคซีนเทียบกับจำนวนประชากรในประเทศนั้นๆ (Vaccination rate) มีผลมากๆกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศ อีกทั้งมีผลกับความมั่นใจของนักลงทุน, นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่จะเลือกกลับมายังพื้นที่ที่ปลอดภัยที่สุด เป็นที่หมายแรก.. เหมือนนักท่องเที่ยวจากประเทศเรา ที่ก็มองหาที่ๆปลอดภัยก่อนเป็นจุดหมายแรก ที่จะไปเที่ยวหลังโควิดซา



ตัวเลขจำนวนประชากรแต่ละประเทศ ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 1เข็ม

ตัวเลขจำนวนประชากรแต่ละประเทศ ที่ฉีดวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 1เข็ม



 

◾ประเทศบาห์เรน กำลังจะกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และถูกจับตามองมากที่สุดของนักลงทุน หลังจากการฉีดวัคซีนไปถึงที่ตัวเลข 47%ของจำนวนประชากร

◾ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศว่าความขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นถึง 7.25% หลังจากตัวเลขการฉีดวัคซีนให้ประชาชนเป็นที่น่าพอใจ โดยฉีดแล้วสูงถึง 52% เร็วเป็นอันดับ 2ของโลก

 


หลายๆประเทศรัฐบาลมองข้ามช็อต มุ่งเน้นฉีดวัคซีนให้ไวที่สุดกับพลเมืองในประเทศ ซึ่งเมื่อเกิน 60%ของประชากรแล้ว ซึ่งเป็นระดับที่สามารถสร้าง Herd Immunity ภูมิคุ้มกันหมู่ได้.. เค้าสามารถเปิดประเทศได้ก่อนใคร เพราะเมื่อมีประชากรส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกัน แปลว่ามีเสถียรภาพในการลงทุน มั่นใจว่าจะไม่มีระลอก5-6-7ตามเข้ามา ให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักอีก.. อีกทั้งหลายเมืองมีวิสัยทัศน์(กว่าเรา) ที่ต้องการกลับมาปังกว่าใคร เค้าเริ่มใช้การฉีดวัคซีนมาเป็นเครื่องมือการตลาดที่จะล่อนักท่องเที่ยวให้กลับเข้ามา เช่นเมืองนิวยอร์คซิตี้ และมัลดีฟ ที่มีแพคเกจล่อนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยว ถ้าอยู่ตามระยะเวลาที่กำหนด แถมการฉีดวัคซีนให้เลยที่สนามบิน



มัลดีฟ ทำวาระแห่งชาติกระตุ้นการท่องเที่ยว

มัลดีฟ ทำวาระแห่งชาติกระตุ้นการท่องเที่ยว

โครงการ Vaccination Program เข้ามาเที่ยวแถมวัคซีน

โครงการ Vaccination Program เข้ามาเที่ยวแถมวัคซีน

ไม่ว่าคุณจะกลัวผลข้างเคียงของวัคซีน, ไม่ชอบการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพของรัฐบาล หรือเหตุผลส่วนตัวอื่นๆ.. เมื่อดูภาพรวมจริงๆแล้ว ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการฉีดวัคซีน มีผลดีโดยตรงกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับมหภาค และส่งผลกระตุ้นภาคSMEs แบบเต็มๆ ทั้งในส่วนยอดขาย, อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ยังมีโอกาสสดใสกว่าในการต้อนรับลูกค้าใหม่ๆ จากภูมิภาคอื่น

กว่าจะผ่านถึงจุดนั้น ..ต้องผ่านด่านแรก คือการให้ความร่วมมือจากทุกคน ฉีดวัคซีนเพื่อสร้าง Herd Immunity กับสังคม

เพื่อหวังสร้าง Hurt Immunity ในระดับเศรษฐกิจ ภูมิคุ้มกันให้ผู้ประกอบการ

..ไม่เจ็บตัวอีกต่อไป






Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

คนละครึ่ง.. กับSMEดีมั้ย?

 

รู้หรือไม่ เงิน2.25 แสนล้านบาท กำลังถูกละลายไป กับโครงการคนละครึ่ง เฟส3

◾ ขณะที่ 7.7 แสนบริษัทSMEsทั้งหมดในประเทศผู้เป็นกำลังหลักในการจ้างงาน.. กำลังถูกเมิน และปล่อยให้ตายช้าๆ

 

ถ้าคุณทำธุรกิจของตัวเอง ย่อมรู้ว่ามีได้..ต้องมีเสีย ..แต่สิ่งนึงที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องเสียเป็นทุนเดิมเหมือนๆกัน ก็คือ “การจ้างงาน” เราในฐานะบริษัทนายจ้าง มีหน้าที่ดูแลสวัสดิการ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับลูกจ้างตามกฎหมาย ..วันนี้เมื่อมีวิกฤติ Covid 19 คนที่ได้รับผลกระทบที่สุด คงหนีไม่พ้นบริษัทSMEs อย่างเราๆ รายได้ที่หดไม่เหลือกำไร จากกิจการที่โดนปิดชั่วคราว, ลดเวลาทำการ, จำกัดประสิทธิภาพการทำงานแบบWork From Home ..แต่ฉะไหนรัฐบาลแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการ ”คนละครึ่ง” ให้เกิดการจับจ่ายซื้อสินค้าในกลุ่มชาวบ้านธรรมดา ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้คือ สามารถเร่งปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบแค่ชั่วคราว เน้นว่าชั่วคราวเท่านั้น.. ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งที่1, 2 แต่เป็นเฟส3 แบบหนังไตรภาคเข้าไปแล้ว

โดนบังคับWFH แต่ทำไมค่าน้ำ-ไฟจ่ายเต็ม.. แถมต้องปวดหัวเลี้ยงลูก

โดนบังคับWFH แต่ทำไมค่าน้ำ-ไฟจ่ายเต็ม.. แถมต้องปวดหัวเลี้ยงลูก


สิ่งที่รัฐบาลควรทำยิ่งกว่าในเฟสนี้ คือต่อลมหายใจให้กับบริษัทSME ซึ่งเป็นนายจ้างของระบบเศรษฐกิจมหภาคที่แท้ทรู มีการจ้างงานกว่า 12 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 82.2 ของการจ้างงานทั้งประเทศ ..เปิดโอกาสให้เค้ายังสามารถจ่ายเงินเดือนลูกจ้างต่อไปได้ ..นั่นคือทางออกของเรื่องราวทั้งหมด ผมเชื่อว่า หากเกิดการเยียวยาผิดที่ อีกไม่เกิน2เดือน SMEsกว่า 3 แสนรายจะประสบวิกฤติ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้.. นี่คือเรื่องใหญ่ ที่จะส่งเอฟเฟ็คสะเทือนไปทั้งระบบเศรษฐกิจ


 

โครงการ ”คนละครึ่ง” ที่แท้ทรู ควรเป็น..

SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง หารสองเงินเดือนพนักงาน เป็นระยะเวลา3เดือน

SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าประกันสังคมของพนักงาน ตลอด1ปี

SMEsกับรัฐ จ่ายคนละครึ่ง ค่าน้ำ/ค่าไฟของบริษัท ตลอดช่วงเวลาวิกฤติการณ์

 

สก็อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ออกมาตรการจ่ายเงินเดือนพนักงาน50% ช่วยSMEsทั่วประเทศ ยาวถึง 9เดือน

สก็อต มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ออกมาตรการจ่ายเงินเดือนพนักงาน50% ช่วยSMEsทั่วประเทศ ยาวถึง 9เดือน

รัฐบาลอเมริกา มีโครงการ”HELP WITH BILLS” ช่วยSMEsหลายบริษัทเช่น เรื่องลดค่าเช่าที่, ลดค่าไฟค่าฮีตเตอร์, ค่าหมอ

รัฐบาลอเมริกา มีโครงการ”HELP WITH BILLS” ช่วยSMEsหลายบริษัทเช่น เรื่องลดค่าเช่าที่, ลดค่าไฟค่าฮีตเตอร์, ค่าหมอ

..ดังนั้นหากมีการตั้งคำถามจริงๆว่า รัฐบาลใช้งบประมาณจากพรก.เงินกู้Covid ทั้งหมด 1ล้านล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาการฝืดเคืองเศรษฐกิจ.. หรือแท้ที่จริง โครงการเหล่านั้นก็แค่ “ประชานิยมแกนด้า” เพื่อซื้อคะแนนความนิยมจากประชาชนผู้รับสิทธิจำนวน 51ล้านคนทั่วประเทศ เท่านั้นเอง?

แฟร์ๆดินาย

จ่าย..คนละครึ่งกับSMEs !


Read More
Lory Pongpol Lory Pongpol

เยียวยาเมื่อสาย.. SMEจะตายกันหมด!

 

51%

ของเจ้าของกิจการSMEs สารภาพว่าธุรกิจตน น่าจะอยู่ได้ไม่เกิน 3เดือน

67%

ของเจ้าของกิจการSMEs รู้สึกว่า ไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐ

(credit: www.goldmansachs.com/citizenship/10000-small-businesses/US)

 

ไม่ใช่แค่หนึ่ง หรือสอง.. นี่คือระลอกที่3 ที่พิษCovid-19 เล่นงานพวกเค้า.. โรงแรมที่ร้างอยู่แล้ว ยังถูกปิดส่วนร้านอาหารเพิ่ม, ผู้เช่าที่ค้าปลีก จ่ายค่าที่เปล่าๆปรี้ๆ, ร้านบุฟเฟ่ต์จำนวนมาก ลอยเคว้งเพราะถูกสั่งให้ห้ามทานภายในร้าน แล้วเค้าจะหาทำอะไรได้ ..เอาให้ชัดคือรอบนี้อาจล้างกระดานผู้ประกอบการSME ซะราบคาบ.. เสียงโอดครวญที่ดังสนั่นSocialเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ดี ว่าไม่ว่าพวกเค้าจะปรับตัว, ปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์, ปรับสภาพองค์กร เพื่อยืนหยัดการสถานการณ์ยากลำบากแค่ไหน แต่ก็ดูเหมือนพิษบาดแผลครั้งนี้ จะใหญ่เกินกว่าที่เค้าจะต่อลมหายใจต่อไปได้..

credit: www.facebook.com/thanapanv

credit: www.facebook.com/thanapanv

credit:  ชาบูอู๊ด

credit: ชาบูอู๊ด

15438975826390 (1).jpg

กล่าวถึง SMEs เว้าเป็นภาษาอังกฤษคือ Small and Medium-sized Enterprises องค์กรการค้าขนาดย่อมไปถึงขนาดกลาง.. ชื่อก็บอกว่าเป็นขนาดไม่ใหญ่ ไม่สามารถต้านทานกับแรงประทะครั้งนี้ได้ ถ้าไม่ได้รับการเยียวจากภาครัฐอย่างเป็นเพียงพอ

สิ่งที่รัฐบาลเยียวยา มีเพียงให้หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ผลัดผ่อนเวลาชำระหนี้ ซึ่งในวงเล็บว่าเฉพาะSMEs ที่เป็นลูกหนี้ธนาคาร อย่างออมสิน, กรุงไทยเป็นต้น เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก เทียบกับการเป็นหนนี้จากสถาบันเอกชน หรือแหล่งเงินอื่นๆ ..กับอย่างที่สอง คือการปล่อยกู้(อีกแล้ว) ซึ่งในเวลานี้ไม่มีSMEsที่ลำบากเจ้าไหน มีเงินสำรอง หรือหลักทรัพย์ค้ำประกันใดหลงเหลืออยู่พอสำหรับการอนุมัติเงินกู้.. หนำซ้ำยังเก็บภาษีจากSMEsเต็มเม็ดเต็มหน่วย ในปี2564ล่าสุด ทั้งภาษีโรงเรือน, ภาษาป้าย, เงินสวัสดิการประกันสังคม และจิปาถะอีกมากมาย..



 

ประเทศสเปน ออกเงินเดือนให้พนักงานในSMEsที่ได้รับผลกระทบถึง 75% ..จ่ายประกันสังคมให้บริษัทและพนักงานเต็มจำนวน

ประเทศเยอรมัน รัฐบาลจ่าย 67%ของค่าแรงพนักงาน ที่ถูกลดชม.ทำงาน ให้บริษัทSMEs ..จ่ายประกันสังคมให้บริษัทและพนักงานเต็มจำนวน

ประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลจ่าย 50% ของเงินเดือนพนักงาน ให้SMEs เป็นระยะเวลา 9 เดือน



 

ยกตัวอย่างประเทศไม่ใช่มหาอำนาจอย่างแอฟริกาใต้ รัฐบาลยังมีการจัดการที่ดีกว่าในการเยียวยา SMEs เช่น โยบายในการลดภาษี10% สำหรับทั้งลูกจ้างSMEs และบริษัท, คืนเงินลดหย่อนภาษีก่อนกำหนด

นี่คือสิ่งที่ตอกย้ำว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างSMEs เพียงพอ ..การสั่งปิดกิจการ, ลดชั่วโมงการทำงาน, ล๊อคดาวน์บางพื้นที่ โดยที่ผู้ประกอบการยังคงจ่ายค่าเช่าที่ และเงินเดือนพนักงานเต็มเหนี่ยว แสดงถึงการไม่รับผิดชอบใดๆของรัฐ และผลักดันให้ภาระหนี้ทั้งหมดตกอยู่กับผู้ประกอบการ

ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องเรียกร้องให้เกิดการชดเชย เยียวยาอย่างจริงๆจังๆ ก่อนที่ SMEs..

จตกม. จริงๆ


Read More